หุ้นพื้นฐานดีดูอย่างไร และควรจะมีลักษณะอย่างไร

หุ้นพื้นฐานดีดูอย่างไร และควรจะมีลักษณะอย่างไร

หุ้นพื้นฐานดีดูอย่างไร และควรจะมีลักษณะอย่างไร

หุ้นพื้นฐานดีดูอย่างไร และควรจะมีลักษณะอย่างไร

       ในยุคสมัยนี้การเก็บเงินในหุ้นได้รับการสนใจกันมากขึ้น เพราะการฝากเงินไว้กับธนาคารให้ผลตอบแทนน้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อ ตลาดหุ้นจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะตลาดหุ้นให้อัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ แต่หุ้นในตลาดหุ้นก็มีอยู่มากมายเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราควรฝากเงินไว้กับหุ้นตัวไหน เพราะถ้าหากฝากเงินไว้กับหุ้นที่มีพื้นฐานไม่ดีก็อาจประสบปัญหาขาดทุนได้ ในบทความนี้เราจึงจะมาพูดถึง 8 ลักษณะของหุ้นพื้นฐานดี ดังนี้


 

1. ธุรกิจมีความได้เปรียบทางด้านการแข่งขันสูง

         หุ้นพื้นฐานดีจะต้องมีความได้เปรียบทางด้านการแข่งขัน ในการวิเคราะห์ความได้เปรียบทางด้านการแข่งขัน สามารถวิเคราะห์ได้ด้วยองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น การวิเคราะห์หาจุดแข็งของกิจการ ซึ่งจะมีตัวอย่างการวิเคราะห์ดังนี้
         1. อุปสรรคในการเข้ามาแข่งขันในอุตสาหกรรม              
             คือ จะต้องพิจารณาว่าธุรกิจที่กิจการนั้นทำอยู่คู่แข่งสามารถเข้ามาทำได้ง่ายหรือไม่ เช่น ในธุรกิจสื่อสารการที่จะมีคู่แข่งเข้ามาเพิ่มขึ้นนั้นเป็นไปได้ยาก เพราะในธุรกิจประเภทนี้จะต้องใช้เงินทุนในการลงทุนที่ค่อนข้างสูง ทำให้น้อยคนที่จะสามารถเข้ามาลงทุนได้ เป็นต้น

          2. ความแข็งแกร่งของแบรนด์
               หากธุรกิจที่หุ้นตัวนั้นทำอยู่ มีแบรนด์เป็นที่ยอมรับของตลาดก็ถือว่าเป็นจุดแข็งของหุ้นตัวนั้นด้วย เช่น ในธุรกิจน้ำยาบ้วนปากยี่ห้อที่คนส่วนใหญ่นึกถึงก็คือ listerine เพราะเป็นสิ้นค้าที่มีมาอย่างยาวนานและได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าและเกิดเป็นลูกค้าประจำส่งผลทำให้กิจการมีความได้เปรียบทางด้านการแข่งขัน
     
          3. สินค้ามีความต้องการสูง
               หากหุ้นที่คุณสนใจอยู่ขายสินค้าที่ตลาดมีความต้องการสูงหรือเป็นสินค้าที่หาสิ่งอื่นมาทดแทนได้ยาก กิจการจะมีความแข่งแกร่งสูง เพราะกิจการจะสามารถผลักภาระค่าใช้จ่ายหรือต้นทุน ไปให้ผู้บริโภคได้มากทำเพราะผู้บริโภคมีทางเลือกน้อยจึงยอมจ่าย เช่น ธุรกิจสนามบิน,รถไฟฟ้า,น้ำมัน เป็นต้น



2. มียอดขายหรือรายได้โตต่อเนื่อง

          หุ้นที่มีพื้นฐานดีควรจะมียอดขายโตต่อเนื่อง การที่ยอดขายโตต่อเนื่องนั้นสินค้าที่กิจการขายอยู่นั้น เป็นที่ต้องการของตลาด หรือบอกถึงความสามารถของการบริหารงานที่สามารถแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดจากคู่แข่งมาได้ทำให้มองเห็นถึงความได้เปรียบทางด้านการแข่งขันอีกด้วย
          แต่ถ้าหุ้นตัวไหนมียอดการขายสินค้าและบริการต่ำลงให้หลีกเลี่ยงหุ้นตัวดังนั้น เพราะมันหมายถึงกิจการเสียความสามารถในการแข่งขันโดนคู่แข่งแย่งลูกค้าไป หรืออุตสาหกรรมที่กิจการทำอยู่เข้าสู่ช่วงอิ่มตัว ตลาดมีความต้องการสินค้าน้อยลงเป็นต้น
 

3. มีกำไรสม่ำเสมอ

         หุ้นพื้นฐานดีควรจะมีกำไรต่อเนื่องมากกว่า 3 ปี ขึ้นไป แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการบริหารงาน ทั้งในด้านการควบคุมต้นทุนการผลิตและทางด้านการตลาด
         การดูกำไรที่เกิดขึ้นในงบการเงินจะต้องดูด้วยว่ากำไรของกิจการเกิดจากอะไร ผลกำไรที่เกิดขึ้นจะต้องเป็นกำไรที่เกิดจากการขายสินค้าและบริการหลักของกิจการจึงจะเป็นผลดีในระยะยาว เพราะในบางครั้งกิจการก็จะมีกำไรจากการขายเครื่องจักรหรือสินทรัพย์ต่างๆ ซึ่งเป็นรายได้ที่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำ

 

4. หนี้สินต้องไม่เยอะมาก

         คำว่าหนี้สินไม่ใช่ว่าไม่ดีเสมอไป เพราะหนี้สินก็มีส่วนช่วยในการเพิ่มสภาพคล่องให้กับกิจการ แต่มีมากไปก็ไม่ดีเพราะการนำเงินที่มีหนี้สินมาใช้ในการดำเนินงานมากๆ จะมีผลทำให้ต้นทุนสูงขึ้นเพราะจะต้องเสียค่าดอกเบี้ยด้วย
        ในการดูหนี้สินส่วนใหญ่จะใช้
อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน โดยจะต้องมีน้อยกว่าหนึ่งเท่าหรือไม่เกินสองเท่า และหุ้นที่มีพื้นฐานดีจะต้องไม่มีการกู้ยืมหนี้ระยะสั้นมาใช้หนี้ระยะยาว
 

5. กำไรสะสมเพิ่มต่อเนื่อง

         หุ้นพื้นฐานดีจะต้องมีกำไรสะสมเพิ่มอย่างต่อเนื่อง กำไรสะสม คือเงินส่วนที่กิจการสามารถนำไปลงทุนต่อยอดทำให้กิจการเติบโตได้ และกำไรสะสมยังสามารถนำมาจ่ายเป็นเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นได้ด้วย
 

6. มีสภาพคล่องที่ดี มีเงินทุนหมุนเวียนดี

         หุ้นพื้นฐานดีจะต้องมีสภาพคล่องที่ดีด้วย เพราะสภาพคล่องจะบอกถึงความสามารถในการชำระหนี้สิน หรือค่าสินค้าต่างๆ หากสภาพคล่องไม่ดีก็จะส่งผลให้ด้านกระบวนการดำเนินงานต่างๆหลายด้าน เช่น กระบวนการผลิต เพราะจะไม่สามารถนำเงินไปจ่ายค่าวัตถุดิบได้ทันเวลา เป็นต้น
 

7. ควบคุมต้นทุนได้ดี

         การคบคุมต้นทุน ถือเป็นสิ่งสำคัญในด้านการทำธุรกิจ เพราะถ้ากิจการสามารถควบคุมต้นทุนได้ดี ก็จะสามารถทำกำไรได้มากและยังมีความได้เปรียบทางด้านการแข่งขันอีกด้วย เช่น หากในการแข่งขันจำเป็นต้องใช่กลยุทธในด้านราคาเพื่อแย่งชิงลูกค้า ก็จะสามารถลดราคาได้มากกว่าคู่แข่ง เป็นต้น
 

8. ผู้บริหารต้องมีความโปร่งใส

         หุ้นที่ดีจะต้องมีผู้บริหารที่มีความโปร่งใส ผู้ลงทุนจะต้องเช็คประวัติของผู้บริหารด้วย เพราะผู้บริหารบางคนอาจจะไม่ถนัดด้านการบริหารงาน แต่จะถนัดในด้านการทำราคาหุ้น โดยการตกแต่งงบการเงิน หรือเปลี่ยนนโยบายบัญชี เพื่อให้งบออกมามีผลกำไร ทำให้นักลงทุนเข้าใจผิดได้ เป็นต้น
 
http://doithai.com/article/122
 1650
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์