ความสามารถในการทำกำไรจากงบกำไรขาดทุน

ความสามารถในการทำกำไรจากงบกำไรขาดทุน

ผู้ถือหุ้นให้เงินลงทุนกับบริษัทไปเพื่อแสวงหากำไร ถ้ามองเหมือนการทำสงคราม งบดุลเหมือนการจัดทัพออกศึก ผลงานของกองทัพคือไปออกรบและได้ชัยชนะกลับมา ผู้ถือหุ้นก็จะได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผล

บริษัทที่ดีควรมีรายได้และกำไรเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอไม่ผันผวน และดูการควบคุมรายจ่ายแต่ละขึ้นโดยดูคู่กับอัตรากำไร เป็นเป็นการนำกำไรแต่ละขั้นมาเทียบกับยอดขายแบ่งเป็น 3 ขั้นคือ อัตรากำไรขั้นต้น (gross profit margin; GM)  อัตรากำไรจากการดำเนินงาน (Operation Margin; OM) หรือเรียกอีกอย่างว่า EBIT margin และอัตรากำไรสุทธิ (Net profit Margin; NM) ควรพิจารณา gap ทั้งสามค่าว่ารักษาสัดส่วนที่คงที่ เพราะช่วงต่างแต่ละอัตรากำไรบอกค่าใช้จ่ายในกิจการโดยรวมได้ดี GM ไปยัง OM คือสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร OM ไปยัง NM คือ ต้นทุนการเงินหรือดอกเบี้ยจ่าย และภาษี เราจะพอเห็นภาพได้ว่าบริษัทมีภาระค่าใช้จ่ายคงที่ตรงไหนมากสม่ำเสมอ ถ้าอัตรากำไรไม่สม่ำเสมอต้องไปอ่านคำอธิบายผลประกอบการว่ารายได้ลดลงหรือรายจ่ายเพิ่มขึ้นเพราะอะไร เป็นเหตุชั่วคราวหรือไม่ ถ้ามองเป็นการตกแค่ชั่วคราวก็ถือว่าเป็นจังหวะที่ดีในการซื้อหุ้นเพราะไตรมาศต่อไปการทำกำไรก็จะกลับมาที่เดิม

งบกำไรขาดทุน ของ MINT

ภาพหน้าจอ 2015-10-13 13.13.19

งบกำไรขาดทุนของ MINT ตามสูตรคือยอดขายโต กำไรเติบโต เวลาดูต้องระวังคือ รายได้อื่นถ้าโตผิดสังเกตต้องตั้งข้อสงสัยว่ามันคืออะไร อย่างในปี 2558 mint มีกำไรพิเศษจากการต่อรองราคาซื้อโรงแรมในต่างประเทศทำให้กำไรโตผิดปกติไป

อีกจุดที่น่าสนใจคือ EBITDA นำมาดูเทียบกับค่าเสื่อมค่าตัดจำหน่าย ที่เป็นเหมือนต้นทุนของสินทรัพย์ที่เสื่อมค่าลงทุนวัน ถ้าบริษัทไหนทำ EBITDA ได้สูงกว่าค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่ายเยอะๆ ถือว่าใช้สินทรัพย์ได้คุ้มค้า บริษัทไหนที่ EBITDA เลย ค่าเสื่อมไม่มาก ทางแก้คือไม่เพิ่มรายได้จากสินทรัพย์เดิมให้มากขึ้น ก็ต้องเพิ่มอัตรากำไรให้ได้ และไปลดค่าเสื่อมโดยการขายสินทรัพย์ที่ไม่ได้สร้างรายได้ทิ้ง

บทความโดย : www.finnomena.com

 3355
Visitor
Get started for free today. Free Trial
Create a website for free Online Stores