ลูกหนี้
ก. กรณีราคาตามบัญชีของหนี้ต่ำกว่าจำนวนเงินที่ต้องจ่ายตามเงื่อนไขใหม่ (ไม่คิดลด)
1. ไม่ต้องบันทึกบัญชี ณ วันปรับโครงสร้างหนี้
2. การบันทึกดอกเบี้ยจ่ายให้คำนวณจากอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (อัตราส่วนลดที่ทำให้มูลค่า ปัจจุบันของจำนวนเงินที่ต้องจ่าย ในอนาคตตามเงื่อนไขใหม่มีค่าเท่ากับราคาตามบัญชีของ หนี้ ณ วันปรับโครงสร้างหนี้) ซึ่งเป็นอัตราคงที่คูณด้วยราคาตาม บัญชีของหนี้ ณ วันเริ่มต้น ของแต่ละงวด
3. บันทึกการชำระหนี้ด้วยผลต่างระหว่างเงินงวดกับดอกเบี้ยจ่ายที่คำนวณได้
ข. กรณีราคาตามบัญชีของหนี้สูงกว่าจำนวนเงินที่ต้องจ่ายในอนาคตตามเงื่อนไขใหม่ (ไม่คิดลด)
1. ณ วันปรับโครงสร้างหนี้ให้บันทึกรายการกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ (ผลต่างของราคาตามบัญชีของหนี้กับจำนวนเงิน ที่ต้องจ่ายตามเงื่อนไขใหม่)
2. ให้บันทึกจำนวนเงินที่จ่ายในแต่ละงวดตามเงื่อนไขใหม่ โดยปรับลดกับราคาตามบัญชีของหนี้ที่ค้างชำระโดยไม่ต้องบันทึก ดอกเบี้ยจ่าย
เจ้าหนี้
1. ณ วันปรับโครงสร้างหนี้ให้บันทึกรายการขาดทุนจากการปรับโครงสร้างหนี้ (ผลต่างระหว่างเงินลงทุนในลูกหนี้สุทธิจาก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญกับมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตตามเงื่อนไขใหม่คิดลดด้วยอัตรา ดอกเบี้ยในตลาด) และบันทึกบัญชีค่าเผื่อการปรับมูลค่า เพื่อทำให้เงินลงทุนในลูกหนี้เท่ากับมูลค่ายุติธรรมของหนี้นั้น
2. การบันทึกดอกเบี้ยรับให้คำนวณจากอัตราดอกเบี้ยในตลาดคูณด้วยราคาตามบัญชีของหนี้ ณ วันเริ่มต้นของแต่ละงวด(อัตราดอกเบี้ยในตลาด คืออัตราดอกเบี้ยที่เจ้าหนี้พึงให้ลูกหนี้ปกติ แต่ละประเภทโดยไม่คำนึงว่าลูกหนี้นั้นมีการปรับโครง สร้างหนี้หรือไม่ ณ วันที่ปรับโครงสร้างหนี้)
3. บันทึกลดค่าเผื่อการปรับมูลค่าด้วยผลต่างระหว่างจำนวนเงินที่รับชำระและดอกเบี้ยรับที่คำนวณได้
บทความโดย : https://sites.google.com/