ในการกำหนดราคาสินค้านั้น มีสิ่งที่กิจการจะต้องพิจารณาเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ เช่น กำไร จากการขาย การยอมรับของผู้ซื้อ การเปรียบเทียบกับราคาของคู่แข่งขัน เป็นต้น ซึ่งต้งคำนึงถุงอนาคตหากกิจการต้องลงราคาสินค้าลงอีก ก็สามารถกระทำได้โดยไม่ขาดทุน
1. การกำหนดราคาจากต้นทุน (Cost Based Pricing) เป็นวิธีการกำหนดราคาที่ง่ายและสะดวกที่สุด โดยใช้ต้นทุนต่อหน่วยมาเป็นพื้นฐาน ซึ่งมีวิธีการกำหนดรารา ดังนี้
1.1 วิธีการกำหนดราคาแบบ Cost-Plus การกำหนดราคาวิธีนี้มาใช้ในกรณีที่กิจการไม่สามารถคาดการณ์ต้นทุนของผลิตภัณฑ์ล่วงหน้าได้ หรือต้นทุนของผลิตภัณฑ์ไม่แน่นอน กิจการจึงต้องกำหนดกำไรที่แน่นอนขึ้นมาก่อน และเมื่อทราบต้นทุนต่อหน่วยแล้วจึงนำต้นทุนนั้นไปบวกกับกำไรที่ต้องการ
ราคาขาย = กำไรต่อหนาวยที่ต้องการ + ต้นทุนต่อหน่วย
1.2 วิธีกำหนดราคาแบบ Mark up เป็นการบวกส่วนเพิ่มโดยใช้สมการ ดังนี้
Price = Cost + Mark up หรือ ราคา = ทุน + ส่วนเพิ่ม
วิธีการคำนวณ Mark up มีดังนี้
1) Mark up on Cost หรือ Mark on คือ การกำหนดเป็นร้อยละจากราคาทุน
2) Mark up on Selling Price หรือ Mark up คือ การกำหนดเป็นร้อยละจากราคาขายวิธีนี้ใช้มากในธุรกิจค้าปลีกและค้าส่ง โดยมีพื้นฐานการคำนวณมาจากต้นทุนเช่นเดียวกัน
1.3 วิธีกำหนดราคาเพื่อให้ได้ผลตอยแทนตามเป้าหมาย (Target Pricing) เป็นการกำหนดราคาเพื่อให้ได้ผลตอบแทนจากการลงทุน (Return on Investment : ROI) โดยต้องการกำไรเป็นร้อยล่ะเท่าใดของเงินลงทุน (Target Profit) เข้าไปในต้นทุนของสินค้าหรือเงินลงทุน โดยใช้สมการดังนี้
ราคา = ต้นทุนต่อหน่วย + อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ * เงินลงทุน
จำนวนสินค้าที่ขาย
2. การกำหนดราคาจากอุปสงค์ (Demand Based Pricing) เป็นการกำหนดราคาโดยคำนึงปริมาณความต้องการซื้อสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งของลูกค้าที่มีการเปลี่ยนแปลง หรือเรียกว่า ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา (Price Elasticity of Demand) ดังตัวอย่างรูปภ่าพ