|
|||
ประโยชน์ที่แท้จริงของมาตรการบัญชีชุดเดียว ( SMEs )เมื่อต้นปี 2559 มีข่าวที่สร้างความฮือฮาให้กับแวดวง SMEs ของเราคือ การที่ภาครัฐขอให้ SMEs จัดทำบัญชีชุดเดียว และต้องเข้าระบบให้ถูกต้อง ฟังแล้วเหมือนจะโหดร้ายกับหลาย ๆ SMEs ที่ไม่เคยเน้นเรื่องภาษีเลย ไม่รู้ว่า เราจะได้ประโยชน์อะไรกับมาตรการบัญชีชุดเดียวที่รัฐบาลชงออกมา ของแถมตอนนี้ที่เราจะได้รับจากภาครัฐง่ายๆเลยคือ โปรแกรมบัญชีที่ทางรัฐจัดให้แบบฟรี ๆ เพื่อทำให้ธุรกิจของเรามีการจัดทำบัญชีสะดวกขึ้นและมาตรฐานเดียวกัน คือ เราจะรู้ว่า กำไรขาดทุน เท่าไหร่ ฐานะการเงินของบริษัทเป็นอย่างไรสำหรับในธุรกิจที่เราทำอยู่ เพราะ SMEs ของเราตอนนี้ส่วนใหญ่ไม่ได้รับรู้กำไรขาดทุนที่แท้จริงเป็นเท่าไหร่ หรือฐานะทางการเงินจริงๆ เป็นอย่างไร จะมีแค่เหลือเงินเท่าไหร่ การไปขอเงินกู้จากธนาคารก็ทำได้ยากเพราะบางบริษัทไม่มีระบบบัญชีสนับสนุน ซึ่งหากเรามีอย่างน้อย ๆ ตอนนี้คือระบบบัญชีที่รัฐบาลออกมาให้โหลดฟรี ๆ มา คิดดูแล้วกันว่าธุรกิจเราจะไปไกลแค่ไหน เพราะเหตุผลง่าย ๆแค่นี้ จึงมีมาตรการบัญชีชุดเดียวขึ้นมาช่วยเหลือชาว SMEs ที่มีอีกหลายร้อยรายกำลังจะจมน้ำตายเพราะไม่มีระบบบัญชีไว้คอยช่วยเหลือกิจการ“กรมสรรพากรมีนโยบายเสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการ SMEs ให้เดินหน้าด้วยความเข้มแข็งอย่างเป็นระบบครบวงจร สนับสนุนนโยบายภาครัฐที่ต้องการส่งเสริมให้ SMEs จัดทำบัญชีชุดเดียว จึงได้จัดทำโปรแกรมบัญชีอย่างง่ายสำหรับผู้ประกอบการ SMEs เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการที่ไม่มีพื้นฐานด้านบัญชี สามารถจัดทำบัญชีได้ด้วยตนเอง อย่างถูกต้องตามมาตรฐานบัญชีและกฎหมายภาษี”เราอาจจะตั้งข้อสังเกตว่า “ทำตามมาตรการบัญชีชุดเดียวแล้วได้อะไร” ซึ่งประโยชน์ของการขึ้นทะเบียนตาม พรก.มาตรการบัญชีเล่มเดียวนี้ ประโยชน์เต็ม ๆที่เราจะได้รับการคือ การยกเว้นการตรวจสอบภาษีอากรย้อนหลัง ทันที เพราะกรมสรรพากรมีนโยบายที่จะเดินหน้าไปพร้อมกับผู้ประกอบการ SMEs มาตรการนี้จะเข้ามาช่วยทำความสะอาดบัญชีให้ถูกต้องและโปร่งใส เท่ากับว่าเป็นการล้างบัญชีเก่า แล้วเริ่มต้นใหม่ๆพร้อมๆกันในรอบบัญชี ปี 2559 แต่ทั้งนี้ในกรณีที่ผู้ประกอบการใดอยู่ระหว่างถูกการตรวจสอบภาษีอากร กรณีเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีปลอมหลีกเลี่ยงภาษีอากรหรืออยู่ในระหว่างการดำเนินคดีก่อนวันที่ 1 มกราคม 2559 ผู้ประกอบการรายนั้นก็ยังคงสามารถจดแจ้งการใช้บัญชีเล่มเดียวต่อกรมสรรพากรได้ โดยกรมสรรพากรจะดำเนินการเฉพาะกรณีนั้นๆ ต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ แต่จะไม่มีการตรวจสอบในเรื่องอื่นเพิ่มเติมนับตั้งแต่มาขึ้นทะเบียน นี่คือประโยชน์ที่แท้จริงของมาตรการบัญชีชุดเดียวที่ ผู้ประกอบการ SMEs อย่างเราจะได้รับ ประโยชน์ต่อมาคือการได้รับการยกเว้นภาษี ถึง 2 รอบบัญชีเลยทีเดียวนับว่าคุ้มมากกับการที่เรารีบมาดำเนินการ ภาษีที่ได้รับการยกเว้นจะได้ในรอบบัญชี ปี 2559 และได้รับการยกเว้นและลดหย่อนการเสียภาษีในปี 2560 ตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด ผู้ประกอบการธุรกิจSMEs ยังสามารถนำเงินส่วนนี้ไปพัฒนาเพิ่มศักยภาพในการผลิต และขยายกิจการได้อีกด้วยสิทธิประโยชน์ข้างต้นอาจมองในแง่ของผู้ประกอบการเพียงอย่างเดียว แต่จริงๆ แล้วการทำบัญชีชุดเดียวนั้นสำคัญอย่างมากกับธุรกิจ SMEs 1.การมีบัญชีชุดเดียวไม่ต้องคอยปกปิด รายการใดๆให้เป็นที่เคลือบแคลง เราสามารถตรวจสอบตัวเองได้ทันที สามารถทราบถึงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานที่แท้จริงเข้าใจง่ายได้ประโยชน์เต็มๆ ที่สำคัญเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือในการทำธุรกรรมการเงินให้กับกิจการด้วย2 เมื่อภาครัฐมองเห็นภาพเศรษฐกิจที่แท้จริงและชัดเจน ภาครัฐสามารถให้ความช่วยเหลือกับผู้ประกอบการ ได้ตรงจุดและตรงต่อความต้องการของผู้ประกอบการ3. ยังสอดรับกับนโยบายของรัฐบาลในการนำระบบ e-payment มาใช้ ส่งผลให้การทำธุรกรรมและการบริหารเงินของผู้ประกอบการเป็นไปอย่างรวดเร็ว คล่องตัว และเกิดประสิทธิภาพ อันจะส่งผลสำเร็จต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม นอกจากนี้ตัวผู้ประกอบการเองเมื่อได้เห็นภาพแท้จริงของกิจการ ก็สามารถเอาข้อมูลตรงนี้ ใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์และวางแผนการดำเนินธุรกิจ หาจุดแข็งเพื่อต่อยอดและหาจุดอ่อนเพื่อพัฒนาแก้ไข ทำให้ธุรกิจเดินหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ4.สุดท้ายนโยบายของกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย จะสั่งการให้สถาบันการเงินและธนาคารพานิชย์ ใช้บัญชีและงบการเงินที่ผู้ประกอบการแสดงต่อกรมสรรพากรในการยื่นเสียภาษีเงินได้ มาเป็นหลักฐานในการทำธุรกรรมทางการเงินและขออนุมัติสินเชื่อกับสถาบันการเงินตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไปประโยชน์ที่แท้จริงของมาตรการบัญชีชุดเดียวมุมมองที่ SMEs มองอาจจะต่างจากหลายฝ่ายมองนอกจากสิทธิประโยชน์ทางภาษี แล้วยังมีอีกหลายประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม เราไม่ทำวันนี้พรุ่งนี้ก็ต้องทำอยู่ดี หากไม่ทำตรวจพบก็มีโทษหนัก หากทำเราได้รับประโยชน์ฝ่ายเดียวถือว่าการบัญชีชุดเดียว เป็นผลประโยชน์ ของ SMEs อย่างแท้จริง |
บทความโดย : https://mpacacc.com