สัญญาเช่าแบบต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา จะต่างกับสัญญาเช่าธรรมดา คือ การที่เราไปเช่าที่ดินเขา แล้วเราลงทุนสร้างสิ่งก่อสร้างเช่น ร้านอาหาร, โรงแรม, ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น โดยมีข้อตกลงว่า พอหมดสัญญาเช่าสิ่งก่อสร้างเหล่านี้ให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดิน หรือ ถ้าเราได้ช่วยเจ้าของที่ดินออกค่าก่อสร้างอาคารที่เราจะเช่าบนที่ดินของเจ้าของที่ดิน หรือเราเช่าที่ดินทำสวน ปลูกต้นไม้ และตกลงกันว่าหมดสัญญา ต้นไม้ตกเป็นของเจ้าของที่ดิน หรือแม้กระทั่งเราตกลงจะซ่อมแซมอาคารที่เช่าครั้งใหญ่ โดยเราออกค่าใช้จ่ายเอง (เน้นต้องซ่อมใหญ่นะ) เหล่านี้ล้วนเป็นอะไรที่เจ้าของที่ดิน หรือผู้ให้เช่าได้ผลประโยชน์จากการปล่อยเช่าที่ดินของตนทั้งนั้น ดังนั้น กฎ กติกาต่างๆ ย่อมไม่เหมือนสัญญาเช่าแบบทั่วไป การเช่าลักษณะนี้เรียกว่า “สัญญาเช่าต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา”แล้วอะไรที่ไม่เหมือนกับสัญญาทั่วไป
1. แค่ตกลงกันด้วยวาจา ไม่ได้ทำหนังสือ หรือ ทำหนังสือสัญญาเช่ามากกว่า 3 ปี แต่ไม่ได้ไปจดทะเบียนต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ก็สามารถฟ้องร้องบังคับกันได้ (ในแง่ปฏิบัติ คิดว่าคงไม่ค่อยมีใครไม่ทำสัญญาหรอกครับ โดยเฉพาะคนเช่า ลงทุนไปตั้งเยอะ ดังนั้นผมว่าควรทำสัญญาครับ เพราะอาจจะมีกรณีการโอนทรัพย์สินที่เราเช่าให้บุคคลภายนอก เช่นขายที่ๆ ที่เราเช่าอยู่ให้คนอื่น ถ้าไม่มีหลักฐานอะไรเลย มันก็ไม่โอเคครับ คือทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดดีที่สุด อย่างน้อยทำสัญญาเช่า ลงชื่อกันทั้งไว้สองฝ่าย ก็ดีกว่าไม่มีอะไรเลยครับ และ ถ้าจะเช่ามากกว่า 3 ปี ก็เสียเวลาไปจดทะเบียนต่อหน้าเจ้าหน้าที่เขา น่าจะชัวร์กว่าเยอะครับผม)
2. แม้ผู้เช่าตาย สิทธิการเช่านี้ไม่ระงับ แต่ย่อมตกเป็นของทายาทต่อไปภายในกำหนดสัญญา ตรงนี้ไม่เหมือนสัญญาเช่าแบบธรรมดา ที่ผู้เช่าตาย สัญญาเช่าระงับทันที แต่สัญญาเช่าต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา คนเช่าตาย สัญญาไม่ระงับครับ ลูกเมีย ทายาทสามารถเช่าต่อได้จนหมดสัญญาครับผม
บทความโดย : https://www.smartfinn.co.th