การวิเคราะห์ปัจจัยต้นทุนตามกิจกรรมภายในกระบวนการผลิต

การวิเคราะห์ปัจจัยต้นทุนตามกิจกรรมภายในกระบวนการผลิต

  1. ต้นทุนตามกิจกรรม (ABC: Activity Based Costing) 

​ในปี 1987 Kaphan และคณะ (Hicks, 1992) ได้นำเสนอวิธีการคำนวณต้นทุนตามกิจกรรม (ABC: Activity Based Costing) โดยตามวิธีนี้ ค่าโสหุ้ย (Overhead) หมายถึง ต้นทุนทั่วไปในการดำเนินงาน เช่น เงินเดือนของพนักงานบริษัท จะถูกแจกแจงไปตามกิจกรรมที่เกิดขึ้นทั้งหมดโดยคิดการจัดสรร ตามสัดส่วนจำนวนชั่วโมงแรงงานตรงที่เกิดขึ้น ซึ่งนักวิเคราะห์มักจะคำนวณด้วยวิธีการบัญชีแบบต้นทุนเดิม (Traditional Cost Accounting) ซึ่งขณะที่ต้นทุนจริงอาจจะไม่เป็นเช่นนั้น ซึ่งจะทำให้การคิดต้นทุนของการบริการแต่ละประเภทผิดพลาดไประบบ ABC : Activity Based Costing เป็นวิธีการคำนวณต้นทุนและวัดผลการดำเนินงานของกิจกรรมการคิดต้นทุนตามหลักกิจกรรมจะจัดสรรต้นทุนไปสู่กิจกรรมที่ทำ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของการใช้ทรัพยากรจากนั้นจะจัดสรรต้นทุนไปสู่ต้นทุนกิจกรรมต่างๆ โดยต้องพิจารณาว่าต้นทุนนั้นๆ เกิดการดำเนินกิจกรรมใดบ้าง ประเด็นสำคัญของการคิดต้นทุนตามหลักกิจกรรม คือ ความถูกต้องของข้อมูลเกี่ยว กับต้นทุนที่แท้จริงของสินค้าหรือบริการ เป้าหมายของการคิดต้นทุนตามหลักกิจกรรมจะสำเร็จได้โดยการจัดการบริหารกิจกรรมต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้ทราบว่าการ ดำเนินงานขององค์กรนั้นประกอบ ด้วยกิจกรรมใด รวมทั้งผลที่ได้จากการประกอบกิจกรรมนั้น ดังนั้น ในระบบต้นทุนตามกิจกรรมจะมีสิ่งที่มาเกี่ยวข้องคือ “กิจกรรม” (Activity) และ “ตัวผลักดันต้นทุน” (Cost Driver) โดยคำว่ากิจกรรม หมายถึง เหตุการณ์ การกระทำ รายการค้า หรือ ผลงานที่เป็นสาเหตุก่อให้เกิดต้นทุน  ในการผลิตผลิตภัณ์หรือบริการ สำหรับ ตัวผลักดันต้นทุน หมายถึง ปัจจัยหรือกิจกรรม ซึ่งมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการใช้ทรัพยากรในแต่ละกลุ่มหรือศูนย์กิจกรรม จากคำอธิบายทำให้สามารถสรุปได้ว่า
ระบบต้นทุนตามกิจกรรม ABC เป็นระบบการจัดสรรค่าใช้จ่ายการผลิตโดยมีขั้นตอนที่สำคัญ 2 ขั้นตอนดังแสดงในรูปที่ 2-1 คือ1) การจัดสรรค่าใช้จ่ายการผลิตให้กับแต่ละกลุ่มหรือศูนย์กิจกรรมซึ่งเราเรียกว่า Activity Cost Pools ซึ่งประกอบไปด้วยกิจกรรมย่อยๆ หลายกิจกรรม 2)การคำนวณค่าใช้จ่ายการผลิตเข้าเป็นต้นทุนของผลิตภัณฑ์ตามจำนวนกิจกรรมที่ผลิตภัณฑ์นั้นใช้โดยใช้ตัวผลักดันต้นทุน
การจำแนกตามลักษณะการดำเนินงานหรือจำแนกตามหน้าที่
การจำแนกตามลักษณะการดำเนินงานจะพิจารณาต้นทุนจากการปฏิบัติงานในหน้าทีต่าง ๆ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทดังนี้
►ต้นทุนการผลิต (Manufacturing Cost) หมายถึง ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้า ซึ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้
  • วัตถุดิบทางตรง (Direct Material) หมายถึง ต้นทุนของวัตถุดิบที่เป็นส่วนสำคัญในการผลิตสินค้า และสามารถระบุได้ชัดว่า เป็นของส่วนใดของสินค้าที่ผลิตขึ้น ส่วนชิ้นส่วนประกอบจะเป็น
    วัตถุดิบทางอ้อม (Indirect Material)
  •  ค่าแรงทางตรง (Direct Labor) หมายถึง ค่าจ้างที่จ่ายให้กับคนงานที่ผลิตสินค้าโดยตรง เช่น ค่าแรงคนงาน ส่วนค่าจ้างที่นอกเหนือจากค่าแรงคนงานเรียกว่าค่าแรงงาน
     ทางอ้อม (Indirect Labor)
  •  ค่าใช้จ่ายโรงงาน (Factory Overhead) หมายถึง ต้นทุน หรือค่าใช้จ่ายที่นอกเหนือจากวัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง ค่าใช้จ่ายโรงงาน บางครั้งเรียกว่า ค่าใช้จ่ายในการผลิต
    (Manufacturing Overhead) หรือต้นทุนการผลิตทางอ้อม (Indirect Manufacturing Expenses)
►ต้นทุนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิต (Non – Manufacturing Cost) หมายถึง ต้นทุนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้า แต่ถือเป็นต้นทุนที่สนับสนุนให้มีการจำหน่ายสินค้า ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภทได้แก่
►ต้นทุนทางการตลาด (Marketing Cost) หมายถึง ต้นทุนที่เกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนการจำหน่ายสินค้า ซึ่งเรียกกันทั่วๆ ไป ว่าค่าใช้จ่ายในการขาย
►ต้นทุนทางการบริหาร (Administrative Cost) หมายถึง ต้นทุนที่เกิดขึ้นในการบริหารกิจการ หรือเรียกกันทั่วๆ ไป ว่าค่าใช้จ่ายในการบริหารทั่วไป
►ต้นทุนทางการเงิน (Financial Cost) หมายถึง ต้นทุนที่เกิดจากการจัดหาเงินมาลงทุน หรือการบริหารเงินทุนของกิจการ

การจำแนกต้นทุนตามหน้าที่
ต้นทุนขั้นต่ำ (Prime Cost) เป็นต้นทุนเบื้องต้นในการผลิตสินค้า ซึ่งได้แก่ วัตถุดิบทางตรง และค่าแรงงานทางตรง ในการผลิตทุกประเภทจะต้องมีต้นทุนประเภทนี้เสมอ
⇒ต้นทุนแปรสภาพ (Conversion Cost) เป็นต้นทุนที่ใช้ในการเปลี่ยนวัตถุดิบทางตรงให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปซึ่งได้แก่ ค่าแรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายในการผลิต
 
การจำแนกต้นทุนตามการจัดทำรายงานทางการเงิน
การจำแนกตามวัตถุประสงค์ในการจัดทำรายงานทางการเงิน แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
  • ต้นทุนงวดเวลา (Period Cost) หมายถึง ต้นทุนที่มีลักษณะเป็นรายจ่ายตัดจ่ายในแต่ละงวด จะไม่รวมอยู่ในต้นทุนสินค้าที่ผลิตหรือขาย เช่น ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร จะปรากฏในงบกำไรขาดทุน
    ในงวดนั้นๆ ต้นทุนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตจะถือเป็นต้นทุนงวดเวลาเสมอ
  • ต้นทุนผลิตภัณฑ์ (Product Cost) หรือต้นทุนสินค้าคงเหลือ (Inventoriable Cost) หมายถึงต้นทุนที่เป็นส่วนประกอบโดยตรงของสินค้า โดยปกติแล้วต้นทุนการผลิตจะถือเป็นต้นทุนผลิตภัณฑ์เสมอ 
    และจะมีสภาพเป็นสินทรัพย์ จนกว่าสินค้านั้นจะมีการขายออกไป เมื่อขายออกไปจะตัดเป็นค่าใช้จ่าย ในรอบระยะเวลา เรียกว่า ต้นทุนขาย (Cost of Goods Sold)​
การจำแนกต้นทุนตามความสัมพันธ์ของต้นทุนกับที่มาของการเกิดต้นทุน
การจำแนกตามลักษณะนี้จะพิจารณาว่าสามารถติดตามต้นทุนเข้าหน่วยวัดต้นทุนได้ง่าย หรือชัดเจนมากน้อยเพียงใด ซึ่งแบ่งเป็น 2ประเภท ดังนี้ ⇒ต้นทุนทางตรง (Direct Cost) หมายถึง ต้นทุนที่สามารถระบุได้ว่าเป็นของสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งหรือของแผนกใดแผนกหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ต้นทุนวัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง เป็นต้น โดยจะ มีต้นทุนทางด้านวัตถุดิบ, ต้นทุนทางด้านแรงงาน และต้นทุนในเรื่องค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของผลิตภัณฑ์หรือกิจกรรมนั้นๆ ซึ่งเราสามารถทราบได้ว่าต้นทุนเหล่านี้เป็นของผลิตภัณฑ์หรือกิจกรรมใด ⇒ต้นทุนทางอ้อม (Indirect Cost) หรือต้นทุนร่วม (Common Cost) หมายถึงต้นทุนที่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นของสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือของแผนกใดแผนกหนึ่งได้ ต้นทุนทางอ้อมจะตรงกันข้ามกับ ต้นทุนทางตรงในการคิดต้นทุนให้กับหน่วยต้นทุน จะใช้วิธีการปันส่วนต้นทุน (Cost Allocation) เป็นการรับจัดสรรมาจากต้นทุนที่เกิดร่วมกัน เพื่อรวมเป็นต้นทุนผลิตภัณฑ์ซึ่งยากต่อการระบุ หรือจำแนกว่าเป็นต้นทุนของหน่วยต้นทุนใดโดยเฉพาะ อาจจะเป็นค่าใช้จ่าย ในการดำเนินการทางธุรกิจ เช่น ค่าเช่า ค่าน้ำ, ค่าไฟ, ค่าเสื่อมราคา ฯลฯ (กิตติพงศ์ วิเวกานนท์, 2547)
 
การจำแนกต้นทุนเพื่อการวางแผน ควบคุม และตัดสินใจ
ตัวชี้วัดของการเป็นผู้บริหารคือ การตัดสินใจ ดังนั้นการใช้ข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับปัญหามาใช้ในการตัดสินใจ ประเภทของต้นทุนลักษณะนี้มี 4 ประการคือ ⇒ต้นทุนที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ (Controllable and Uncontrollable Cost) หมายถึง ต้นทุนที่แยกตามระดับของการบริหาร แต่ละระดับว่าสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้หรือไม่ ต้นทุนที่ควบคุมได้มักจะ มีอำนาจในการเปลี่ยนแปลงวงเงิน ส่วนต้นทุนที่ควบคุมไม่ได้มักจะไม่มีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงวงเงิน ⇒ต้นทุนจม (Sunk Cost) หมายถึง ต้นทุนที่เกิดขึ้นในอดีต ไม่มีผลต่อการตัดสินใจในปัจจุบันและอนาคตเช่น ค่าเครื่องจักรเก่า ค่าเช่าตามสัญญาเช่า เป็นต้น ⇒ต้นทุนที่แตกต่าง (Differential Cost) หมายถึง ต้นทุนที่เกิดจากการเปรียบเทียบในแต่ละทางเลือก แบ่งต้นทุนที่แตกต่างเป็น 2 ลักษณะคือ ต้นทุนที่แตกต่างที่เพิ่มขึ้น เรียกว่า ต้นทุนส่วนเพิ่ม (Incremental Cost)และต้นทุนที่แตกต่างที่ลดลงเรียกว่า ต้นทุนส่วนลด (Decremental Cost) ซึ่งต้นทุนที่แตกต่างนี้จะมีความหมายต่อการตัดสินใจ ⇒ต้นทุนเสียโอกาส (Opportunity Cost) หมายถึง รายได้ที่ต้องสูญเสียไปเนื่องจากตัดสินใจเลือกอีกทางเลือกหนึ่ง

การจำแนกต้นทุนตามพฤติกรรมของต้นทุน พฤติกรรมของต้นทุน
คือการที่ต้นทุนจะมีปฏิกิริยาหรือตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในระดับกิจกรรมการดำเนินงาน เช่น ระดับกิจกรรมที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงจะทำให้ต้นทุนมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อการวางแผนคาดการณ์คำสั่งที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากพฤติกรรมของต้นทุน การจำแนกตามพฤติกรรมของต้นทุน มี 3 ประเภท ดังนี้ 
⇒ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) หมายถึง ต้นทุนที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามปริมาณการผลิต หรือขายภายในช่วงที่มีความหมาย (Relevant Range) เช่น ค่าประกันภัย ค่าเช่าอาคาร ค่าเสื่อมราคา ซึ่งต้นทุนคงที่ ในที่นี้หมายถึง
ต้นทุนคงที่รวม แต่ต้นทุนคงที่ต่อหน่วยจะลดลงเมื่อปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น ในเชิงการบริหารต้นทุนคงที่มักจะควบคุมได้ด้วยผู้บริหารระดับสูงเท่านั้น
⇒ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) หมายถึง ต้นทุนที่เปลี่ยนแปลงตามปริมาณการผลิตหรือขาย เช่น วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงทางตรง ค่านายหน้าพนักงานขาย ซึ่งต้นทุนผันแปรในที่นี้ หมายถึง ต้นทุนผันแปรรวม
แต่ต้นทุนผันแปร ต่อหน่วยจะมีค่าคงที่ภายในช่วงที่มีความหมาย (Relevant Range) ต้นทุนผันแปรสามารถที่จะควบคุมได้โดยแผนก หรือหน่วยงานที่ทำให้เกิดต้นทุนผันแปรนั้น
⇒ต้นทุนกึ่งผันแปร (Semivariable Cost) หมายถึง ต้นทุนที่ส่วนหนึ่งจะคงที่ทุกระดับกิจกรรม อีกส่วนหนึ่งจะผันแปรตามปริมาณการผลิตหรือขาย เช่น ค่าสาธารณูปโภคต่างๆ  ถ้าทราบต้นทุนทั้ง 3 ประเภทนี้
อย่างชัดเจนจะช่วยให้การกำหนดราคาขายสินค้าและควบคุมการดำเนินงานได้

 
การประยุกต์ใช้ต้นทุนในกิจกรรมต่างๆ ทางบัญชีต้นทุน  
นำมาใช้ครั้งแรก ในกิจการที่ผลิตสินค้าเพื่อหาต้นทุนการผลิตและตั้งราคาขาย ซึ่งสรุปได้ดังนี้ 
กิจกรรมย่อยในกิจการ เนื่องจากโลกธุรกิจยุคนี้มีการแข่งขันสูง การควบคุมต้นทุนไม่ได้มุ่งเฉพาะในภาพรวมของสายการผลิตในกิจการเท่านั้น แต่จะต้องมุ่งดำเนินการทั้งสายการผลิต และไม่เกี่ยวกับสายการผลิต เช่น ต้นทุนการพิมพ์งานแต่ละฉบับ ต้นทุนการใช้ยานพาหนะแต่ละชั่วโมง หรือต้นทุนการทำความสะอาดต่อตารางเมตร เป็นต้น ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่ผู้บริหารจะใช้ในการวางแผน ควบคุม ตัดสินใจว่าจะทำเองหรือจ้างให้บุคคลอื่นทำ หรืออาจจะมีทางเลือกอื่นอีกในการช่วยประหยัดต้นทุน ซึ่งการรวบรวมต้นทุนเหล่านี้มักจะเป็นต้นทุนโดยประมาณหรือทำในรูปแบบมาตรฐาน หรือต้นทุนมาตรฐานต่อหน่วยเพื่อการวิเคราะห์เปรียบเทียบและตัดสินใจ การประกอบธุรกิจ ในธุรกิจผลิตสินค้า ต้นทุนผลิตภัณฑ์จะประกอบด้วยค่าวัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายในการผลิต ซึ่งจะต้องผ่านกระบวนการลงบัญชีงานระหว่างทำและโอนไปบัญชีสินค้าสำเร็จรูปเมื่อผลิตเสร็จ เมื่อขายก็อยู่ในรูปของต้นทุนขาย ส่วนธุรกิจบริการ หรือขายสินค้าในรูปของบริการก็จะต้องคำนวณต้นทุนเพื่อให้ทราบถึงต้นทุนของบริการ ซึ่งมีหลักการรวบรวมต้นทุนคล้ายกับธุรกิจผลิตสินค้า คือต้นทุนของธุรกิจบริการจะประกอบด้วย ค่าวัสดุ (Supply) ค่าแรงงานทางตรง (Direct Labor) และค่าใช้จ่ายการผลิต (Overhead) ซึ่งจะลงบันทึกรวบรวมในบัญชีงานระหว่างทำและโอนเข้าต้นทุนสินค้าบริการ (Completed Service Inventory) เมื่อขายก็อยู่ในรูปของต้นทุนบริการ (Cost of Service Rendered)ขณะเดียวกันหน่วยงานบริการมักจะมีแบบของการบริการมากมาย จะพบว่ามีการแบ่งประเภทของต้นทุนค่อนข้างหลากหลาย ทั้งนี้การจำแนกต้นทุนออกมานั้นเพื่อประโยชน์ทั้งทางบัญชี และเพื่อนำข้อมูลทางการเงินมาวิเคราะห์ข้อมูลด้านต้นทุน และประสิทธิภาพการทำงานในด้านต่างๆ ด้วย ซึ่งจะพยายามสะท้อนให้เห็นถึงรายละเอียดต้นทุน ที่ใช้ไปตามแต่ละกระบวนการที่เกิดขึ้น และพิจารณาข้อมูลต้นทุนร่วมกัน ตามความเป็นจริงเพื่อให้เกิด การตัดสินใจ เพื่อวางแผนถึงกลยุทธ์ และดำเนินงานทำให้ช่วยให้มองเห็นการดำเนินงานภายในองค์กร ที่ชัดเจน และช่วยให้องค์กรกำหนดกิจกรรมขององค์กรเพื่อจะตอบสนองความต้องการของลูกค้าพร้อม กับการควบคุมต้นทุนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเพื่อที่จะช่วยให้เกิดตัดสินใจเกี่ยวกับ การจัดลำดับกิจกรรมในระยะสั้นของการจัดการองค์กร และเน้นการตัดสินใจในระยะยาวเพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพในการจัดการองค์กรต่อไป ที่ไม่ใช่เพียงแค่เป็นการเปรียบเทียบระหว่างกิจกรรมต่างๆเพื่อให้เกิดความพอดีกันเท่านั้น แต่ยังคงต้องคำนึงถึงการดำเนินงานที่มีต้นทุนมาเกี่ยวข้องแล้วทำให้เกิด การบริการที่ตอบรับความพึงพอใจของลูกค้าได้อย่างเหมาะสม โดยการพิจารณาด้านต้นทุนที่เกิดขึ้น จะช่วยพิสูจน์และแก้ไขให้เห็นความเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอนทางด้านต่างๆ ขององค์กรได้ ต้นทุนเป็นปัจจัยที่ชี้ขาดความคงอยู่ของกิจการ เพราะต้นทุนที่ต่ำกว่าย่อมหมายถึงแต้มต่อของการแข่งขัน ยิ่งการแข่งขันมีความรุนแรงมากเท่าใด ใครที่มีแต้มต่อมากกว่าย่อมมีโอกาสประสบชัยชนะได้มากว่า ดังนั้นต้นทุนไม่ได้เป็นเพียงแค่ตัวเลข ที่แสดงถึงค่าใช้จ่ายของหน่วยธุรกิจเท่านั้น แต่ยังเป็นการแสดงถึงระดับความสามารถในการบริหารจัดการของธุรกิจด้วย
บทความโดย : http://dit-km.myreadyweb.com
 22218
Visitor
Get started for free today. Free Trial
Create a website for free Online Stores