หนี้สินระยะยาว

หนี้สินระยะยาว

    หนี้สินระยะยาว ( Long – term  Liabilities ) หมายถึง  ภาระผูกพันที่กิจการจะต้องชำระคืนบุคคลหรือกิจการอื่น ที่มีระยะเวลาการชำระคืนเกิน 1 ปี แต่ถ้าหากหนี้สินระยะยาวใดที่จะถึงกำหนดชำระภายใน

1 ปีข้างหน้า หนี้สินระยะยาวจำนวนนั้น จะถือเป็นหนี้สินหมุนเวียน ได้แก่

  1. เจ้าหนี้จำนอง ( Mortgages  Payable )  หมายถึง  การกู้เงินโดยออกตั๋วเงินจ่ายที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน  ตั๋วเงินจ่ายอาจจะถึงกำหนดชำระทีเดียวทั้งจำนวน ณ วันถึงกำหนด  หรืออาจจะผ่อนชำระเป็นงวด ๆ ก็ได้  ถ้าถึงกำหนดชำระคราวเดียว ณ วันถึงกำหนด  ก็จะแสดงเป็นหนี้สินระยะยาว  จนกว่าจะถึงงวดปัจจุบันนับจากวันที่ในงบดุลจึงจะแสดงเป็นหนี้สินหมุนเวียน  ในกรณีที่ถึงกำหนดชำระเป็นงวด ๆ เฉพาะจำนวนที่จะถึงกำหนดในงวดปัจจุบันนับจากวันที่ในงบดุลจึงจะแสดงเป็นหนี้สินหมุนเวียน  จำนวนหนี้ที่เหลือให้แสดงเป็นหนี้สินระยะยาว
  2. สัญญาซื้อระยะยาว ( Purchase  Contract ) หมายถึง  การซื้อที่ดินอาคารและอุปกรณ์โดยวิธีผ่อนชำระซึ่งราคาจะสูงกว่าราคาซื้อเงินสด  เพราะผู้ขายจะรวมดอกเบี้ยเข้าไว้ในราคาขายด้วยในสัญญาจะกำหนดให้ผู้ซื้อจ่ายเงินเป็นงวด ๆ งวดละเท่า ๆ กัน  การแสดงในงบดุลให้แสดงหนี้สินส่วนที่จะถึงกำหนดชำระในงวดปัจจุบันนับจากวันที่ในงบดุลเป็นหนี้สินหมุนเวียน  จำนวนที่เหลือให้แสดงเป็นหนี้สินระยะยาว
  3. รายได้รอการตัดบัญชี ( Deferred  Revenue ) หมายถึง รายได้ที่กิจการได้รับล่วงหน้าเฉพาะส่วนที่ยังถือเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีปัจจุบันไม่ได้  และจะถือเป็นรายได้ของรอบระยะบัญชีต่อ ๆ ไป 
  4. ตั๋วเงินจ่ายระยะยาว ( Long – term  Note  Payable ) หมายถึง ตั๋วเงินจ่ายที่มีกำหนดเวลาชำระเงินเกินกว่า 1 ปี  กิจการจะออกตั๋วเงินระยะยาวเพื่อชำระหนี้ค่าซื้อที่ดินอาคารและอุปกรณ์ที่มีราคาสูง  หรือเพื่อกู้ยืมเงินในวงเงินสูงมากและกำหนดเวลาชำระหนี้นานหลายปี  วิธีการบัญชีของตั๋วเงินระยะยาวจะซับซ้อนกว่าตั๋วเงินระยะสั้น  เนื่องจากจะต้องนำอัตราดอกเบี้ยในตลาด ( Market  Rate ) เข้ามาเกี่ยวข้องในการคำนวณมูลค่าปัจจุบัน ( Present  Value ) ของกระแสเงินสดที่จะได้รับในอนาคตของตั๋วเงิน
  5. หุ้นกู้ ( Bonds )  หมายถึง การที่กิจการกู้เงินจากบุคคลภายนอก โดยออกหุ้นกู้ไว้ให้เป็นหลักฐาน ซึ่งกิจการจะจ่ายผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นกู้ในรูปของดอกเบี้ย ซึ่งหุ้นกู้นี้มักจะมีกำหนดการไถ่ถอนมากกว่า 1 ปีและเมื่อครบกำหนดไถ่ถอนแล้ว กิจการก็จะต้องนำเงินไปชำระคืนให้กับผู้ถือหุ้นกู้ ซึ่งเราเรียกว่าการไถ่ถอนหุ้นกู้นั้นเอง

บทความโดย  : https://sites.google.com/

 12246
Visitor
Get started for free today. Free Trial
Create a website for free Online Stores