ปัจจุบันนักวิเคราะห์มีเครื่องมือและเทคนิคหลากหลายในการวิเคราะห์งบการเงินเพื่อตีความข้อมูลรายการทางการเงินเป็นรูปแบบที่มีความสะดวกในการประเมินผลประกอบการและสถานะทางการเงินของกิจการ ทั้งด้วยการเปรียบเทียบกับตนเองในอดีต และเปรียบเทียบกับคู่แข่งและค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม
ในบรรดาเครื่องมือและเทคนิคหลากหลายคือ Common-size Financial Statement ซึ่งเน้นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของรายการต่างๆ ในงบการเงิน ณ ช่วงเวลาใด เวลาหนึ่ง เป็น % ต่อสินทรัพย์รวมในงบดุล และเป็น % ของรายได้รวมในงบกำไรขาดทุน
นอกจากนั้น เครื่องมืออื่นๆ ได้แก่อัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratios) ที่จัดมาตรฐานของข้อมูลในงบการเงินในรูปของความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ และ Trend Analysis ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ประเมินข้อมูลในงบการเงินในหลายปีบัญชีต่อเนื่องกัน นอกจากนี้ยังมี Structural Analysis เป็นการมองงบการเงินในลักษณะที่แจกแจงตามโครงสร้างธุรกิจของกิจการ และเครื่องมือที่เรียกว่า Industry Comparisons ซึ่งพิจารณาเปรียบเทียบกิจการหนึ่งกับค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมรวมทั้งหมดและท้ายที่สุดเครื่องมือที่มักนำมาใช้ประกอบ คือ ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญและการใช้ดุลยพินิจในการประเมิน
สรุปเครื่องมือและเทคนิค
เครื่องมือแรก คือ Common-size นั้นจะทำการปรับข้อมูลในงบการเงินออกเป็น % ต่อสินทรัพย์ในส่วนของรายการในงบดุล และปรับข้อมูลในงบกำไรขาดทุนเป็น % ของยอดขาย เพื่อจะให้ง่ายต่อการดูว่ารายการใดในงบดุลที่มีความสำคัญหรือคิดเป็น % สูงสุด และรายการใดที่มีการเปลี่ยนแปลงของ % หรือน้ำหนักความสำคัญเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อจะได้ให้ความสำคัญกับรายการที่มี % สูง และรายการที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างผันผวนมากขึ้น
เครื่องมือที่สอง คือ Financial Ratios สามารถเปรียบเทียบรายการในงบการเงินในช่วงเวลาหลายปีต่อเนื่องกัน หรือเปรียบเทียบ 2 กิจการด้วยอัตราส่วนทางการเงินเดียวกัน โดยอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ ได้แก่
(1) Liquidity Ratios ความสามารถในการหาเงินสดมาใช้จ่ายในการดำเนินงานและรองรับภาระหนี้สินระยะสั้น เพื่อสะท้อนความมั่นคงทางการเงินระยะสั้นหรือประสิทธิภาพการบริหารเงิน
(2) Activity Ratios เป็นการวัดสภาพคล่องของสินทรัพย์บางประเภทและประเมินประสิทธิภาพของการบริหารสินทรัพย์ มักจะดูด้วยวงจรการเปลี่ยนแปลงเป็นเงินสดหรือวงจรการค้าที่เริ่มจากการบันทึกสินค้าคงเหลือจนรายได้เงินสดกลับมาครบถ้วน
(3) Leverage Ratios ซึ่งวัดระดับการพึ่งพาแหล่งเงินกู้จากภายนอกเปรียบเทียบกับส่วนของผู้ถือหุ้น และความสามารถในการจ่ายคืนหนี้สินของกิจการ
(4) Profitability Ratios ความสามารถในการทำกำไร เพื่อวัดผลประกอบการและประสิทธิภาพการบริหารสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
(5) Market Ratios ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี 4 อัตราส่วน คือ
– Earnings per common share
– Price-to-Earnings ratio
– Dividend payout ratio
– Dividend yield
ขั้นตอนการวิเคราะห์งบการเงินหลังจากที่ตัดสินใจได้แล้วว่าจะใช้เครื่องมือใดบ้าง ซึ่งในทางปฏิบัติควรจะใช้เครื่องมือหลายๆ ด้านประกอบกันเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เหมาะสมและสอดคล้องกันไม่ว่าจะพิจารณาด้วยเครื่องมือใดก็ตาม
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์
ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาสภาพธุรกิจ อุตสาหกรรม และกิจการที่จะประเมินโดยรวมเพื่อให้
เข้าใจสภาพแวดล้อมโดยรวม
ขั้นตอนที่ 3 ทำความเข้าใจกับกิจการและคุณภาพของการบริหารกิจการที่พึงประสงค์
ขั้นตอนที่ 4 ดำเนินกระบวนการวิเคราะห์งบการเงิน
ขั้นตอนที่ 5 การสรุปข้อเท็จจริงที่พบและผลการวิเคราะห์
ในส่วนของการสรุปผลการวิเคราะห์ประกอบด้วยส่วนประกอบของสิ่งที่ได้จากการวิเคราะห์งบการเงิน ซึ่งควรเน้นให้เห็นความสัมพันธ์กันของรายการทางการเงินต่างๆ โดยอาจจะกล่าวได้ว่าสภาพคล่องระยะสั้น (short-term liquidity) อาจจะมีผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไร หากเกิดมาจากการหดหายของการค้าตามปกติ และความสามารถในการทำกำไรก็เริ่มมาจากยอดขายและการขายที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายก็จะกลับมาส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของกิจการ และสิ้นทรัพย์ที่มีสภาพคล่อง ความสามารถในการบริหารสินทรัพย์ก็มีอิทธิพลต่อต้นทุนสินค้าขายและต่อต้นทุนทางการเงิน ซึ่งมีผลต่อโครงสร้างของเงินทุนของกิจการ
วิธีการของการสรุปผลการวิเคราะห์งบการเงินอาจจะแสดงได้เป็นจุดแข็งและจุดอ่อนของกิจการ
จุดแข็ง |
จุดอ่อน |
||
|
|
||
1.มีความสามารถในการใช้การบริหารลูกค้าสัมพันธ์นำเอาพื้นที่ว่างและห้องประชุมไปใช้ในการหารายได้ให้ครอบคลุมต้นทุน | |||
2.การเติบโตของยอดขายและปริมาณสินค้าที่ขายได้ยังคงต่อเนื่อง เนื่องจากการเติบโตของฐานลูกค้า | |||
3.ความสามารถในการทำกำไรเพิ่มขึ้น | |||
4.มีกระแสการไหลของเงินสดจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น |
ผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์งบการเงินและความสัมพันธ์ของรายการทางการเงินเพื่อใช้ในการวิเคราะห์กิจการและเปรียบเทียบกิจการกับคู่แข่งขันเป็นแนวทางที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ใช้กันอยู่แต่ในระยะหลังๆ รายงานผลจากการวิเคราะห์ครั้งนี้ใช้ในกระบวนการวางแผนทางการเงินในอนาคตมากขึ้น เพราะการวางแผนทางการเงินต้องอาศัยการพยากรณ์ระยะยาวเกี่ยวกับการเติบโตของสินทรัพย์ ยอดขาย ต้นทุน โดยเริ่มจากการพยากรณ์ยอดขายเป็นอันดับแรก
การพยากรณ์ยอดขายมักจะพิจารณาสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เศรษฐกิจ การแข่งขันมาประกอบการพิจารณา และเมื่อสามารถพยากรณ์ยอดขายได้แล้ว จึงจะสามารถวางแผนในส่วนของการลงทุนในสินทรัพย์ต่อไป
เมื่อสามารถพยากรณ์และกำหนดขนาดของการลงทุนที่จำเป็นได้แล้ว ก็จะสามารถทำแผนการจัดหาเงินทุนเพื่อใช้ในการดำเนินงานต่อไป รวมทั้งกำหนดอัตรากำลังที่จะใช้รองรับ
นอกจากการวางแผนทางการเงินจะให้ความสำคัญกับยอดขาย การลงทุนสินทรัพย์ และการจัดหาเงินทุนดำเนินการแล้ว ยังต้องทำการประมาณการกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็นรายเดือนได้ด้วย
นอกเหนือจากเครื่องมือพื้นฐานที่กล่าวมาแล้วยังมีเครื่องมือที่ซับซ้อนอื่นๆ ที่สามารถช่วยในการวางแผนทางการเงินที่มีประสิทธิภาพ เช่น Cost-Volume-Profit Analysis ซึ่งใช้ในการพยากรณ์ความสามารถในการทำกำไรของกิจการ ณ ระดับยอดขายที่แตกต่างกันออกไป โดยกิจการควรจะสามารถบอกได้ว่ายอดจำหน่ายมากน้อยแค่ไหนจึงจะคุ้มทุนหรือมีกำไร = 0 โดยใช้สูตร ดังนี้
EBIT = ยอดขาย – ต้นทุนแปรผัน – ต้นทุนคงที่
= (ราคาขาย x ปริมาณการขาย) – (ต้นทุนแปรผัน x ปริมาณขาย) – (ต้นทุนคงที่)
ปริมาณการขาย ณ จุดคุ้มทุน (กำไร = 0) = ต้นทุนคงที่ = จำนวนหน่วยที่ขาย
ระดับราคาขาย – ต้นทุนแปรผัน (ต่อหน่วย)
สรุป
ความสำเร็จของการดำเนินธุรกิจใดๆ จะต้องมาจากการวางแผนทางการเงินที่ดีด้วย ซึ่งการวางแผนทางการเงินที่มีจำนวนต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับงบการเงิน และสามารถวิเคราะห์งบการเงินและตีความหมายออกมาเป็นสัญญาณเตือนภัยได้อย่างเพียงพอในการวิเคราะห์งบการเงินมีเครื่องมือและเทคนิคมากมายที่สามารถนำมาช่วยในการบ่งชี้ปัญหาและจุดอ่อนของกิจการ เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ในเชิงลึกต่อไป
บทความโดย : http://www.businessplus.co.th