เราทราบดีว่า การทำธุรกิจนั้นเป้าหมายก็คือทำแล้วให้มีกำไร บนเงื่อนไขว่า รายรับมากกว่ารายจ่ายก็เป็นกำไรแล้ว แต่ทางปฏิบัติธุรกิจย่อมมีรายละเอียดความซับซ้อนมากกว่านั้นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องการรู้ ก็คือตอนนี้เราอยู่ในจุดที่มีกำไรหรือไม่ จึงต้องค้นหาสิ่งที่เรียกว่าจุดคุ้มทุนให้เจอ ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงเทคนิควิเคราะห์จุดคุ้มทุนแบบเข้าใจง่าย นำไปปรับใช้กันได้
ในการดำเนินธุรกิจนั้นต้นทุนมีสองประเภท คือ ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) และต้นทุนแปรผัน (Variable Cost) โดยอธิบายได้ดังนี้
สมการง่าย ๆ ของการค้นหาจุดคุ้มทุนจึงเกิดจากรายได้ ซึ่งแปรผันคูณตามยอดขายสินค้าที่เราขายออกไป หักด้วยต้นทุนแปรผัน และต้นทุนคงที่ ถ้าหากเหลือเป็นบวกนั่นก็คือกำไร
พูดอีกแบบก็คือ แม้เราตั้งราคาสินค้าที่สูงกว่าต้นทุนอยู่แล้ว เช่น มีกำไรขั้นต้น 100% ในกาแฟทุกแก้วที่ขายได้ แต่หากเรามีต้นทุนคงที่ ๆ สูงมาก เราก็จำเป็นต้องขายกาแฟให้ได้จำนวนที่สูงมากพออยู่ดี เพื่อนำกำไรมาหักกับต้นทุนคงที่ส่วนนี้นั่นเอง ไม่เช่นนั้นจะเกิดสถานการณ์ประเภท “ขายดีจัง แต่ทำไมไม่มีกำไร” ขึ้นได้
ต้นทุนอีกชนิดหนึ่งที่ต้องนำมาคำนวณรวมด้วย แต่ขึ้นอยู่กับเทคนิคของแต่ละธุรกิจก็คือ ระยะเวลา เพราะธุรกิจล้วนต้องมีการลงทุนเริ่มต้น เช่น ค่าอุปกรณ์ ค่าตกแต่งร้าน ต้นทุนส่วนนี้ต้องถูกนำมาคิดรวมด้วยกับต้นทุนธุรกิจ หากแต่วิธีการนำมาคำนวณก็แล้วแต่ตัวเจ้าของเองว่ามองระยะเวลาที่ต้องการคืนทุนนานเท่าใด
ตัวอย่างเช่น ถ้ามีการลงทุนตกแต่งร้าน 100,000 บาท และหวังผลคืนทุนภายใน 2 ปี เช่นนี้ก็จะมีต้นทุนเพิ่มมาปีละ 50,000 บาท โดยให้นำไปคิดรวมกับต้นทุนคงที่ ซึ่งอธิบายไว้ข้างต้น
จะเห็นว่าการคิดคำนวณต้นทุนส่วนนี้ ระยะเวลา เป็นตัวทำให้กิจการมีต้นทุนมากน้อยต่างกันไป ถ้ามีระยะเวลาคืนทุนมาก ตัวหารเยอะ ต้นทุนต่อปีก็น้อยลง ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการระยะเวลาคืนทุนของเจ้าของธุรกิจเอง หากตั้งสั้นก็มีความท้าทายที่ต้องสร้างยอดขายให้สูงมากตามเช่นกัน
เพราะต้นทุนที่สูงก็ทำให้จุดคุ้มทุนสูงตาม เกิดเป็นความท้าทายที่ยากขึ้นทางธุรกิจ มีเทคนิคหลายอย่างในการบริหารจัดการต้นทุนให้ดีมากขึ้น ตัวอย่างเช่น
การบริหารต้นทุนที่ดี จะช่วยให้เรามีตัวเลขที่ชัดเจนขึ้น จนสามารถคาดการณ์ยอดขายที่เหมาะสม กำหนดเป้าหมายที่ต้องบรรลุทางธุรกิจ ตลอดจนวางแผนการตลาดได้อย่างถูกต้องถูกทิศทาง
บทความโดย : https://wekorat.com