สินทรัพย์มีกี่ประเภท?

สินทรัพย์มีกี่ประเภท?

    สำหรับใครหลายๆคนอาจจะสงสัยว่าทำไมเราจึงมาพูดถึงเรื่อง ‘สินทรัพย์’ แล้วมันต่างกันกับคำว่าทรัพย์สินอย่างไร จริงๆแล้วคำว่าทรัพย์สินและสินทรัพย์หมายความอย่างเดียวกัน เพียงแต่ใช้กันต่างบริบท โดยทรัพย์สินจะใช้ในทางกฎหมาย ส่วนสินทรัพย์นั้นจะใช้กันในทางบัญชี ทีนี้เมื่อเราจะพูดถึงเรื่องสินทรัพย์ บางคนอาจจะคิดสงสัยว่า แล้วถ้าเป็นสมบัติหรือสิ่งของของคนธรรมดาล่ะ จะต้องตีเป็นสินทรัพย์แบบทางบัญชีหรือไม่ หรือเป็นเรื่องเฉพาะของนิติบุคคลเท่านั้น

    จริงๆแล้วสินทรัพย์สามารถคิดได้ทุกกรณี เมื่อเราเป็นบุคคลธรรมดา ก็สามารถที่จะคิดงบดุลส่วนบุคคล หรือตีทรัพย์สิน สินทรัพย์ส่วนบุคคลได้เช่นกัน โดยสิ่งที่เราจะเอามาคิดเป็นสินทรัพย์นั้นจะต้องเป็นสิ่งที่มีมูลค่า และสามารถคิดเป็นเงินหรือเปลี่ยนเป็นเงินได้ ในบทความนี้เราจะมาแบ่งแยกประเภทของสินทรัพย์ ว่าสามารถแบ่งเป็นประเภทหลักๆได้เป็นอะไรบ้าง

สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่อง

     ในข้อแรกนี้เราจะพูดถึงสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องมากที่สุด นั่นก็คือเงินสด ทั้งเงินที่แบ่งเอาไว้ใช้ในชีวิตประจำวัน หรือเงินเก็บที่อยู่ในบัญชีธนาคารก็ดี แต่จะต้องเป็นเงินที่เราสามารถถอนออกมาใช้ได้ ไม่ใช่การซื้อกองทุนหรือหุ้น สินทรัพย์สภาพคล่องยังหมายรวมถึงเงินสดที่เราใช้หมุนเวียนในการทำธุรกิจหรือใช้ในชีวิตประจำวัน และรวมถึงเงินสดที่เก็บเอาไว้เผื่อสำหรับกรณีฉุกเฉินด้วย

    แต่ในบางครั้งสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องก็อาจจะไม่ได้หมายถึงแค่เฉพาะเงินสดเสมอไป ถ้าหากว่ามีสิ่งของหรือสินทรัพย์อย่างอื่นที่มันจะสามารถแลกเปลี่ยนเป็นเงินออกมาได้ง่าย หรือเร็ว ก็รวมเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องได้เหมือนกัน

สินทรัพย์ส่วนตัว

     สินทรัพย์ในข้อที่ 2 นี้สินทรัพย์ไม่ได้หมายถึงเฉพาะสิ่งที่มีค่าหรือเป็นเงินตั้งแต่แรกเลยเสมอไป สิ่งของที่ซื้อมาใช้ หรือเก็บสะสมในบางครั้งก็คิดเป็นสินทรัพย์ได้ สิ่งของเครื่องใช้หรือทรัพย์สมบัติต่างๆที่เรามีไว้ใช้เป็นของส่วนตัว และมันสามารถนำมาแปลงสภาพเป็นเงินได้ ซึ่งไม่ได้จำกัดเฉพาะว่าจะต้องเป็นของประเภทไหน เพียงแค่เป็นของที่มีมูลค่าและสามารถนำมาจายหรือเปลี่ยนเป็นเงินได้มากจำนวนหนึ่งจริงๆ อย่างเช่นบางคนมีของใช้ส่วนตัวเช่นกระเป๋าแบรนด์ไฮเอนด์ราคาหลักแสนหรือหลักล้าน หรือมีgadget อุปกรณ์ไอที หรือนาฬิการาคาสูงๆ ก็สามารถนำมาคิดรวมเป็นมูลค่าสินทรัพย์ที่เรามีได้เช่นกัน

สินทรัพย์ที่แท้จริง

     สินทรัพย์ในข้อต่อไปดูจะเป็นอะไรที่จับต้องได้และชัดเจนมากที่สุด นั่นก็คือสินทรัพย์ที่มีราคาสูง และบ่งบอกได้ถึงการสร้างความมั่นคงของชีวิต และคุณภาพขีวิตที่ดี พวกนี้จะคิดเป็นสินทรัพย์แท้จริง คิดกันง่ายๆก็คือการที่เรามี บ้าน คอนโด ที่ดิน หรือรถยนต์ที่มีราคาสูง ซึ่งกว่าจะได้มาก็แสดงถึงความพยายามและพฤติกรรมทางการเงินที่ดีของเรา และสิ่งเหล่ทนี้ก็สามารถแปลงสภาพเป็นเงินสดซึ่งเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องได้ และสินทรัพย์ในข้อนี้ถ้าคิดกันตามทางบัญชี ใครที่มีสินทรัพย์ประเภทนี้ในความครอบครองเยอะก็ถือว่าเป็นคนที่มีสภานะทางการเงินที่มั่นคง ยิ่งถ้าบ้าน ที่ดิน คอนโด หรือรถของเรามีราคาสูงมาก และอยู่ในทำเลหรือเป็นสิ่งที่มีความต้องการสูง ก็ยิ่งถือเป็นสินทรัพย์ที่อาจได้ตีมูลค่ามากขึ้นไปอีก

สินทรัพย์ลงทุน

     สินทรัพย์สุดท้ายคือสินทรัพย์ที่เกิดจากการนำเงินไปลงทุน ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในกองทุน การลงทุนในหุ้น หรือการลงทุนในตลาดเงินก็ตาม บางคนอาจจะสงสัยว่าแล้วทำไมจึงไม่คิดสินทรัพย์ประเภทนี้ว่าเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องเหมือนกันเงินล่ะ ในเมื่อสุดท้ายแล้วมันก็ตีมูลค่าออกมาเป็นเงินเหมือนกัน แต่เพราะสินทรัพย์ลงทุนพวกนี้แม้จะสามาถเปลี่ยนเป็นเงินได้โดยใช้เวลาไม่นาน แต่อัตราและมูลค่าของมันไม่คงที่ เช่นเราช้อนซื้อหุ้นไปตอนราคาหุ้นละ 10 บาท 100 หุ้น ใช้เงินไปทั้งหมด 1,000 บาท ปรากฎว่าหุ้นขึ้นมาราคาหุ้นละ 2 บาท เมื่อเราขายหุ้นก็ได้เงินเพิ่มมากขึ้นเป็น 1,200 บาท แต่ในบางกรณีถ้าราคาหุ้นตกอาจจะขายออกมาเหลือแค่ 800 บาทก็ได้เช่นกัน

     สำหรับใครที่ปำลังคิดจะเริ่มลงทุน หรือกำลังเริ่มวางแผนชีวิตให้มีสภาพคล่องและอิสระทางการเงิน อาจจะลองสำรวจตัวเองดูว่า ตอนนี้เรามีสินทรัพย์อะไร ประเภทไหนอยู่บ้าง และเราตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่าอยากจะอะไรเพิ่มเติมหรือเปล่า เมื่อตั้งเป้าแล้วก็ลองพยามทำให้ได้ตามเป้า เพราะสินทรัพย์พวกนี้ในวางกรณีที่เราต้องทำธุรกรรมทางการเงิน ทำธุรกิจ หรือขอสินเชื่อ ธนาคารหรือสถาบันการเงินก็จะเอาสินทรัพย์เหล่านี้มาเป็นปัจจัยในการคำนวณงบดุลส่วนบุคคลด้วยเช่นกัน

บทความโดย: https://www.estopolis.com

 12111
Visitor
Get started for free today. Free Trial
Create a website for free Online Stores