การจัดให้มีสวัสดิการพนักงานต้องจัดอย่างไร ให้สรรพากรยอมรับ

การจัดให้มีสวัสดิการพนักงานต้องจัดอย่างไร ให้สรรพากรยอมรับ

 การวางแผนภาษีเกี่ยวกับสวัสดิการพนักงาน จะต้องเข้าใจเงื่อนไขและองค์ประกอบของความหมายของคำว่า สวัสดิการ ในมุ่งมองตามประมวลรัษฎากรเสียก่อน  สวัสดิการที่นายจ้างมีให้กับพนักงานนั้น เพื่อให้ลูกจ้างมีชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ในการทำงานดีขึ้น สะดวกสบายมากขึ้น แต่ต้องเป็นไปตามกฎหมายแรงงานจะถือเป็นหลักฐานทางภาษีอากร เพื่อใช้หักเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้ จะต้องมีองค์ประกอบครบ 3 ข้อดังต่อไปนี้

  1. สวัสดิการต้องมีระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ ออกมาให้แก่ลูกจ้าง
  2. สวัสดิการนั้นต้องไม่เลือกปฏิบัติ เป็นสวัสดิการที่ให้แก่พนักงาน หรือ  ลูกจ้างทุกคน ซึ่งไม่เท่ากันก็ได้แต่ต้องได้ทุกคน
  3. ต้องเกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ทำให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจ

   ต้องครบองค์ประกอบทั้ง 3 ประการ สวัสดิการดังกล่าวจึงจะถือเป็นรายจ่ายของกิจการ นำมาคำนวณ กำไรสุทธิของกิจการได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร

สวัสดิการพนักงาน กับ รายจ่ายส่วนตัว

     การที่นายจ้างได้ให้สวัสดิการแก่พนักงาน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการพนักงาน ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ไม่ต้องห้ามตามประมาลรัษฎากรและหากมีภาษีซื้อเกิดขึ้นจากค่าสวัสดิการพนักงาน ดังกล่าว ก็สามารถเครดิตภาษีซื้อหรือขอคืนได้ แต่สวัสดิการดังกล่าวจะถือเป็นรายจ่ายของกิจการได้จะต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการดังนี้

  1. ต้องมีระเบียบกำหนดไว้เป็นสวัสดิการพนักงาน
  2. ต้องให้แก่พนักงานทุกคนโดยไม่เลือกปฏิบัติ
  3. ต้องเกี่ยวข้องกับกิจการที่มีผลต่อการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่พนักงาน

หากไม่เข้าเงื่อนไขทั้ง 3 ประการแล้ว ไม่ถือว่าเป็นสวัสดิการพนักงาน แต่ถือว่าเป็นรายจ่ายส่วนตัวให้โดยเสน่หา ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามของกิจการ มาตรา 65 ตรี(3)

 

 

ข้อแตกต่างระหว่าง สวัสดิการพนักงาน กับ รายจ่ายส่วนตัว

 สวัสดิการพนักงาน

รายจ่ายส่วนตัว

1. มีระเบียบกำหนด

1.ไม่มีระเบียบเขียนไว้

2.ไม่เลือกปฏิบัติกับพนักงาน

2. เลือกปฏิบัติหรือเฉพาะเจาะจง

3. เกี่ยวข้องกับกิจการ

3. ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการ

บทความโดย : นายชาญชัย ภูรินันท์ศรี
ที่มา  :  www.ThaiTaxINFO.com

 2309
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์