การวิเคราะห์รายการค้า หมายถึง การพิจารณารายการที่เกิดขึ้นในกิจการค้าว่ามีผลกระทบต่อสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของอย่างไร ในการวิเคราะห์รายการค้าจึงยึดสมการบัญชีที่ว่า
สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ
การวิเคราะห์รายการค้า เป็นจุดเริ่มต้นของวงจรบัญชี เป็นขั้นแรกของการจัดทำบัญชี ซึ่งสำคัญมาก เพราะหากวิเคราะห์รายการผิด ก็จะทำให้ขั้นตอนต่อๆไปผิดไปด้วย
หลักในการวิเคราะห์รายการค้า มีดังนี้
1. การวิเคราะห์รายการค้าที่เกิดขึ้นว่าทำให้สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของกิจการเปลี่ยนแปลง โดยการเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไรบ้าง
2. รายการค้าที่เกิดขึ้นเมื่อวิเคราะห์แล้ว การเปลี่ยนแปลงของสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของนั้นจะต้องทำให้สมการบัญชีเป็นจริงเสมอ กล่าวคือเมื่อวิเคราะห์รายการค้าแล้ว สินทรัพย์ที่เปลี่ยนแปลงจะต้องเท่ากับหนี้สินที่เปลี่ยนแปลงบวกด้วยส่วนของเจ้าของที่เปลี่ยนแปลงเสมอ
การวิเคราะห์รายการค้าจะมีผลต่อสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ สรุปได้ดังนี้
|
กรณีที่
|
ผลการวิเคราะห์
|
ตัวอย่างรายการค้า
|
1
|
สินทรัพย์เพิ่ม สินทรัพย์ลด
|
ซื้ออุปกรณ์สำนักงานเป็นเงินสด
|
2
|
สินทรัพย์เพิ่ม หนี้สินเพิ่ม
|
ซื้อเครื่องตกแต่งเป็นเงินเชื่อ
|
3
|
สินทรัพย์เพิ่ม ส่วนของเจ้าของเพิ่ม
|
เจ้าของกิจการนำเงินสดมาลงทุน
|
4
|
สินทรัพย์ลด หนี้สินลด
|
จ่ายชำระหนี้ให้เจ้าหนี้
|
5
|
สินทรัพย์ลด ส่วนของเจ้าของลด
|
จ่ายค่ารับรองลูกค้า
|
6
|
สินทรัพย์เพิ่ม หนี้สิน และส่วนของเจ้าของเพิ่ม
|
เจ้าของกิจการนำอาคารและเงินกู้มาลงทุน
|
7
|
สินทรัพย์เพิ่ม สินทรัพย์ลด หนี้สินเพิ่ม
|
ซื้อคอมพิวเตอร์พร้อมเครื่องพิมพ์ 1 ชุดเป็นเงินผ่อน ชำระเงินดาวน์ 10%
|
8
|
หนี้สินเพิ่ม ส่วนของเจ้าของลด
|
ได้รับใบแจ้งหนี้ค่าเช่าเครื่องถ่ายเอกสาร
|
|
|
ตัวอย่างที่ 1 จงวิเคราะห์รายการค้าต่อไปนี้
|
ลำดับ
|
รายการค้า |
ผลการวิเคราะห์ |
1 |
เจ้าของกิจการนำสินทรัพย์มาลงทุน |
สินทรัพย์เพิ่ม ส่วนของเจ้าของเพิ่ม |
2 |
รับเงินสดเป็นค่าบริการ |
สินทรัพย์เพิ่ม ส่วนของเจ้าของเพิ่ม
|
3 |
รับชำระหนี้จากลูกค้า |
สินทรัพย์เพิ่ม สินทรัพย์ลด |
4 |
จ่ายชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ |
สินทรัพย์ลด หนี้สินลด |
5 |
เจ้าของกิจการถอนเงินสดไปใช้ส่วนตัว |
สินทรัพย์ลด ส่วนของเจ้าของลด |
6 |
ซื้อของตกแต่งเป็นเงินเชื่อ |
สินทรัพย์เพิ่ม หนี้สินเพิ่ม |
7 |
จ่ายเงินเดือนพนักงาน |
สินทรัพย์ลด ส่วนของเจ้าของลด |
8 |
ซื้อเครื่องดูดฝุ่นเป็นเงินสด |
สินทรัพย์เพิ่ม สินทรัพย์ลด |
9 |
จ่ายค่ารถรับจ้าง |
สินทรัพย์ลด ส่วนของเจ้าของลด |
10 |
นำเงินสดไปฝากธนาคาร |
สินทรัพย์เพิ่ม สินทรัพย์ลด |
|
ตัวอย่างที่ 2 จงวิเคราะห์รายการค้าของร้านแพรวเสริมสวยของเดือนมกราคม 2558 โดยใส่เครื่องหมาย ดังนี้
|
ลำดับ
|
รายการค้า |
สินทรัพย์ |
หนี้สิน |
ส่วนของเจ้าของ |
เพิ่ม |
ลด |
เพิ่ม |
ลด |
เพิ่ม |
ลด |
1 |
นางสาวแพรวนำเงินสดมาลงทุน |
/ |
|
|
|
/ |
|
2 |
นำเงินสดไปฝากธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง |
/ |
/ |
|
|
|
|
3 |
จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าโทรศัพท์ |
|
/ |
|
|
|
/ |
4 |
ซื้ออุปกรณ์เสริมสวยเป็นเงินสด |
/ |
/ |
|
|
|
|
5 |
ซื้ออุปกรณ์เสริมสวยเป็นเงินเชื่อ |
/ |
|
/ |
|
|
|
6 |
ได้รับเงินค่าบริการเสริมสวย |
/ |
|
|
|
/ |
|
7 |
จ่ายค่าเช่าร้านเสริมสวย |
|
/ |
|
|
|
/ |
8 |
ให้บริการเสริมสวยแก่ผู้เข้าประกวดนางสาวไร่ส้ม ยังไม่ได้รับเงิน |
/ |
|
|
|
/ |
|
9 |
จ่ายชำระหนี้ค่าอุปกรณ์วันที่ 5 มกราคม |
|
/ |
|
/ |
|
|
10 |
รับชำระหนี้จากกองประกวดวันที่ 8 มกราคม |
/ |
/ |
|
|
|
|
11 |
กู้เงินจากธนาคารและนำเข้าบัญชีของร้าน |
/ |
|
/ |
|
|
|
12 |
นางสาวแพรวเบิกเงินของกิจการไปใช้ส่วนตัว |
|
/ |
|
|
|
/ |
13 |
จ่ายเงินเดือนลูกจ้างในร้าน |
|
/ |
|
|
|
/ |
|
ตัวอย่างที่ 3 จงวิเคราะห์การเพิ่มหรือลดของรายการค้า สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ ดังนี้
|
รายการค้า
|
สินทรัพย์ |
หนี้สิน |
ส่วนของเจ้าของ |
1. นำเงินสดมาลงทุนในกิจการ 200,000 บาท
|
+200,000 |
|
+200,000 |
2. กู้เงินจากธนาคาร 20,000 บาท
|
+20,000 |
+20,000 |
|
3. ซื้อเครื่องตกแต่งเป็นเงินเชื่อ 6,000 บาท
|
+6,000 |
+6,000 |
|
4. รับรายได้ค่าบริการ 3,000 บาท
|
+3,000 |
|
+3,000 |
5. จ่ายค่าพาหะนะ 1,000 บาท
|
-1,000 |
|
-1,000 |
6. ส่งบิลเก็บเงินจากลูกหนี้ค่าซ่อมรถยนต์ 3,600 บาท
|
+3,600 |
|
+3,600 |
7. ซื้อวัสดุสำนักงานเป็นเงินเชื่อ 4,000 บาท
|
+4,000 |
+4,000 |
|
8. จ่ายชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ 3,000 บาท
|
-3,000 |
-3,000 |
|
9. จ่ายค่าเบี้ยประกันร้าน 9,000 บาท
|
-9,000 |
|
-9,000 |
10. ถอนเงินสดในร้านไปใช้ส่วนตัว 2,000 บาท
|
-2,000 |
|
-2,000 |
รวม |
221,600 |
27,000 |
194,600 |
|
แทนค่าในสมการบัญชี
สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ
221,600 = 27,000 + 194,600
บทความโดย : https://sites.google.com