จรรยาบรรณวิชาชีพ นักบัญชี

จรรยาบรรณวิชาชีพ นักบัญชี

จรรยาบรรณวิชาชีพ นักบัญชี หลัก ๆ ที่นักบัญชีจะต้องมี ก็คือเรื่องของความซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา มีการกำหนดจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพของนักบัญชี ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547

หลายคนอาจจะมองว่า อาชีพนักบัญชีนั้น เปรียบได้กับฟันเฟืองหนึ่งในองค์กรธุรกิจต่าง ๆ ที่ดูเหมือนจะไม่มีความสำคัญเท่าตำแหน่งอื่น ๆ มากเท่าไรนัก เพราะมีหน้าที่แค่ดูแลตัวเลขรายรับรายจ่ายขององค์กรเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ทั้งที่จริงแล้ว นักบัญชี เป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญจนถึงขั้นว่าขาดไม่ได้ ไม่ว่าองค์กรจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่เท่าไรก็ตาม นักบัญชีไม่ได้มีหน้าที่แค่คำนวณ หรือบันทึกรายรับรายจ่ายอย่างที่เข้าใจกันเพียงอย่างเดียว เพราะต้องมีการบันทึกทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการเงิน โดยเฉพาะเรื่องของเอกสารต่าง ๆ ซึ่งถ้าหากไม่มีการดำเนินงานในส่วนนี้ก็จะทำให้ผู้บริหารไม่สามารถวางแผนต่อไปได้ และมีโอกาสที่ธุรกิจจะประสบความล้มเหลวสูง เพราะฉะนั้น จรรยาบรรณวิชาชีพ นักบัญชี หลัก ๆ ที่นักบัญชีจะต้องมี ก็คือเรื่องของความซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ต้องมีการกำหนดจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพของนักบัญชีวิชาชีพให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ซึ่งมีรายละเอียดที่น่าสนใจดังต่อไปนี้ 

1 .ความซื่อสัตย์สุจริต ความซื่อสัตย์สุจริต เป็นหลักพื้นฐานที่ผู้ประกอบวิชาชีพนักบัญชีพึงมี เนื่องจากทุกสิ่งนั้นมีความเกี่ยวพันกับองค์กรทั้งหมด ซึ่งในส่วนนี้สามารถจำแนกข้อกำหนดออกเป็น 2 ข้อ คือ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ต้องปฏิบัติงานด้วยความสุจริต ไม่ว่าจะมีการขาดทุน ได้กำไร ก็จะต้องรายงานปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นให้กับผู้บริหาร เพื่อให้มีการวางแผนแก้ไขปัญหา หรือปรับกลยุทธ์ต่อไป ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ต้องปฏิบัติงานอย่างตรงไปตรงมา ไม่มีการปิดบัง ซ่อนเร้น หรือบิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อให้เกิดประโยชน์ส่วนตัว ถ้าหากมีการตรวจสอบพบว่าคนในโรงงานกำลังประพฤติผิดกฎหมาย ด้วยการโกงบัญชี หรือปัญหาอื่น ๆ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีจะต้องรายงานไปโดยตรงตามข้อเท็จจริง

2. ความเที่ยงธรรม ความเที่ยงธรรม หรือความเป็นกลางที่ไม่เอนเอียงไปฝั่งใดฝั่งหนึ่ง เพื่อให้เกิดผลประโยชน์บางประการจากการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ซึ่งใน จรรยาบรรณวิชาชีพนักบัญชี นี้ได้มีการจำแนกข้อกำหนดออกเป็น 3 ข้อ คือ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ต้องมีความเที่ยงธรรม ซื่อตรง โดยที่ไม่เข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสียใด ๆ จากหน้าที่ที่ตนให้บริการอยู่ ในส่วนของผลประโยชน์ ก็คือการรับค่าตอบแทนจากการให้บริการเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ไม่มีผลประโยชน์อื่นใดที่จะมาแอบแฝงอีก ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ต้องใช้ดุลพินิจของตัวเองในการพิจารณาเรื่องราวต่าง ๆ จากหลักฐานที่ปรากฏโดยปราศจากความลำเอียง หรืออคติส่วนบุคคล ในกรณีที่กระบวนการตัดสินใจบางอย่างที่มีต่อแนวความคิดของผู้บริหาร จะต้องได้รับการไตร่ตรองจากเหตุผลและหลักฐานที่มี โดยไม่นำอคติหรือความเอนเอียงมาใช้ โดยให้เน้นในเรื่องของผลประโยชน์ส่วนรวมมากที่สุด ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ต้องใช้ดุลพินิจของตัวเองในการพิจารณาเรื่องราวต่าง ๆ โดยไม่ยึดติดกับความสัมพันธ์กับบุคคลใด ๆ รวมถึงสถานการณ์ที่อาจทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ของตัวเองได้

3. ความรอบคอบ การทำงานที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขนั้น จะต้องมีความรอบคอบ และตรวจสอบเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดอยู่เสมอ เพราะถ้าหากผิดพลาดขึ้นแม้แต่จุดเดียวก็อาจสร้างความเสียหายให้กับองค์กรได้ ซึ่งในส่วนนี้สามารถจำแนกข้อกำหนดออกเป็น 4 ข้อ คือ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญ ประสบการณ์ และความรอบคอบในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มที่ เพราะถ้าหากผิดพลาดขึ้นมา อาจส่งผลต่อปัญหาขององค์กรในระยะยาว ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ต้องมีความสามารถเพียงพอในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ ในส่วนไหนที่พบปัญหาติดขัด ก็ควรที่จะปรึกษาผู้รู้ในสาขาอาชีพเดียวกัน รวมถึงการศึกษาหาความรู้ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ต้องให้บริการด้วยความขยันหมั่นเพียรอยู่เสมอ เพราะส่วนมากแล้วงานบัญชีเป็นงานที่ต้องทำแบบวันต่อวัน การทำงานไม่เสร็จภายในวันนั้น ๆ อาจทำให้แผนกอื่นไม่สามารถทำงานได้ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ต้องมีการศึกษาหาความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มเติมอยู่เสมอ เช่น การนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาประยุกต์ใช้กับการคำนวณบัญชี รวมถึงการศึกษาเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบัญชีเพิ่มเติม

4. รักษาความลับ เอกสารที่เกี่ยวข้องกับทางบัญชี ถือเป็นความลับทางธุรกิจอย่างหนึ่งที่ไม่ควรนำไปเปิดเผยให้สาธารณชนทราบโดยเด็ดขาด ซึ่งในส่วนนี้สามารถจำแนกข้อกำหนดออกเป็น 2 ข้อ คือ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ต้องไม่เปิดเผยความลับทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับองค์กรโดยที่ไม่ได้รับอนุญาต เว้นเสียแต่ว่าเป็นการหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบตามกฎหมายที่จำเป็นต้องเปิดเผย (การให้ปากคำ หรือการให้ถ้อยคำในฐานะพยาน เป็นต้น) ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ต้องไม่นำความลับที่เกี่ยวข้องกับองค์กร ไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนบุคคล หรือเพื่อผู้อื่นที่มีความสัมพันธ์ด้วย


5. การประพฤติตนอย่างมืออาชีพ การประพฤติตนอย่างมืออาชีพ หรือผู้ประกอบวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพนักบัญชี ด้วยการปฏิบัติตนในทางที่ชอบ รวมถึงการกระทำตามหลักกฎหมาย เป็นการรักษาชื่อเสียงให้กับวิชาชีพอย่างแท้จริง ซึ่งในส่วนนี้สามารถจำแนกข้อกำหนดออกเป็นดังนี้ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ต้องไม่กระทำการใด ๆ ที่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อวิชาชีพทั้งต่อตัวเองและส่วนรวม ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ต้องไม่ยินยอมให้ผู้อื่นอ้างชื่อว่าเป็นผู้ดูแลและปฏิบัติหน้าที่ทางวิชาชีพ หากไม่ได้เป็นผู้กระทำเองอย่างแท้จริง ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ต้องไม่นำเสนอการบริการและความสามารถของตนเองเกินความเป็นจริง โดยจะต้องไม่โอ้อวด พูดจาข่มผู้อื่น หรือเปรียบเทียบระหว่างตนเองกับนักบัญชีอื่น ๆ เพื่อให้ผู้ร่วมอาชีพดูด้อยลงไปทั้งที่ไม่ใช่เรื่องจริง

6. ความโปร่งใส การปฏิบัติงานด้วยความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ โดยไม่พยายามปิดบังซ่อนเร้นข้อมูลใด ๆ เป็นสิ่งที่นักบัญชีพึงกระทำ ซึ่งในส่วนนี้ได้มีการจำแนกข้อกำหนดออกเป็น 2 ข้อ คือ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี จะต้องปฏิบัติงานด้วยความโปร่งใส สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้เท่าที่ต้องการ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี จะต้องให้ผู้ที่มีผลกระทบจากการปฏิบัติหน้าที่ เข้ามาตรวจสอบดูข้อมูลที่จำเป็นได้ ซึ่งเป็นไปตามความเหมาะสมในแต่ละกรณี

7. ความเป็นอิสระ จรรยาบรรณวิชาชีพนักบัญชี การปฏิบัติงานด้วยความอิสระ ภายใต้กรอบวิชาชีพบัญชี จะทำให้ผลงานที่ออกมามีประสิทธิภาพ และเป็นที่น่าเชื่อถือโดยที่ไม่ต้องมีการตรวจสอบ ซึ่งในส่วนนี้ได้มีการจำแนกข้อกำหนดออกเป็น 2 ข้อ คือ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ต้องใช้ดุลพินิจของตัวเองในการปฏิบัติหน้าที่โดยอิสระ เพื่อไม่ให้ตกอยู่ใต้การครอบงำของผู้อื่นอันนำไปสู่เรื่องของผลประโยชน์ในภายหลัง ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี พึงไม่ปฏิบัติงานที่ขาดความเป็นอิสระ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเครื่องมือ หรือเสื่อเสียแก่วิชาชีพ

8. มาตรฐานการปฏิบัติหน้าที่ การปฏิบัติตนตามมาตรฐาน ด้วยการรวบรวมข้อมูล วางแผน และควบคุมงานเพื่อให้เป็นไปตามการปฏิบัติงานที่เหมาะสม เป็นอีกสิ่งที่มีความจำเป็น ซึ่งในส่วนนี้ได้มีการจำแนกข้อกำหนดออกเป็น 2 ข้อ คือ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีต้องให้บริการ โดยสอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพ และมาตรฐานวิชาการ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีต้องมีความรอบคอบ โดยสอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพ และมาตรฐานวิชาการ
9. ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ จรรยาบรรณวิชาชีพ นักบัญชี การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ จะส่งผลให้เกิดความน่าเชื่อถือ และเป็นประโยชน์ต่อองค์กรเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งในส่วนนี้ได้มีการจำแนกข้อกำหนดออกเป็น 2 ข้อ คือ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้รับบริการ ผู้บริการ และตำแหน่งอื่น ๆ ที่นักบัญชีจะต้องปฏิบัติงานให้ตรวจสอบ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ต้องมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ของตนเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือมาก ภายใต้กรอบการทำงานวิชาชีพ

ทั้ง 9 ข้อนี้ ล้วนเป็น จรรยาบรรณวิชาชีพ นักบัญชี ที่ดีที่จะต้องมีให้ครบ และปฏิบัติตามอย่างถูกต้องเคร่งครัด ดังนั้นนักบัญชีหรือผู้ที่ต้องการจะเป็นนักบัญชี จึงควรศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับจรรยาบรรณให้ดีก่อนเสมอ เพื่อให้กลายเป็นนักบัญชีมืออาชีพที่ประกอบการได้อย่างมีคุณภาพ 


บทความโดย : https://www.fiftt.com

 83000
Visitor
Get started for free today. Free Trial
Create a website for free Online Stores