ในปัจจุบันสหกรณ์การเกษตรดำเนินธุรกิจผลิตอาหารสัตว์ เพื่อลดต้นทุนจากการซื้ออาหารสัตว์จากบุคคลอื่น และสูตรอาหารสัตว์เป็นไปตามความต้องการของสมาชิก การผลิตอาหารสัตว์แต่ละครั้งสหกรณ์จะใช้วัตถุดิบที่แตกต่างออกไปทั้งที่เป็นหัวและเป็นเม็ด เช่น มันเส้น ข้าวโพด เป็นต้น ดังนั้นต้องแปรสภาพวัตถุดิบให้เป็นผง หรือมีลักษณะเดียวกัน เพื่อให้การผลิตหรือผสมอาหารสัตว์ได้คุณภาพยิ่งขึ้น การผลิตอาหารสัตว์สหกรณ์ใช้วิธีโม่หรือเครื่องย่อยวัตถุดิบให้เป็นผงก่อนที่จะไปสู่กระบวนการผลิตอาหารสัตว์ ในการผลิตอาหารสัตว์โดยทั่วไปแล้วจำเป็นต้องควบคุมการผลิตให้เป็นไปตามสูตรอย่างเคร่งครัด มิฉะนั้นอาจจะมีผลกระทบต่อสัตว์เลี้ยงที่บริโภคได้ หากจำเป็นต้องเปลี่ยนวัตถุดิบบางตัวที่มีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต ก็ใช้วัตถุดิบที่มีคุณค่าอาหารใกล้เคียงกันมากที่สุด ดังนั้น โดยปกติสหกรณ์จะมีการกำหนดสูตรอาหารสัตว์ไว้ล่วงหน้า พร้อมทั้งกำหนดวัตถุดิบที่สามารถทดแทนกันได้ ในการดำเนินธุรกิจผลิตอาหารสัตว์สหกรณ์จะเตรียมวัตถุดิบเข้ากระบวนการผลิตอาหารสัตว์โดยจะจัดเก็บวัตถุดิบไว้ในโกดังหรือไซโล ในการวางระบบบัญชีให้แก่สหกรณ์ที่ดำเนินธุรกิจผลิตอาหารสัตว์จะต้องคำนึงถึงการควบคุมภายในของสหกรณ์แต่ละแห่งด้วย ซึ่งในที่นี้ไม่ขอกล่าวถึง
ระบบบัญชีด้านการผลิตอาหารสัตว์
สหกรณ์จะบันทึกรายการที่เกิดขึ้นในธุรกิจผลิตอาหารสัตว์ ซึ่งจะมีรายการทางการเงินที่สำคัญ ได้แก่ การซื้อวัตถุดิบ การขายวัตถุดิบและขายอาหารสัตว์สำเร็จรูป โดยจะบันทึกรายการในสมุดบันทึกรายการขั้นต้น คือ สมุด
ซื้อสินค้า และสมุดขายสินค้า แล้วผ่านรายการบัญชีจากสมุดบันทึกรายการขั้นต้นไปยังสมุดบันทึกรายการขั้นปลาย ได้แก่ สมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป และบัญชีย่อย ทั้งนี้เจ้าหน้าที่บัญชีผลิตอาหารสัตว์มิได้เป็นผู้บันทึกรายการ
ดังกล่าว แต่ฝ่ายบัญชี (สมุห์บัญชี) ของสหกรณ์จะเป็นผู้รับผิดชอบในการบันทึกรายการ ส่วนทะเบียนคุมสินค้า (บัญชีสินค้าและวัตถุดิบ) เจ้าหน้าที่บัญชีฝ่ายผลิตอาหารสัตว์เป็นผู้บันทึกรายการ
รายงานทางบัญชี
รายงานทางการเงินจัดทำขึ้นเพื่อให้ข้อมูลที่จำเป็นและเป็นประโยชน์แก่คณะกรรมการ ผู้จัดการในการที่จะนำไปวางแผน ประสานงาน และควบคุมการดำเนินงานของสหกรณ์ให้เป็นไปด้วยความเหมาะสมและรัดกุม ซึ่ง
ประกอบด้วยรายงานต่าง ๆ ดังนี้
1. รายงานการผลิตอาหารสัตว์ เพื่อให้ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการผลิตอาหารสัตว์ว่าเป็นชนิดใด
และมีปริมาณเท่าใด ตลอดจนรายละเอียดการใช้วัตถุดิบและต้นทุนการผลิต
2. รายงานการเดินเครื่องอัดเม็ด (กรณีสหกรณ์ใช้เครื่องจักรในการผลิตอาหารสัตว์ ) เพื่อให้ทราบถึง
กำลังการผลิตของเครื่องจักรต่อชั่วโมง จำนวนผลผลิตที่ได้ เวลาที่ใช้ในการผลิต สามารถนำไปใช้
ประโยชน์ในการหาต้นทุนการผลิต
3. รายงานแผนกอาหารสัตว์ เพื่อให้ทราบถึงจำนวนอาหารที่ผลิตได้แต่ละสูตรในแต่ละวัน จำนวน
อาหารสัตว์ที่ขายและจำนวนอาหารสัตว์คงเหลือทั้งสิ้นถูกเก็บไว้ในคลังสินค้าที่เท่าใด
4. รายงานสินค้า - วัตถุดิบคงเหลือ เพื่อให้ทราบถึงสินค้า – วัตถุดิบคงเหลือ ณ วันสิ้นเดือน
วิธีปฏิบัติทางบัญชีเกี่ยวกับการดำเนินงานในธุรกิจผลิตอาหารสัตว์ สำหรับวิธีปฏิบัติทางบัญชีเกี่ยวกับการดำเนินงานในธุรกิจผลิตอาหารสัตว์ มีดังนี้
การซื้อวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์
เดบิต ซื้อสินค้า |
|
xxx |
|
เครดิต
|
เงินสด/เงินฝากธนาคาร |
|
xxx หรือ |
|
เจ้าหนี้การค้า (กรณีซื้อเชื่อ) |
|
xxx |
ชำระหนี้ให้เจ้าหนี้การค้า
|
|
|
|
เดบิต เจ้าหนี้การค้า
|
|
xxx |
|
เครดิต
|
เงินสด/เงินฝากธนาคาร |
|
xxx หรือ |
การขายอาหารสัตว์
|
|
|
|
เดบิต เงินสด/ลูกหนี้การค้า
|
|
xxx |
|
เครดิต
|
ขายอาหารสัตว์ |
|
xxx |
ได้รับชำระหนี้
|
|
|
|
เดบิต เงินสด
|
|
xxx |
|
เครดิต
|
ลูกหนี้การค้า |
|
xxx |
อนึ่ง หลังจากบันทึกรายการในสมุดขั้นต้นแล้วให้ผ่านรายการไปสมุดบัญชีแยกประเภท และทะเบียนคุมสินค้าและบัญชีย่อยที่เกี่ยวข้อง สำหรับการจัดทำงบการเงินสหกรณ์จะต้องจัดทำงบการเงินที่กรมตรวจบัญชีสหกรณ์กำหนด
การคำนวณต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์
เมื่อสิ้นสุดการผลิตอาหารสัตว์ สหกรณ์จะใช้ตารางการใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ ไปคำนวณหาต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์ ซึ่งมีวิธีการคำนวณต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์ ดังนี้
ต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์ คือ ต้นทุนของโรงงานหรือของการผลิตอาหารสัตว์ทั้งหมด ที่เกี่ยวข้องโดยทางตรงและทางอ้อมกับการผลิตอาหารสัตว์ การคำนวณต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์ แบ่งออกเป็น
1 . ต้นทุนการผลิตระหว่างงวด
การคำนวณต้นทุนตามวิธีนี้จะอาศัยข้อมูลทางบัญชีที่สหกรณ์บันทึกบัญชีไว้ในระหว่างงวด หรือเดือนที่ต้องการทราบว่าสหกรณ์ใช้วัตถุดิบ ค่าแรงงาน และค่าโสหุ้ยการผลิตเป็นจำนวนเท่าใด ซึ่งคำนวณต้นทุนแต่ละประเภทได้ดังนี้
วัตถุดิบทางตรง วัตถุดิบทางตรงที่ใช้ในการผลิตอาหารสัตว์ เช่น มันเส้น ข้าวโพด มะพร้าว กากปาล์ม รำหยาบ กากน้ำตาล แร่ธาตุ เป็นต้น คำนวณการใช้วัตถุดิบจากใบสั่งจ่ายวัสดุ แผนกอาหารสัตว์ หรือจากตารางแสดงการใช้วัตถุดิบผลิตอาหารสัตว์ ในช่วงระยะเวลาที่คำนวณหาต้นทุนการผลิตงวดนั้น ๆ
ค่าแรงงานทางตรง ได้แก่เงินเดือนและค่าจ้างของเจ้าหน้าที่แผนกผลิตอาหารสัตว์ ซึ่งใช้ข้อมูลทางบัญชีที่สหกรณ์บันทึกไว้ โดยนำมาจากสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไปในบัญชีเงินเดือนค่าแรงของฝ่ายผลิตอาหารสัตว์ที่เกิดขึ้นในระหว่างงวดที่คำนวณหาต้นทุนการผลิต
ค่าโสหุ้ยการผลิต (ค่าใช้จ่ายในการผลิต) ต้นทุนในการผลิตอาหารสัตว์ทั้งหมดที่นอกเหนือจากวัตถุดิบทางตรงและแรงงานทางตรง ซึ่งได้แก่ ของใช้สิ้นเปลือง วัตถุดิบทางอ้อม แรงงานทางอ้อม ค่าซ่อมแซมและดูแลรักษาค่าไฟฟ้า น้ำประปา ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรและอุปกรณ์ ค่าเสื่อมราคาโรงงาน ค่าเบี้ยประกันภัยโรงงานผลิตอาหารสัตว์ เป็นต้น ค่าโสหุ้ยการผลิตคำนวณจากบัญชีต่าง ๆ ที่จัดเป็นค่าใช้จ่ายในการผลิตอาหารสัตว์ ซึ่งบันทึกไว้ในสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป ในช่วงระยะเวลาที่คำนวณต้นทุนการผลิตนั้น
เมื่อคำนวณส่วนประกอบของต้นทุนการผลิตครบทั้ง 3 ส่วนแล้ว นำมาคำนวณต้นทุนการผลิตสำหรับงวดได้ดังนี้
วัตถุดิบทางตรง
แรงงานทางตรง
ค่าโสหุ้ยการผลิต
รวมต้นทุนผลิตระหว่างงวด
|
xxx
xxx
xxx
xxx
|
จากนั้นสามารถคำนวณต้นทุนการผลิตระหว่างงวดต่อหน่วยได้โดย นำต้นทุนการผลิตระหว่างงวดหารด้วยจำนวนหน่วยของอาหารสัตว์ที่ผลิตเสร็จในงวดนั้น ดังนี้
ต้นทุนการผลิตระหว่างงวดต่อหน่วย = ต้นทุนการผลิตระหว่างงวด
จำนวนหน่วยของอาหารสัตว์ที่ผลิตเสร็จในงวดนั้น
2 . ต้นทุนการผลิตวันสิ้นปีบัญชี
การคำนวณต้นทุนการผลิต ณ วันสิ้นปีนั้น จะต้องทำการตรวจนับวัตถุดิบผลิตอาหารสัตว์คงเหลือ และอาหารสัตว์สำเร็จรูป เพื่อใช้ประกอบการคำนวณต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์ และต้นทุนขายสินค้าที่เกิดขึ้นในแต่ละปี
วิธีการคำนวณต้นทุนการผลิตวันสิ้นปีบัญชี คำนวณจากส่วนประกอบทั้ง 3 ส่วน ของต้นทุนการผลิต เช่นเดียวกับการคำนวณต้นทุนการผลิตระหว่างงวด จะแตกต่างกันในส่วนของการตรวจนับวัตถุดิบและอาหารสัตว์สำเร็จรูปเหลือ และวิธีคำนวณต้นทุนการผลิตซึ่งคำนวณต้นทุนแต่ละประเภทได้ดังนี้
วัตถุดิบทางตรง วัตถุดิบทางตรงที่ใช้ในการผลิตอาหารสัตว์ คำนวณจากยอดวัตถุดิบอาหารสัตว์คงเหลือตามที่ตรวจนับได้ พร้อมกับตีราคาวัตถุดิบคงเหลือตามหลักเกณฑ์การตีราคาสินค้าคงเหลือที่กำหนดไว้ในระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ ว่าด้วยการบัญชีของสหกรณ์ พ.ศ. 2542 ซึ่งคำนวณได้ดังนี้
วัตถุดิบคงเหลือต้นปี
บวก ซื้อวัตถุดิบ
ค่าใช้จ่ายในการซื้อวัตถุดิบ
รวมวัตถุดิบที่มีไว้เพื่อผลิต
หัก วัตถุดิบคงเหลือสิ้นปี (ที่ตรวจนับได้)
ต้นทุนวัตถุดิบใช้ไป
|
xxx
xxx
xxx
xxx
xxx
|
แรงงานทางตรง ใช้เงินเดือนและค่าแรงงานของฝ่ายผลิตอาหารสัตว์ ตามที่บันทึกไว้ในสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป
ค่าโสหุ้ยการผลิต (ค่าใช้จ่ายในการผลิต) ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จัดเป็นค่าใช้จ่ายในการผลิตอาหารสัตว์ ได้แก่ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าซ่อมแซมเครื่องจักร ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง, น้ำมันเตา ค่าของใช้สิ้นเปลือง ค่าเบี้ยประกันภัยค่าใช้จ่ายตัดจ่าย ค่าใช้จ่ายกระสอบ ดอกเบี้ยจ่ายเงินกู้ ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรและอุปกรณ์ ค่าเสื่อมราคาโรงงาน
วิธีการคำนวณต้นทุนการผลิตที่เกิดจากต้นทุนทั้ง 3 ประเภท เป็นดังนี้
บวก ซื้อวัตถุดิบ
ค่าใช้จ่ายในการซื้อวัตถุดิบ
วัตถุดิบทั้งสิ้นที่มีไว้เพื่อผลิต
หัก วัตถุดิบคงเหลือสิ้นปี
วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
เงินเดือนและค่าจ้าง
ค่าโสหุ้ยการผลิต :
ค่าไฟฟ้า
ค่าน้ำประปา
ค่าซ่อมแซมเครื่องจักร
ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง, น้ำมันเตา
ค่าของใช้สิ้นเปลือง
ค่าเบี้ยประกันภัย
ค่าใช้จ่ายตัดจ่าย
ดอกเบี้ยจ่ายเงินกู้
ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรและอุปกรณ์
ค่าเสื่อมราคาโรงงาน
ต้นทุนการผลิต
|
xxx
xxx
xxx
xxx
xxx
xxx
xxx
xxx
xxx
xxx
xxx
xxx
xxx
xxx
xxx
xxx
xxx
|
วิธีการคำนวณต้นทุนการผลิตต่อหน่วยนั้น ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับการคำนวณต้นทุน การผลิตระหว่างงวดต่อหน่วย คือ
ต้นทุนการผลิตต่อหน่วย = ต้นทุนการผลิตทั้งสิ้น
จำนวนหน่วยของอาหารสัตว์ที่ผลิตได้
อนึ่ง การคำนวณต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์ต่อหน่วยนั้น คิดรวมถึงอาหารสัตว์ที่สูญเสียในระหว่างการผลิตไว้ด้วย สหกรณ์จะต้องคำนวณต้นทุนการผลิตที่สูญเสียโดยนำต้นทุนการผลิตต่อหน่วยคูณกับจำนวนที่สูญเสีย เพื่อนำเสนอขออนุมัติต่อที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการให้ถือเป็นสินค้าเสื่อมชำรุด นอกจากนี้สหกรณ์ควรทดสอบหาอัตราการสูญเสียไว้เป็นเกณฑ์มาตรฐานสำหรับการบริหารงานของสหกรณ์ต่อไป