ปัญหาค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา

ปัญหาค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา

ปุจฉา บริษัทฯ ได้ทำการก่อสร้างอาคารสำนักงานและสิ่งปลูกสร้างลงบนที่ดินที่เช่า มีอายุตามสัญญาเช่า 15 ปี เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการเช่าตามสัญญาแล้ว หากไม่มีการต่อสัญญาเช่าออกไปอีก หรือสัญญาเช่าได้สิ้นสุดด้วยเหตุใดก็ดี บริษัทฯ ผู้เช่ายินยอมให้บรรดาอาคารสิ่งปลูกสร้างหรือต่อเติมที่ผู้เช่าได้ทำการปลูก สร้างลงบนที่ดินที่เช่าทั้งหมดตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าทันที บริษัทฯ ขอทราบว่า การคำนวณค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินส่วนที่เป็นอาคาร และทรัพย์สินอื่นที่เป็นสิ่งปลูกสร้างซึ่งไม่ใช่อาคาร อย่างไร 

วิสัชนา การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินที่เป็นอาคาร ให้คำนวณหักได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและอัตราที่กำหนดตามมาตรา 65 ทวิ (2) และพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 โดยบริษัทฯ มีสิทธิหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินที่เป็นอาคารถาวรได้ไม่ เกินอัตราร้อยละ 5 ของมูลค่าต้นทุนและบริษัทฯ มีสิทธิหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินอื่นซึ่งโดยสภาพของทรัพย์สิน นั้น สึกหรอหรือเสื่อมราคาได้นอกจากที่ดินและสินค้าได้ในอัตราร้อยละ 20 ของมูลค่าต้นทุน ทั้งนี้ ตามมาตรา 4 (1) และ (5) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ. ศ. 2527 (แนวคำตอบข้อหารือกรมสรรพากรเลขที่ กค 0706/4713 ลงวันที่ 11 พฤษภาคม 2550) 

 ปุจฉา กรณีบริษัทฯ คำนวณค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของรถยนต์ที่ให้เช่าที่ได้มาใหม่ตามวิธีเส้น ตรง มีอายุการใช้รถยนต์ 8 ปี ในอัตราร้อยละ 12.5 ต่อปี โดยมิได้ใช้วิธีเส้นตรง มีอายุการใช้งาน 5 ปี ในอัตราร้อยละ 20 ต่อปี ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์การคำนวณค่าสึกหรอและ ค่าเสื่อมราคาของรถยนต์ของรอบระยะเวลาบัญชีปีก่อน ถือว่า ถูกต้องหรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้อง บริษัทฯ มีสิทธินำผลต่างของค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของรถยนต์ดังกล่าวในอัตราร้อย ละ 7.5 มา ปรับปรุงหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลย้อนหลัง ตั้งแต่ รอบระยะเวลาบัญชีปีที่ซื้อทรัพย์สินได้หรือไม่


วิสัชนา กรณีบริษัทฯ ใช้วิธีการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของรถยนต์ที่ได้มาตามวิธี เส้นตรง ในอัตราร้อยละ 12.5 ต่อปี จำนวนปีอายุการใช้รถยนต์ 8 ปี ตลอดอายุการใช้งาน ของรถยนต์ดังกล่าว หากเป็นการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาโดยใช้วิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่ว ไป และเป็นการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของรถยนต์ที่ได้มาในอัตราที่ไม่เกิน ร้อยละ 20 ของมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สิน บริษัทฯ ย่อมมีสิทธิกระทำได้ ทั้งนี้ ตามมาตรา 3 มาตรา 4 (5) และมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 (แนวคำตอบข้อหารือกรมสรรพากรเลขที่ กค 0702/4625 วันที่ 4 สิงหาคม 2551) 

อย่างไรก็ตาม สำหรับทรัพย์สินรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คนหรือรถยนต์นั่งที่มีไว้เพื่อการให้เช่า ซึ่งบริษัทฯ ได้มาก่อนวันที่ 14 ตุลาคม 2553 ให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาจากมูลค่าต้นทุนเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 1,000,000 บาท สำหรับทรัพย์สินรถยนต์ดังกล่าวที่ได้มาตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2553 ให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาจากมูลค่าต้นทุนทั้งหมด 

ปุจฉา มีเหตุผล อย่างไร ในการกำหนดให้ตรากฎหมายลูกหรืออนุบัญญัติที่ออกตามความในมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527  

วิสัชนา กฎหมายลูกหรืออนุบัญญัติที่ออกตามความในประมวลรัษฎากรนั้น มีทั้งที่กำหนดให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ระเบียบกระทรวงการคลัง คำสั่งกรมสรรพากร ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร นั้น เนื่องจากต้องการให้เห็นระดับความสำคัญของกฎหมายลูกหรืออนุบัญญัติที่ออก นั้นว่า มีระดับความสำคัญมากน้อยลดหลั่นกันตามประเภทของกฎหมายลูกหรืออนุบัญญัติที่ ออกนั้น 

ดังนั้น พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 จึงมีความสำคัญในทางภาษีเงิน ได้นิติบุคคลเป็นอย่างมาก เนื่องจากค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินถาวรเป็นรายการรายจ่ายที่ทุก ประเภทกิจการต้องมีไว้ใช้ในการประกอบกิจการ จึงต้องมีการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาที่จะนำไปหักออกจากกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

ในขณะที่หลักเกณฑ์ในการจำหน่ายหนี้สูญออกจากบัญชีลูกนี้ นั้น กำหนดให้ออกเป็นกฎกระทรวง อันได้แก่ กฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ก็เพราะการจำหน่ายหนี้สูญมีระดับความสำคัญน้อยกว่า ซึ่งไม่จำเป็นว่าทุกกิจการต้องมีการจำหน่ายหนี้สูญออกจากบัญชีลูกหนี้ทุกราย ไป 

 

ปุจฉา หลักการและเหตุผลในการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินถาวรมีอย่างไร

วิสัชนา ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา  เป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นจากการที่กิจการมีทรัพย์สิน  หรือรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนเนื่องจาก

  1. ทรัพย์สินหรือรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน ถือเป็นรายการรายจ่ายในทางภาษีอากร ประเภทหนึ่ง โดยกำหนดยอมให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทำการทยอยตัดรายจ่ายอันมี ลักษณะเป็นการลงทุนหรือรายจ่ายฝ่ายทุนดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายในรูปของ “ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา”  ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชี และตามปกติประเพณีทางธุรกิจที่กำหนดให้ถือว่า รายการรายจ่ายที่เกิดขึ้นในการดำเนินกิจการทุกรายการ ย่อมเป็นรายจ่ายในการประกอบกิจการ เพียงแต่จะนำรายจ่ายรายการนั้นๆ ไปถือเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปีใด และเป็นจำนวนเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับวิธีการรับรู้รายจ่ายนั้นๆ ว่า จะถือเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปีเดียว เพราะเป็นรายจ่ายในการดำเนินการโดยตรง หรือเป็นรายจ่ายฝ่ายทุนซึ่งต้องทยอยตัดจ่าย (Amortized) ตามอายุการใช้งาน 
  2. ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา เป็นวิธีการตั้งสำรองเพื่อรวบรวมเงินมาซื้อทรัพย์สินใหม่มาใช้ในกิจการแทน ที่ทรัพย์สินเดิมที่ต้องเสื่อมสภาพไปตามอายุการใช้งาน เนื่องจากทรัพย์สินที่ใช้ย่อมสึกหรอไปหากไม่ทำการตั้งสำรองไว้ก็อาจไม่มี เงินกำไรมาลงทุนซื้อทรัพย์สินรายการนั้น เพื่อใช้ในการดำเนินงานในกาลข้างหน้า 

 ปุจฉา  ทรัพย์สินประเภทที่หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้และประเภทที่หักค่า สึกหรอและค่าเสื่อมราคาไม่ได้ต่างกันอย่างไร ในทางปฏิบัติมีความจำเป็นอย่างไรในการจำแนกประเภททรัพย์สินดังกล่าวออกต่าง หากจากกันหรือไม่ อย่างไร 


วิสัชนา การจำแนกประเภททรัพย์สินที่สามารถหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้ กับประเภทที่ไม่อาจหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้ออกต่างหากจากกัน ในทางปฏิบัติมีความจำเป็นอย่างไรในการจำแนกประเภททรัพย์สินดังกล่าวออกต่าง หากจากกัน เพื่อประโยชน์ในการนำไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรหรือขาดทุนสุทธิต่อไป มิฉะนั้น อาจผิดเงื่อนไขบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร 

  1. ทรัพย์สินที่สามารถหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้ หมายถึง ทรัพย์สินถาวรทั่วไปที่โดยสภาพของทรัพย์สินอาจสึกหรอหรือเสื่อมราคาได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าทรัพย์สินนั้นจะมีรูปร่างหรือมีตัวตนหรือไม่ก็ตาม เช่น อาคาร ทั้งอาคารถาวร และอาคารชั่วคราว ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สูญสิ้นไปได้  ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งสิทธิการเช่า อาทิเช่น เงินกินเปล่า เงินช่วยค่าก่อสร้างค่าแห่งอาคาร หรือโรงเรือนที่ได้โอนเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินเมื่อสร้างเสร็จ ซึ่งตอบแทนสิทธิการเช่าอันมีระยะ เวลา ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งสิทธิในกรรมวิธี สูตร กู๊ดวิล เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร สิทธิประกอบกิจการตามใบอนุญาต ลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น และ ทรัพย์สินอย่าง อื่น เช่น รถยนต์ เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องตกแต่งสำนักงาน เป็นต้น  
  2. ทรัพย์สินที่ไม่สามารถหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้ หมายถึง ทรัพย์สินถาวรที่โดยสภาพของทรัพย์ไม่อาจสึกหรอหรือเสื่อมราคาได้ อาทิเช่น ที่ดิน เพชร พลอย อัญมณี แร่ธาตุ รวมทั้งทรัพย์สินถาวรที่ยังไม่พร้อมจะใช้งาน เช่น อาคารระหว่างก่อสร้าง เครื่องจักรระหว่างติดตั้ง เป็นต้น

ขอนำประเด็นการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินตามมาตรา 65 ทวิ (2)

ไขปัญหาภาษี ขอนำประเด็นการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร และพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่...) พ.ศ. 2542 ในส่วนที่เกี่ยวกับวิธีการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาโดยวิธี Double Declining Balance Method หรือวิธีหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราสองเท่าของอัตราตามวิธีเส้นตรง โดยให้คำนวณหักจากยอดคงเหลือที่ลดลง ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม 2542 เป็นต้นไป โดยขอนำมาปุจฉา - วิสัชนา ทั้งหมดอย่างเป็นระบบดังนี้

ปุจฉา  ทำไมจึงมีการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินถาวร

วิสัชนา ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา  เป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นจากการที่กิจการมีทรัพย์สิน  หรือรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน (Capital Expenditure) เนื่องจาก

  1. เป็นการทยอยตัดรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนหรือรายจ่ายฝ่ายทุนมาถือเป็น ค่าใช้จ่าย เนื่องจากในทางบัญชีถือว่ารายการรายจ่ายทุกรายการเป็นรายจ่ายในการประกอบ กิจการ เพียงแต่จะนำรายจ่ายรายการนั้นๆ ไปถือเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปีใด และเป็นจำนวนเท่าใด
  2. เป็นการตั้งสำรองเพื่อรวบรวมเงินมาซื้อทรัพย์สินใหม่มาใช้ในกิจการแทนที่ทรัพย์สินเดิมที่ต้องเสื่อมสภาพไปตามอายุการใช้งาน

ปุจฉา  ทรัพย์สินที่หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้และไม่ได้ต่างกันอย่างไร มีความจำเป็นอย่างไรในการจำแนกประเภททรัพย์สินดังกล่าวออกต่างหากจากกัน

วิสัชนา การจำแนกประเภททรัพย์สินที่สามารถหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้ กับประเภทที่ไม่อาจหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้ออกต่างหากจากกัน เพื่อประโยชน์ในการนำไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรหรือขาดทุนสุทธิ 

  1. ทรัพย์สินที่สามารถหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้ หมายถึง ทรัพย์สินถาวรทั่วไปที่โดยสภาพของทรัพย์สินอาจสึกหรอหรือเสื่อมราคาได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าทรัพย์สินนั้นจะมีรูปร่างหรือมีตัวตนหรือไม่ก็ตาม เช่น อาคาร ทั้งอาคารถาวร และอาคารชั่วคราว ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สูญสิ้นไปได้  ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งสิทธิการเช่า อาทิ เงินกินเปล่า เงินช่วยค่าก่อสร้างค่าแห่งอาคาร หรือโรงเรือนที่ได้โอนเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินเมื่อสร้างเสร็จ ซึ่งตอบแทนสิทธิการเช่าอันมีระยะ เวลา ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งสิทธิในกรรมวิธี สูตร กู๊ดวิล เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร สิทธิประกอบกิจการตามใบอนุญาต ลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น และ ทรัพย์สินอย่างอื่น เช่น รถยนต์ เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องตกแต่งสำนักงาน เป็นต้น  
  2. ทรัพย์สินที่ไม่สามารถหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้ หมายถึง ทรัพย์สินถาวรที่โดยสภาพของทรัพย์ไม่อาจสึกหรอหรือเสื่อมราคาได้ อาทิเช่น ที่ดิน เพชรพลอยอัญมณี แร่ธาตุ รวมทั้งทรัพย์สินถาวรที่ยังไม่พร้อมจะใช้งาน เช่น อาคารระหว่างก่อสร้าง เครื่องจักรระหว่างติดตั้ง เป็นต้น

 ปุจฉา  มูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินที่จะนำมาหักค่าสึกหรือและค่าเสื่อมราคามีหลัก เกณฑ์อย่างไร และมีหลักการจำแนกประเภททรัพย์สินที่หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาที่มี อัตราแตกต่างกันอย่างไร

วิสัชนา การแยกประเภททรัพย์สินที่สามารถหักค่าเสื่อมราคาได้ในอัตราที่แตกต่างกันออก ต่างหากจากกัน ได้แก่ อาคารและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ในอาคารแม้จะติดตรึงกับตัวอาคาร อาทิเช่น อุปกรณ์ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์เครื่องปรับอากาศ ซึ่งในขณะที่อาคารถูกกำหนดให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา ในอัตราต่ำเพียงไม่เกินร้อยละ 5 ของมูลค่าต้นทุนเท่านั้น แต่ทรัพย์สินประเภทอื่นๆ ดังกล่าว กฎหมายยอมให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้ถึงร้อยละ 20 ของมูลค่าต้นทุน 

ทรัพย์สินถาวรบางประเภทไม่สามารถหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้ 

มูลค่าต้นทุนทรัพย์สินที่จะหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา มีหลักเกณฑ์พอสรุปได้ดังนี้ 

  1. ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สิน (Cost of Acquisition) หมายถึง รายจ่ายเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สิน และรายจ่ายเกี่ยวกับทรัพย์สิน ในช่วงระยะเวลาก่อนที่ทรัพย์สินนั้นพร้อมจะใช้งาน ดังต่อไปนี้  

               1.1 ค่าซื้อทรัพย์สิน  

               1.2 ค่าอากรขาเข้า ค่าภาษีสรรพสามิต ค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน ค่าธรรมเนียมตามกฎหมายที่ดิน 

               1.3 ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะสำหรับสินค้าบางประเภท เช่น รถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คนตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต รวมทั้งทรัพย์สินที่มิได้มีไว้เพื่อการประกอบกิจการที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่า เพิ่ม เช่น กิจการธนาคารพาณิชย์ กิจการเงินทุน กิจการหลักทรัพย์กิจการเครดิตฟองซิเอร์ กิจการประกันภัย กิจการโรงรับจำนำ กิจการค้าอสังหาริมทรัพย์ และกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มอื่นๆ 

               1.4 ค่าขนส่งขาเข้า (Transportation Fee) 

               1.5 ค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง (Installation Fee) 

               1.6 ค่าใช้จ่ายในการทดลองเดินเครื่องจักร (Running Test) หักรายได้จากการขายผลิตผลที่ได้จากการทดลองเดินเครื่อง  

               1.7  ค่าโสหุ้ยต่างๆ (Overhead)  

               1.8 ดอกเบี้ย (Interest Expense) จากการกู้ยืมเงินที่ได้จ่ายไปในระหว่างซื้อทรัพย์สิน หรือก่อสร้างอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์ จนกระทั่งทรัพย์สิน หรืออาคาร หรืออสังหาริมทรัพย์นั้นพร้อมที่จะใช้งาน รวมทั้งดอกเบี้ยเนื่องจากการกู้ยืมเงินเพื่อการซื้อที่ดิน

 ปุจฉา มีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับมูลค่าต้นทุนรถยนต์นั่ง หรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ที่จะนำมาคำนวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาอย่างไร
 

วิสัชนา ทรัพย์สินประเภทรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิตมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาต้นทุนที่จะยอมให้นำมาหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาดังนี้ 

  1. สำหรับรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ที่ได้มาในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีปี 2527-2531 ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่ประเทศไทยประสบภาวะวิกฤตการณ์ทางด้านการเงิน จึงมีข้อกำหนดให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาจากมูลค่าต้นทุน เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท เท่านั้น ซึ่งมิได้หมายความว่า ห้ามมิให้กิจการซื้อรถยนต์ที่มีราคาเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไม่ได้ แต่เนื่องจากประเทศไทยยังไม่ใช่ประเทศที่พัฒนาแล้ว และรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน นั้น พิจารณาว่าเป็นรถยนต์ที่ใช้ได้ทั้งในการประกอบกิจการและใช้ในธุระส่วนตัว 

ปุจฉา มีหลักเกณฑ์การเลือกใช้วิธีการทางบัญชี เพื่อการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาอย่างไร 

วิสัชนา เลือกใช้วิธีการทางบัญชี เพื่อการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาที่สอดคล้องกับ สภาพการใช้ทรัพย์สิน และในขณะเดียวกันที่อำนวยประโยชน์แก่กิจการได้สูงสุด  

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล อาจเลือกใช้วิธีการทางบัญชีในการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน โดยวิธีอื่นใดดังต่อไปนี้ก็ได้ แต่เมื่อเลือกใช้วิธีการ และอัตราที่จะหักอย่างใดแล้ว  ให้ใช้วิธีการและอัตรานั้นตลอดไป จะเปลี่ยนแปลงได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้ที่อธิบดี กรมสรรพากรมอบหมาย ในกรณีที่ได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงได้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับอนุมัตินั้น  

อย่างไรก็ตาม สำหรับทรัพย์สินประเภทและชนิดเดียวกันที่กิจการได้มาใหม่ จะเลือกวิธีการ และอัตราให้แตกต่างไปจากที่เคยใช้อยู่เดิมได้ โดยไม่ต้องร้องขอต่ออธิบดีกรมสรรพากรแต่อย่างใด (แต่ควรเปิดเผยไว้ในงบการเงิน) 

  1. วิธีเส้นตรง (STRAIGHT LINE METHOD) ใช้สำหรับทรัพย์สินที่ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอเท่าๆ กันตลอดอายุการใช้งาน การคำนวณค่าเสื่อมราคาจึงกำหนดอัตราคงที่ เช่น การหักสึกหรอและค่าเสื่อมราคาอายุการใช้งาน หรือจำนวนหน่วยผลผลิต หรือกำหนดเป็นอัตราร้อยละของมูลค่าต้นทุนเป็นต้น  

ให้คำนวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน ตามวิธีเส้นตรงตามระยะเวลาที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีใน อัตราไม่เกินร้อยละของมูลค่าต้นทุน ตามประเภทของทรัพย์สินดังต่อไปนี้ แต่ถ้าตามวิธีการบัญชีซึ่งกิจการได้ใช้อยู่หักต่ำกว่าอัตราดังกล่าวก็ให้หัก เพียงเท่าอัตราตามวิธีการทางบัญชีที่ใช้อยู่นั้น 

 1. อาคาร

   (1) อาคารถาวร                                                   ร้อยละ 5

   (2) อาคารชั่วคราว                                             ร้อยละ 100

 2. ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สิ้นสูญไปได้ ร้อยละ 5

 3. ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งสิทธิการเช่า

 (1) กรณีไม่มีหนังสือสัญญาเช่าหรือมีหนังสือสัญญาเช่าที่มีข้อกำหนดให้ต่ออายุการเช่ากันได้ต่อๆ ไป ร้อยละ 10

 (2) กรณีมีหนังสือสัญญาเช่าที่ไม่มีข้อกำหนดให้ต่ออายุการเช่าได้หรือข้อกำหนด ให้ต่ออายุการเช่าได้เพียงระยะเวลาอันจำกัดแน่นอน                   ร้อยละ 100 หารด้วยจำนวนปีอายุการเช่าและอายุที่ต่อได้รวมกัน

4. ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งสิทธิในกรรมวิธี สูตร กู๊ดวิล เครื่องหมายการค้า สิทธิประกอบกิจการตามใบอนุญาต สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น

 (1) กรณีไม่จำกัดอายุการใช้ ร้อยละ 10

 (2) กรณีจำกัดอายุการใช้ ร้อยละ 100 หารด้วยจำนวนปีอายุการใช้

5. ทรัพย์สินอย่างอื่น ซึ่งโดยสภาพของทรัพย์สินสึกหรอหรือเสื่อมราคาได้นอกจากที่ดินและสินค้า ร้อยละ 20

นอกจากนี้ ยังมีวิธีการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามวิธีเส้นตรงอื่นๆ อาทิ การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามวิธีชั่วโมงการทำงาน เช่น เครื่องบิน เป็นต้น 

2. วิธีหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาลดลง (DECLINING METHOD) ใช้สำหรับทรัพย์สินที่ให้ผลตอบแทนในปีแรกสูงกว่าเนื่องจากมีประสิทธิภาพ (CAPACITY) สูง ได้แก่ 

2.1 วิธีผลบวกจำนวนปีอายุการใช้ทรัพย์สิน (SUM OF THE YEAR'S DIGIT METHOD) 

2.2 วิธียอดคงเหลือลดลง (DECLINING BALANCE METHOD/THE CONSTANT PERCENTAGE OF DECLINING-BOOK-VALUE METHOD) 

2.3 วิธียอดคงเหลือลดลงทวีคูณ (DOUBLE DECLINING BALANCE METHOD) ซึ่งมีอัตราการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในปีแรกเป็นสองเท่าของอัตราวิธี เส้นตรง และสำหรับปีถัดไปให้หักตามอัตราสองเท่าดังกล่าวโดยคำนวณจากมูลค่าต้นทุนส่วน ที่เหลือในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ในรอบระยะเวลาบัญชีสุดท้ายของอายุการใช้ของทรัพย์สินดังกล่าว จะหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาโดยรวมจำนวนมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลืออยู่ ทั้งหมดด้วยก็ได้ ทั้งนี้ ให้ใช้กับทรัพย์สินทุกประเภทเว้นแต่รถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่ง ไม่เกิน 10 คน   

สำหรับวิธีการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินโดยวิธีอื่นดัง กล่าว  ซึ่งมีอัตราการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาไม่เท่ากันในแต่ละปีระหว่าง อายุการใช้ทรัพย์สินนั้นจำนวนปีอายุการใช้ของทรัพย์สินเพื่อการหักค่าสึกหรอ และค่าเสื่อมราคาต้องไม่น้อยกว่า  100 หารด้วยจำนวนร้อยละของอัตราค่าสึกหรอค่าเสื่อมราคาตามวิธีเส้นตรงที่กำหนด ข้างต้นเช่นทรัพย์สินอย่างอื่นต้องมีอายุการใช้งานไม่น้อยกว่า 100 หารด้วย 20 = 5 ปี อาคารต้องไม่น้อยกว่า 100 หารด้วย 5 = 20 ปี  

 ปุจฉา มีหลักเกณฑ์การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาแบบจูงใจ สำหรับเครื่องบันทึกการเก็บเงิน (Cash Register) อย่างไร

วิสัชนา การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินประเภทเครื่องบันทึกการเก็บ เงิน ที่มีลักษณะและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้ในอัตราร้อยละ 100 ของมูลค่าต้นทุนที่ได้มาซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว หรือจะเลือกหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นในวันที่ได้ทรัพย์สินนั้น มาในอัตราร้อยละ 40 ของมูลค่าต้นทุนสำหรับมูลค่าส่วนที่เหลือให้หักตามเงื่อนไขและอัตราที่กำหนด ต่อไป 

  1. ตัวเครื่องบันทึกการเก็บเงินซึ่งใช้สำหรับบันทึกการเก็บเงินเพื่อการออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ ตามมาตรา 86/6 หรือมาตรา 86/7 แห่งประมวลรัษฎากร 
  2. ส่วนพ่วงของเครื่องบันทึกการเก็บเงินตามข้อ 1. ซึ่งใช้ในการออกใบกำกับภาษีเท่านั้น และไม่สามารถบันทึกโปรแกรมได้ด้วยแป้นพิมพ์ (Keyboard) แต่ต้องให้ส่วนระบบควบคุมกลาง (CPU) เป็นตัวสั่งงาน ดังนี้
  3.  ต้องแจ้งการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินในการออกใบกำกับภาษีอย่าง ย่อ ต่ออธิบดีกรมสรรพากร ตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับอนุมัติให้ใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน (พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 264) พ.ศ. 2536)

    (1) Pre Checker 

    (2) File Server และ 

    (3) Optical Disk 

ปุจฉา มีหลักเกณฑ์การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาแบบจูงใจของวิสาหกิจขนาดกลาง สำหรับทรัพย์สินเครื่องคอมพิวเตอร์ โรงงาน และเครื่องจักรอย่างไร 

วิสัชนา สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสินทรัพย์ถาวรซึ่งไม่รวมที่ดิน ไม่เกินสองร้อยล้านบาท และมีการจ้างแรงงานไม่เกินสองร้อยคน (วิสาหกิจขนาดกลาง) ให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาแบบจูงใจ สำหรับทรัพย์สินเครื่องคอมพิวเตอร์ โรงงาน และเครื่องจักร ดังนี้

  1. ทรัพย์สินประเภทคอมพิวเตอร์ หมายความว่า เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติทำหน้าที่เสมือนสมองกลใช้สำหรับแก้ปัญหา ต่างๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์ ตลอดจนอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ อันได้แก่ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องช่วยหรือเครื่องประกอบกับคอมพิวเตอร์ และสำหรับคอมพิวเตอร์ที่ได้มาตั้งแต่วันที่ 7 ส.ค. 2551 เป็นต้นไป ให้รวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ด้วย ให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา เบื้องต้นในวันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาในอัตราร้อยละ 40 ของมูลค่าต้นทุน (Initial Method) สำหรับมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามวิธีปกติ ต่อไป
  2. ทรัพย์สินประเภทอาคารโรงงาน ซื้อหรือได้รับโอนกรรมสิทธิ์เพื่อมีไว้ในการประกอบกิจการของตนเอง ให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นในวันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาใน อัตราร้อยละ 25 ของมูลค่าต้นทุน (Initial Method) สำหรับมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามวิธีปกติ ต่อไป
  3. ทรัพย์สินประเภทเครื่องจักรและอุปกรณ์ของเครื่องจักร ที่ซื้อหรือได้รับโอนกรรมสิทธิ์เพื่อมีไว้ในการประกอบกิจการของตนเอง ให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นในวันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาใน อัตราร้อยละ 40 ของมูลค่าต้นทุน (Initial Method) สำหรับมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามวิธีปกติ ต่อไป

ปุจฉา มีหลักเกณฑ์การคำนวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินประเภทอาคารของสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคอย่างไร 

วิสัชนา ทรัพย์สินประเภทอาคารถาวร ที่บริษัทซึ่งเป็นสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคซื้อหรือได้รับโอนกรรมสิทธิ์ เพื่อมีไว้ในการประกอบกิจการของตนเอง ให้มีสิทธิเลือกหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาแบบจูงใจ โดยให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นในวันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาใน อัตราร้อยละยี่สิบห้าของมูลค่าต้นทุน สำหรับมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามวิธีปกติ ต่อไป

 ปุจฉา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้สิทธิคำนวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อม ราคาวิธีพิเศษแบบจูงใจ ให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นในวันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาใน อัตราที่กฎหมายกำหนดจะเลือกไม่ใช้สิทธิดังกล่าวได้หรือไม่

วิสัชนา กระทำได้ เพราะเป็นสิทธิที่กำหนดให้เลือกปฏิบัติได้ แต่เมื่อเลือกใช้หรือไม่เลือกใช้สิทธิดังกล่าวสำหรับทรัพย์สินใดแล้ว ก็ให้ใช้หรือไม่มีสิทธิใช้นั้นตลอดไป จะเปลี่ยนแปลงได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร 

อย่างไรก็ตาม การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาแบบจูงใจ โดยให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นในวันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมา ดังกล่าวไม่เป็นที่ยอมรับในทางหลักการบัญชีหรือมาตรฐานการบัญชี กิจการที่เลือกใช้วิธีหักค่าเสื่อมราคากรณีนี้ ให้ถือปฏิบัติเฉพาะในทางภาษีอากรเท่านั้น ในการใช้สิทธิกรณีนี้ จึงต้องทำการปรับปรุงกำไรสุทธิทางบัญชีให้เป็นกำไรสุทธิทางภาษีอากร

 ปุจฉา มีมาตรการเกี่ยวกับเกณฑ์การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาแบบจูงใจ สำหรับทรัพย์สินประเภทเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้าหรือให้บริการรับ จ้างผลิตสินค้าที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งอยู่ในพื้นที่ที่ทาง ราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ที่เกิดอุทกภัย และได้รับความเสียหายจากอุทกภัยในระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555 อย่างไร 

วิสัชนา โดยที่ได้เกิดเหตุอุทกภัยขึ้นในพื้นที่หลายจังหวัดของประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2554 ต่อเนื่องมาจนถึง พ.ศ. 2555 ทำให้มีผู้ประกอบการได้รับความเสียหายจากอุทกภัยเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการดังกล่าวซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลที่มีความจำเป็นต้องจัดหาทรัพย์สินประเภทเครื่องจักรที่ใช้ในการ ผลิตสินค้าหรือให้บริการรับจ้างผลิตสินค้าเพื่อใช้ในการดำเนินกิจการให้ต่อ เนื่อง จึงได้มีการตราพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 537) พ.ศ. 2555 เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 4 เอกาทศ แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 เพื่อให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย สามารถหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินดังกล่าวที่ได้มาตั้งแต่วัน ที่ 25 กรกฎาคม 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555 ได้ 

“มาตรา 4 เอกาทศ การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินประเภทเครื่องจักรที่ใช้ในการ ผลิตสินค้าหรือให้บริการรับจ้างผลิตสินค้าที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลซึ่งอยู่ในพื้นที่ที่ทางราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ที่เกิดอุทกภัย และได้รับความเสียหายจากอุทกภัยในระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ได้ซื้อหรือได้รับโอนกรรมสิทธิ์เพื่อมีไว้ในการประกอบกิจการของตนเอง ให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นในวันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาใน อัตราร้อยละสี่สิบของมูลค่าต้นทุน สำหรับมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือ ให้หักตามเงื่อนไขและอัตราที่กำหนดไว้ในมาตรา 4 ทั้งนี้ เฉพาะทรัพย์สินที่ได้มาและอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งานได้ตามประสงค์ตั้งแต่ วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้

(1) เป็นทรัพย์สินที่ได้รับสิทธิประโยชน์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาขอรับสิทธิ ประโยชน์สนับสนุนจากส่วนราชการ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อการส่งเสริมการลงทุนด้านอนุรักษ์พลังงาน 

(2) เป็นทรัพย์สินที่นำไปใช้ในกิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน 

(3) เป็นทรัพย์สินที่เกิดจากรายจ่ายซึ่งได้จ่ายไปเป็นค่าจ้างเพื่อทำการวิจัยและ พัฒนาเทคโนโลยีให้แก่หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 297) พ.ศ. 2539 

(4) เป็นทรัพย์สินที่เกิดจากรายจ่ายตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากรและได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 3 (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 460) พ.ศ. 2549

(5) เป็นทรัพย์สินที่เกิดจากรายจ่ายตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากรและได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 532) พ.ศ. 2554”

นอกจากนี้ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 536) พ.ศ. 2555 กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงิน ได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งอยู่ในพื้นที่ที่ทางราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ที่เกิดอุทกภัยและได้รับ ความเสียหายจากอุทกภัยในระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555 สำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายใน การได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้าหรือให้บริการ รับจ้างผลิตสินค้าเป็นจำนวนร้อยละ 25 ของค่าใช้จ่ายนั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ที่จะได้ประกาศกำหนดต่อไป  

ปุจฉา มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทางบัญชีและทางภาษีอากรอย่างไร 

วิสัชนา เพื่อป้องกันและขจัดปัญหาทางภาษีอากรผู้ประกอบกิจการควรใช้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทางภาษีอากร เพื่อการคำนวณกำไรและขาดทุนสุทธิทางบัญชีให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ สำหรับรายการที่ไม่เป็นตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขทางภาษีอากร ให้ทำการปรับปรุงเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีเพื่อให้กำไรหรือขาดทุนสุทธิทางภาษีอากรถูกต้องและสมบูรณ์  

ปุจฉา ประกอบกิจการให้บริการเก็บรักษาขนถ่ายผลิตภัณฑ์อันมิใช่กิจการคลังสินค้า ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินจากบริษัทอื่น ตามสัญญาเช่าฉบับลงวันที่ 1 ตุลาคม 2545 มีกำหนดระยะเวลา 15 ปี นับแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2545 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2560 ซึ่งบริษัทได้ก่อสร้างอาคารสถานประกอบการและส่วนหนึ่งเป็นถนนทางเข้าออก ซึ่งเป็นถนนส่วนบุคคล 

เนื่องจากมีสภาพทรุดโทรมเสียหายมาก และมีน้ำท่วมบริษัทจะปรับปรุงถนนส่วนบุคคลทางเข้าออกของบริษัทที่ดินที่ใช้ ในการปรับปรุงถนนส่วนบุคคลเข้าซอยดังกล่าวนั้น พื้นที่ครึ่งหนึ่งของความกว้างของถนนเป็นที่ดินที่บริษัทเช่า ส่วนพื้นที่อีกครึ่งหนึ่งเป็นที่ดินของบุคคลอื่น และบริษัทจะปรับปรุงถนนส่วนบุคคล ในซอยดังกล่าวตั้งแต่ถนนใหญ่จนถึงประตูทางเข้าของบริษัทความยาวประมาณ 180 เมตร โดยมีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ปรับปรุงถนนทั้งหมดมีราคาประมาณ 6,000,000 บาท ซึ่งบริษัท เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงถนนทั้งหมด 

บริษัทขอหารือว่า 

  1. ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงถนนในส่วนที่สร้างบนที่ดินที่บริษัทเช่า ถือเป็นค่าใช้จ่ายในการลงทุน โดยบันทึกเป็นสินทรัพย์ซึ่งเสื่อมสภาพได้ และตัดจ่ายภายใน 5 ปี ค่าตัดจ่ายในแต่ละปีสามารถถือเป็นค่าใช้จ่ายในทางภาษี ส่วนค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงถนนในส่วนที่สร้างบนที่ดินของผู้อื่นถือเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ซึ่งสามารถถือเป็นค่าใช้จ่ายในทางภาษีทั้งจำนวน ถูกต้องหรือไม่ 
  2. ภาษีมูลค่าเพิ่มของค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงถนนทั้งหมด บริษัทสามารถนำมาใช้เป็นภาษีซื้อและขอคืนจาก กรมสรรพากรได้ทั้งจำนวน ถูกต้องหรือไม่   

 วิสัชนา 

  1. กรณีบริษัทปรับปรุงถนนส่วนบุคคลในซอยทางเข้าออกบนที่ดินที่บริษัทเช่า เป็นการทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน ถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน ก่อให้เกิดประโยชน์เกินกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร แต่มีสิทธินำไปหักเป็นค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับมาตรา 4 (5) แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการหักค่าสึกหรอ และค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 ส่วนค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงถนนบนที่ดินของบุคคลอื่นเป็นรายจ่าย ซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะเป็นรายจ่ายต้องห้ามตาม มาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร
  2. กรณีภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนของภาษีซื้อที่เกิดจากการปรับปรุงถนนบนที่ดินที่เช่า เป็นรายจ่ายโดยที่เกี่ยวข้อง โดยตรงกับการประกอบกิจการ บริษัทสามารถนำภาษีซื้อดังกล่าวมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่า เพิ่มได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 82/5 (3) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงถนนบนที่ดินของบุคคลอื่น ไม่เข้าลักษณะเป็นภาษีซื้อจากรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ จึงเป็นภาษีซื้อที่ไม่ให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5 (3) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 17) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับภาษีซื้อที่ไม่ให้นำ (แนวคำตอบข้อหารือกรมสรรพากรเลขที่ กค 0702/761 ลงวันที่ 28 ม.ค. 2553) 

ปุจฉา กรณีบริษัทเปลี่ยนแผงหลังคาโรงงาน และเทคอนกรีตยกระดับพื้นที่นอกโรงงาน และจุดที่ใช้สำหรับเคลื่อนย้ายชิ้นงาน ข้ามฝั่งโรงงาน บริษัทมีสิทธินำรายจ่ายดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้หรือไม่ อย่างไร 

วิสัชนา การดำเนินการของบริษัทกรณีดังกล่าว เป็นการทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน ถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน ก่อให้เกิดประโยชน์ เกินกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี บริษัทมีสิทธินำไปหักเป็นค่าสึกหรอ และค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน มาตรา 65 ทวิ (2) ประกอบกับมาตรา 4 (5) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 หากบริษัทเปลี่ยนแผงหลังคาโรงงาน และเทคอนกรีตยกระดับพื้นที่นอกโรงงาน และจุดที่ใช้สำหรับเคลื่อนย้ายชิ้นงานข้ามฝั่งโรงงาน โดยมิได้มีการรื้อหรือทำลายทรัพย์สินนั้นทั้งหมด บริษัทจะนำค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินส่วนที่ยังตัดไม่หมดไปหัก เป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิทั้งจำนวนไม่ได้ ต้องหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาต่อไปจนหมด เว้นแต่บริษัทได้มีการรื้อหรือทำลายทรัพย์สินนั้น บริษัทจึงมีสิทธิ ตัดต้นทุนที่เหลืออยู่เป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิทั้งจำนวนในปีที่มีการ รื้อหรือทำลายได้

บทความโดย : https://www.dha.co.th

 8230
Visitor
Get started for free today. Free Trial
Create a website for free Online Stores