บัญชีโคตรง่าย

บัญชีโคตรง่าย

1110 Items
ระยะแรก เริ่มตั้งแต่การจัดหาสินทรัพย์ ใช้ ในการดำเนินงาน ซึ่งจะต้องมีการทำงบประมาณสินทรัพย์ถาวร และมีการจัดซื้อที่มีการควบคุมภายในที่ดี และ เวลาที่เลิกใช้สินค้าทรัพย์นั้น ซึ่งจะต้องมีการขออนุมัติจำหน่ายและกำหนดวิธีการจำหน่าย
1411 Visitor
1 รับรู้และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแผนภูมิการจัดองค์การในหน่วยงานการบัญชีว่าสามารถตอบสนองต่อภารกิจได้มากน้อยเพียง 2 ควรกำหนดให้มีการจัดทำหน้าที่ความรับผิดชอบของงานในแต่ละตำแหน่งให้ชัดเจน จำนวนตำแหน่งงานต้องเพียงพอและเหมาะสม พิจารณาและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรายงานทางการบัญชีที่ทั้งหลายที่จะใช้ภายในองค์การสามารถตอบสนองต่อความต้องการของนักบริหารได้อย่างเพียงพอหรือไม่
1029 Visitor
นักจัดการทางบัญชี “เมื่อไรก็ตามลักษณะการดำเนินธุรกิจบนโลกเปลี่ยนไป การบัญชีก็เปลี่ยนตาม ไม่ว่าจะเป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี หรือการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เมื่อมีกิจกรรมทางการค้าเกิดขึ้น นักบัญชีก็มีบทบาทหน้าที่ในการบันทึก จัดการ สื่อสาร และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อสะท้อนข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมนั้นได้อย่างแท้จริง เพื่อสุดท้ายผู้บริหารหรือผู้เกี่ยวข้องจะได้ใช้ข้อมูลนั้นในการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ” ผศ.ดร.นฤนาถ ศราภัยวานิช หัวหน้าภาควิชาการบัญชีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้ความเห็นเกี่ยวกับบทบาทของนักบัญชีในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอาชีพหลายอาชีพกำลังได้รับผลกระทบจากเทคโนโลยีที่เข้ามา
1637 Visitor
สินทรัพย์ที่กิจการมีไว้เพื่อใช้งานมิได้มีไว้เพื่อขายหรือเปลี่ยนแปลงเป็นสินค้าที่จะขาย และเป็นสินทรัพย์ที่มีอายุการใช้งานเกินกว่า 1 ปี ได้แก่ ที่ดิน อาคาร เครื่องจักรเครื่องมือ เครื่องตกแต่งสำนักงาน อุปกรณ์สำนักงาน สุกรพ่อพันธ์ ุแม่พันธ์ ุในกิจการเลี้ยงสุกรเพาะพันธ์ขายลูกสุกร ฯลฯ
1475 Visitor
การทำงานในส่วนนี้ไม่ได้ใช้ความรู้ทางบัญชีอย่างเดียว ยังต้องรับรู้ทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับคนทุกฝ่าย เพราะบัญชีบริหารไม่ใช่แค่การเก็บข้อมูลรวบรวมเพื่อนำมาจัดทำงบการเงินเท่านั้น แต่เป็นการรายงานผลการดำเนินงานในหลายๆรูปแบบ ให้สะท้อนถึงประสิทธิภาพในการบริหารจัดการในภาพรวม แบบที่คนทั่วไปเข้าใจได้ง่ายและเห็นภาพได้ชัดเจน
4463 Visitor
บัญชีที่ทำกันโดยทั่วไป ได้แก่ บัญชีเงินเดือน (payroll) การออกใบกำกับสินค้า (invoice) บัญชีลูกหนี้ (account receivable) การรับเงิน (cash receipts) บัญชีเจ้าหนี้ (account payable) การพิมพ์เช็คและหักบัญชี (check writing and reconciliation) เป็นต้น การทำบัญชีเงินเดือนนั้น เดิมมักจะเป็นงานที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นงานแรกของธุรกิจต่างๆ เพราะจะได้ทดลองการใช้คอมพิวเตอร์ โดยไม่มีผลกระทบกระเทือนแต่อย่างใดกับลูกค้า เมื่อพนักงานคุ้นเคย และยอมรับการใช้คอมพิวเตอร์ จึงค่อยขยายงานไปด้านอื่นๆ ขั้นตอนแรกของการทำบัญชีเงินเดือนก็คือ การจัดทำแฟ้มข้อมูลหลักว่า มีใครเป็นพนักงานบ้าง อยู่ที่ใด อัตราเงินเดือนเท่าใด หักภาษีและอื่น ๆ เท่าใด ต่อจากนั้นทุกงวดจะต้องแจ้งให้คอมพิวเตอร์ทราบว่า มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอะไรหรือไม่ เช่น ผู้ใดเข้าหรือออก ผู้ใดทำงานนอกเวลา และผู้ใดลาหยุดเกินกำหนดจนต้องหักเงินเดือน แล้วคอมพิวเตอร์ก็จะคำนวณเงินเดือน เงินหักต่างๆ แล้วพิมพ์รายการ พิมพ์เช็ค และพิมพ์รายงานสรุปต่างๆ ได้
1806 Visitor
การจ่ายเงินจะต้องได้รับการอนุมัติจากหัวหน้าแผนกของแต่ละแผนกที่เกิดรายจ่ายเจ้าหนี้จะต้องตรวจสอบเอกสารต่าง ๆ ให้ถูกต้องและครบถ้วนก่อนทำใบสำคัญจ่ายและให้มีการหมุนเวียนสับเปลี่ยนหน้าที่บ้าง และกำาหนดอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจน
3940 Visitor
ในอดีต ภาพของนักบัญชีคือบุคคลที่ไม่ค่อยสมาคมกับใครเพราะวันทั้งวันเคร่งเครียดกับการ เดบิท เครดิต ตัวเลข บางครั้งใช้เวลาทั้งวันเพื่อจะควานหาตัวเลขที่ขาดหายจากบัญชีไปเพียงบาทสองบาท เพื่อให้ปิดงบลงตัว แต่ในวันนี้เมื่อรูปแบบของการทำบัญชีได้เปลี่ยนไปสู่ การบัญชีเพื่อการจัดการ ก็เลยส่งผลให้นักบัญชีมีพัฒนาการไปไกลจากจุดเดิมเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีการสำรวจความคิดเห็นของนักบัญชี ในสหรัฐอเมริกาและพบว่ามีการปรับตัวในด้านต่างๆ มากมาย จึงนำมาเล่าสู่กันฟัง ดังต่อไปนี้
5774 Visitor
รายงานทางการเงิน รายงานทางการเงินหรือที่รู้จักคุ้นเคยกันว่า “งบการเงิน” เป็นรายงานที่จัดทำตามรอบระยะเวลาบัญชี เพื่อแสดงถึงฐานะทางการเงินของกิจการ ณ วันสิ้นงวดและแสดงผลประกอบการของกิจการในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น รวมทั้งการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้อง ตามกฎหมายผู้บริหารต้องนำส่งงบการเงินปีละ 1 ครั้งให้แก่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ ข้อมูลที่นำส่งกระทรวงพาณิชย์นั้นถือเป็นข้อมูลสาธารณะ กิจการจึงต้องจัดทำรายงานทางการเงินโดยปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป
9455 Visitor
โปรแกรมบัญชีสำหรับผู้บริหารรุ่นใหม่ ผู้บริหารรุ่นใหม่จะใช้โปรแกรมบัญชีช่วยในการทำงาน โดยใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่บันทึกลงไปในโปรแกรม ถูกนำมาประมวลผลและสรุปเป็นรายงานเพื่อวางแผนในการดำเนินธุรกิจ ตัวอย่างเช่น อยากรู้ว่าเดือนสิงหาคม ของทุกปี ยอดขายของบริษัทฯ เราเป็นอย่างไร ก็สามารถเป็นเรียกดูข้อมูลยอดขายของเดือนสิงหาคม ของปีก่อนๆ ถ้ายอดขายในเดือนนี้ไม่ดี ก็จะวางแผนงานกระตุ้นการขายไว้ล่วงหน้า หรือ หากต้องการลงทุนในเดือนหน้า ก็จะดูยอดลูกหนี้คงค้างว่ามีใครบ้าง และมียอดค้างชำระอยู่เท่าไร รวมไปถึงยอดยอดค้างชำระที่ต้องชำระให้กับเจ้าหนี้มีใครบ้าง ยอดชำระเท่าไร คล้ายกับการพยากรณ์หรือคาดการเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น แต่มีข้อมูลที่ช่วยรองรับการตัดสินใจ ซึ่งจะช่วยให้แผนงานรัดกุมมากขึ้น การจะนำข้อมูลทางธุรกิจเหล่านี้มาช่วยในการดำเนินธุรกิจ คงจะไม่ใช่แค่เพียง 1-2 เดือน แต่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลย้อนหลังอย่างน้อย 2 ปี เพื่อใช้เปรียบเทียบกับปีปัจจุบัน หรือ ให้เห็นแนวโน้มของธุรกิจว่าเป็นอย่างไร การตัดสินใจนำ โปรแกรมบัญชี มาใช้ในวันนี้ ถือว่าเป็นการเริ่มต้นการสะสมข้อมูลอันมีค่าของธุรกิจที่ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ และ เป็นข้อมูลแห่งความเป็นจริงเฉพาะของกิจการเราเท่านั้นคนอื่นจะเอาไปใช้ก็ไม่ได้
1450 Visitor
193223 Visitor
Get started for free today. Free Trial
Create a website for free Online Stores