คำถามที่พบบ่อย FAQs

เรายินดีช่วยเหลือคุณหาคำตอบเกี่ยวกับการใช้งาน myAccount

สถานะ Cancel Invoice กับ Inactive ต่างกันอย่างไร ?

สถานะ Cancel Invoice กับ Inactive ต่างกันอย่างไร ?

Q:

สถานะ Cancel Invoice กับ Inactive ต่างกันอย่างไร?

A:

สถานะ Cancel Invoice กับ Inactive ต่างกันอย่างไร?

Cancel Invoice

Inactive

กรณีที่ผู้ประกอบการได้จัดทำเอกสารใบกำกับภาษี โดยมีรายการในเอกสารไม่ถูกต้องครบถ้วน เช่น ที่อยู่ไม่ถูกต้อง เลขประจำตัวผู้เสียภาษีไม่ครบ ฯลฯ ซึ่งต้องการยกเลิกเอกสารใบกำกับภาษีฉบับเดิม และจัดทำเอกสารใบกำกับภาษีฉบับใหม่ที่ถูกต้อง ให้ดำเนินการตามเงื่อนไข ดังนี้

(1)   เรียกคืนเอกสารใบกำกับภาษีฉบับเดิม และนำมาประทับตราว่า “ยกเลิก” หรือ “ขีดฆ่า” แล้วเก็บรวมไว้กับสำเนาเอกสารใบกำกับภาษีฉบับเดิม

(2)   จัดทำเอกสารใบกำกับภาษีฉบับใหม่ซึ่งต้องเป็นเลขที่เอกสารใหม่ แต่จะต้องลง วัน เดือน ปี ให้ตรงกับ วัน เดือน ปี ตามเอกสารใบกำกับภาษีฉบับเดิม

(3)   ให้ระบุหมายเหตุไว้ในเอกสารใบกำกับภาษีฉบับใหม่ว่า  “เป็นการยกเลิกและออกเอกสารใบกำกับภาษีฉบับใหม่แทนฉบับเดิมเลขที่... เล่มที่...” และหมายเหตุการยกเลิกเอกสารใบกำกับภาษีไว้ในรายงานภาษีขายของเดือนภาษีที่จัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ด้วย โดยผู้ประกอบการที่ขอให้ยกเลิกเอกสารใบกำกับภาษีฉบับเดิม และจัดทำฉบับใหม่ที่ถูกต้อง จะต้องถ่ายเอกสารใบกำกับภาษีฉบับเดิมที่ขอยกเลิกติดเรื่องไว้ด้วย

หมายเหตุ : คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.86/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 และมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่มีลักษณะเป็นรูปแบบเต็ม  ข้อ 25 (2) (3)

อ้างอิงจาก : http://www.rd.go.th/publish/3568.0.html

กรณีที่ผู้ประกอบการได้จัดทำเอกสารใบกำกับภาษี โดยมีรายการในเอกสารไม่ถูกต้องครบถ้วน เช่น ที่อยู่ไม่ถูกต้อง เลขประจำตัวผู้เสียภาษีไม่ครบ รายการสินค้าไม่ถูกต้อง ฯลฯ ซึ่งต้องการยกเลิกเอกสารใบกำกับภาษีฉบับเดิม และต้องการเก็บไว้เป็นหลักฐานในการยกเลิกเอกสารใบกำกับภาษี ให้ดำเนินการตามเงื่อนไข ดังนี้

(1)  เรียกคืนเอกสารใบกำกับภาษีฉบับเดิม และนำมาประทับตราว่า “ยกเลิก” หรือ “ขีดฆ่า” แล้วเก็บรวมไว้กับสำเนาเอกสารใบกำกับภาษีฉบับเดิม

(2)  ต้องทำการเปลี่ยนสถานเอกสารใบกำกับภาษีฉบับเดิมจาก “Open” เป็น “Inactive” เท่านั้น

(3)  ให้ระบุหมายเหตุไว้ในเอกสารใบกำกับภาษีฉบับเดิมว่า  “เป็นการยกเลิกและออกเอกสารใบกำกับภาษีเลขที่... เล่มที่...”

(4)  เอกสารใบกำกับภาษีฉบับเดิมที่มีสถานะ “Inactive” จะไม่แสดงในรายงานภาษีขาย, รายงานรายการรายวัน ฯลฯ

(5)  จัดทำเอกสารใบกำกับภาษีฉบับใหม่ซึ่งต้องเป็นเลขที่เอกสารใหม่ แต่จะต้องลง วัน เดือน ปี ให้ตรงกับ วัน เดือน ปี ตามเอกสารใบกำกับภาษีฉบับเดิม

  

  

ขั้นตอนการยกเลิกเอกสารขายเชื่อ ในโปรแกรม myAccount Cloud

1. ให้ผู้ใช้งานเข้าระบบ “Sales” > “ขายเชื่อ” ดังรูป

 

2. จากนั้นระบบจะแสดงหน้าจอรายการเอกสารขายเชื่อ ให้ผู้ใช้งาน “เลือกรายการขายเชื่อ ที่ต้องการยกเลิกการใช้งาน 1 รายการ” > “Action” > “Cancel Invoice” , “Inactive” ดังรูป

 

3. กรณีจะยกเลิกเอกสาร Cancel Invoice ระบบจะแสดง Pop – up เพื่อยืนยันการยกเลิกเอกสารขายเชื่อ ดังรูป

 

4. กรณีจะยกเลิกเอกสาร Inactive ระบบจะแสดง Pop – up เพื่อยืนยันการเปลี่ยนแปลงเอกสารขายเชื่อ

ดังรูป

 2191
Visitor

ติดต่อเรา

หากยังไม่พบคำตอบหรือมีข้อซักถามเพิ่มเติม สามารถติดต่อทีมงานสนับสนุนได้ที่

 

Get started for free today. Free Trial
Create a website for free Online Stores