หนี้และทุน บริหารสมดุลให้ดี

หนี้และทุน บริหารสมดุลให้ดี

    ไม่มีใครอยากทำงานแทบตาย แต่เงินที่ได้เอาไปใช้หนี้หมด... ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีคงเข้าใจประโยคนี้ดีกว่าใคร เพราะกว่าจะฝ่าฟันทำธุรกิจจนมีรายได้เข้ามาแต่ละก้อนนั้นเลือดตาแทบกระเด็น พอถึงสิ้นเดือนกลับต้องเอาเงินไปจ่ายดอกเบี้ยหมด สุดท้ายคนทำธุรกิจก็แทบจะไม่เหลืออะไร 

     การบริหารเงินในธุรกิจนอกจากกระแสเงินสดรับจ่ายในกิจการแล้ว เราต้องดูสัดส่วนระหว่างหนี้สินกับเงินทุนให้มีความพอดีกัน ซึ่งหาได้จากอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของ (Debt to Equity Ratio) หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า D/E Ratio เป็นอัตราส่วนที่แสดงว่าธุรกิจมีหนี้เป็นกี่เท่าของเงินทุน ค่าที่ได้ยิ่งสูงเท่าไหร่ก็แสดงว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์หนี้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอดมากเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจที่เวลาเราไปขอสินเชื่อแล้วธนาคารจะทำการพิจารณาอัตราส่วนนี้เป็นอันดับแรกๆ ซึ่งการคำนวณหา D/E Ratio นั้นทำได้ดังนี้



     หนี้สินรวม หมายถึง หนี้สินของธุรกิจที่มีทั้งหมด เช่น เจ้าหนี้การค้า หนี้สินทั้งหมดจากทุกสถาบันการเงิน และค่าใช้จ่ายค้างจ่ายอื่นๆ 

     ส่วนของเจ้าของรวม หมายถึง เงินลงทุนตั้งต้นที่เจ้าของให้บริษัทตอนจัดตั้งขึ้นซึ่งนั่นก็คือ ทุนเรือนหุ้น ส่วนเกิน(ส่วนต่ำ)ทุน กำไร(ขาดทุน)สะสม

 
     สำหรับค่า D/E Ratio ที่คำนวณได้นั้น จะสะท้อนถึงฐานะทางการเงินว่าเงินทุนหมุนเวียนที่ใช้ดำเนินธุรกิจนั้นมาจากหนี้สินหรือมาจากเงินลงทุนของเจ้าของ ถ้าค่าที่ได้ยิ่งสูง ก็แสดงว่าธุรกิจต้องพึ่งพาเงินกู้ยืมมาก ย่อมมีภาระต้องจ่ายดอกเบี้ยมาก เท่ากับว่ากัดฟันสู้ทำธุรกิจมาเท่าไหร่ก็เอาไปใช้หนี้หมดเลย จึงมีความเสี่ยงสูงที่ธุรกิจจะเจ๊ง แต่หากค่าที่คำนวณได้มีค่าน้อย แสดงว่าธุรกิจดำเนินงานจากเงินทุนของเจ้าของ ถ้ากู้เงินทำธุรกิจ ก็กู้แค่พอประมาณ จึงมีภาระต้องจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นน้อย กำไรที่หามาได้ก็เอามาต่อยอดทำธุรกิจได้ 

     จากตัวอย่างจะคำนวณได้ D/E Ratio = 4.79 เท่า หรือประมาณ 5 เท่า แปลว่าบริษัทมีหนี้สินมากกว่าเงินทุนถึง 5 เท่า ซึ่งถือว่าค่อนข้างสูง เพราะบริษัทใช้เงินกู้จำนวนมากมาดำเนินธุรกิจ ดอกเบี้ยจึงเบ่งบานเป็นเงาตามตัว เท่ากับว่าทำงานใช้หนี้หมด ไม่เหลือกำไร

     อย่างไรก็ดี D/E Ratio ไม่ได้มีค่ากำหนดที่แน่นอนตายตัวว่าเท่าไหร่ถึงจะดี เพราะแต่ละธุรกิจแต่ละอุตสาหกรรมมีธรรมชาติในการทำธุรกิจที่ไม่เหมือนกัน ทำให้ความเหมาะสมของค่า D/E Ratio ที่ได้นั้นแตกต่างกัน  นอกจากนี้การคำนวณหา D/E Ratio ในแต่ละปี ก็จะช่วยให้ธุรกิจเห็นแนวโน้มความเสี่ยงทางการเงินของตัวเองว่าเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใดบ้าง รู้อย่างนี้แล้วผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ไม่อยากก้มหน้าก้มตาทำงานใช้หนี้ ก็ต้องให้บริหารสัดส่วนของหนี้สินกับส่วนของเจ้าของให้สมดุลกันนั่นเอง

บทความโดย:kasikornbank

 936
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์