การริบหุ้น

การริบหุ้น

 ในการชำระค่าหุ้นเป็นงวดๆ  บริษัทจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนี้

       1.  บริษัทเรียกเงินค่าหุ้นแต่ละคราว ให้กรรมการส่งคำบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ต่ำกว่า 21 วัน ด้วยจดหมายส่งทางไปรษณีย์ด้วยการลงทะเบียน

       2.  ผู้ถือหุ้นคนใดไม่ส่งใช้ตามวันกำหนดที่ได้บอกกล่าว ผู้นั้นจำต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันที่กำหนดให้ส่งใช้จนถึงวันที่ได้รับส่งเสร็จ อัตราดอกเบี้ยถ้าบริษัทไม่ได้กำหนดไว้ในหนังสือข้อบังคับของบริษัทแล้ว จำเป็นต้องเสียอัตราตามกฎหมายคือ ร้อยละ 7.5 ต่อปี ในส่วนของดอกเบี้ยนั้น กฎหมายมิได้บังคับตายตัวจะต้องเสียดอกเบี้ยเสมอไป ขึ้นอยู่กับข้อพิจารณาของกรรมการบริษัทจำกัด

       3.  กรรมการบริษัททวงเงินค่าหุ้นรวมทั้งดอกเบี้ย โดยส่งจดหมายลงทะเบียนไปอีกครั้ง และในจดหมายให้บอกด้วยว่าถ้ายังไม่ใช้ค่าหุ้นรวมทั้งดอกเบี้ยจะทำการริบหุ้น

       4.  บริษัทจำกัดได้ปฏิบัติตามขั้นตอนข้างต้นแล้วยังไม่ได้รับเงินค่าหุ้นอีก ให้กรรมการบริษัทบอกริบหุ้นทุนนั้นๆ  ได้

       5.  หุ้นทุนที่บริษัทริบแล้วนั้นให้นำออกขายทอดตลาดโดยไม่ชักช้า ได้จำนวนเงินสดเท่าใดให้นำมาหักใช้ค่าหุ้นที่เรียกกับดอกเบี้ยค้างชำระ  ถ้ายังมีเงินเหลือเท่าใดต้องส่งคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นนั้น แต่ถ้าเงินที่ได้รับจากการขายทอดตลาดมีไม่พอที่จะชำระเงินค่าหุ้นที่เรียกเก็บกับดอกเบี้ยค้างชำระ บริษัทจะเรียกร้องเอาเงินจากผู้ถูกริบหุ้นได้หรือไม่นั้น บริษัทควรระบุไว้ในข้อบังคับของบริษัทให้ชัดเจน

       ในการศึกษาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ถึงการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการริบหุ้น จึงนำวิธีที่กำหนดตามกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศซึ่งมีอยู่ วิธี คือ

       1.  ริบหุ้นตามกฎหมายไทย

       2.  คืนเงินให้หมด

       3.  ริบเงินที่ชำระแล้วทั้งหมด

       4.  ออกใบหุ้นตามส่วนที่ชำระมาครบตามมูลค่า

บทความโดย  : https://sites.google.com/

 11662
Visitor
Get started for free today. Free Trial
Create a website for free Online Stores