วางแผนมรดก

วางแผนมรดก

พูดถึง “การวางแผนมรดก” หลายคนคงส่ายหน้าหนี ไม่เคยคิดที่จะวางแผนมรดกเลยสักครั้ง เพราะคิดว่าเป็นเรื่องของคนรวย คิดว่าตัวเองมีทรัพย์สินไม่มากนักจะทำไปทำไมให้เสียเวลา หรือไม่ก็คิดว่าเป็นการแช่งตัวเอง ความคิดเหล่านี้ถือเป็นทัศนคติที่ไม่ถูกต้อง ลองปรับทัศนคติเสียใหม่.... ไม่ใช่แค่คนรวยที่มีทรัพย์สมบัติเงินทองมากๆ
หากใครยังมึนๆ งงๆ ไม่รู้จะเริ่มต้นตรงไหนดี ลองเริ่มจากการติดตามทรัพย์สินและหนี้สินของคุณที่กระจัดกระจายอยู่ตามแหล่งต่างๆ ให้มารวมอยู่แหล่งเดียวกัน โดยการจดบันทึกไว้ว่าตนเองมีทรัพย์สินและหนี้สินอะไร? เป็นจำนวนเท่าไหร่? อยู่ที่ไหน? เพื่อให้เป็นระบบระเบียบและสะดวกตอนทำพินัยกรรมมากยิ่งขึ้น
ที่ต้องกล่าวถึงหนี้สิน เพราะหนี้สินก็อยู่ในข่ายที่จะเป็นมรดกตกทอดถึงทายาทได้เช่นเดียวกับทรัพย์สิน ดังนั้น คุณจึงควรระบุไว้ด้วยว่า... คุณมีหนี้สินอยู่ที่ไหน? รวมเป็นเงินเท่าไหร่? เพื่อจะได้นำเงินในกองมรดกมาชำระหนี้สินให้เรียบร้อยก่อนแบ่งสรรปันส่วนกัน
จากนั้นก็มาถึงขั้นตอนการทำ “พินัยกรรม” โดยพินัยกรรมถือเป็นคำสั่งเสียครั้งสุดท้าย เพื่อให้แน่ใจว่า... ทรัพย์สินจะถูกส่งต่อหรือถ่ายโอนไปยังบุคคลที่คุณ
ข้อมูลหลักๆ ที่ต้องระบุในพินัยกรรมประกอบไปด้วย... ข้อมูลส่วนตัว (ชื่อ นามสกุล อายุ ฯลฯ) รายการทรัพย์สินต่างๆ (ที่ดิน บ้าน ใบหุ้น เงินฝากต่างๆ ฯลฯ) กรมธรรม์ประกัน (ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ฯลฯ) รายชื่อผู้รับมรดก ผู้จัดการมรดก จำนวนทรัพย์สินที่ต้องการจัดสรรให้แต่ละคน ลายมือชื่อ และวันเดือนปีที่ทำพินัยกรรม
การทำพินัยกรรมสามารถทำได้หลายแบบ ก่อนทำพินัยกรรม... 
คุณควรศึกษาวิธีการจัดทำพินัยกรรมหรือปรึกษานักกฎหมายเพื่อให้พินัยกรรมของคุณมีผลบังคับใช้ได้ตามกฎหมาย แต่หากคุณต้องการทำพินัยกรรมแบบที่ง่ายและซับซ้อนน้อยที่สุด คุณก็เพียงเขียนพินัยกรรมด้วยลายมือคุณเองทั้งฉบับว่าคุณมีทรัพย์สินใดบ้าง ระบุให้ละเอียดว่าต้องการยกอะไรให้กับใคร พร้อมลงลายมือชื่อกำกับไว้ด้วย พินัยกรรมแบบนี้ไม่มีรูปแบบมาตรฐานและไม่จำเป็นต้องมีพยาน แต่เพื่อป้องกันการโต้แย้งว่าพินัยกรรมนี้คุณเป็นผู้เขียนขึ้นเองจริงหรือไม่ ก็ควรมีพยานยืนยันว่าพินัยกรรมนี้ถูกเขียนขึ้นโดยคุณจริง ซึ่งพยานต้องไม่มีส่วนได้เสียและไม่เป็นผู้รับมรดกดังกล่าว
เมื่อทำพินัยกรรมแล้ว... คุณควรปรับปรุงแก้ไขข้อมูลในพินัยกรรมให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
อย่างน้อยก็ทุกๆ 3 - 5 ปี เพื่อให้แน่ใจว่าพินัยกรรมของคุณจะถูกนำไปปฏิบัติตามเจตนารมย์ของคุณ ณ ขณะนั้นๆ มีหลายคนที่ทำพินัยกรรมเสร็จแล้วเก็บซ่อนไว้อย่างดี ไม่เคยหยิบมา Update เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป เช่น มีทรัพย์สินเพิ่ม มีลูกเพิ่ม หรือหย่าร้าง ฯลฯ
สิ่งสำคัญอีกอย่างที่ลืมไม่ได้เด็ดขาด คือ
คุณควรบอกให้คู่สมรสหรือบุคคลใกล้ชิดที่ไว้ใจได้ทราบว่าพินัยกรรมฉบับล่าสุดของคุณจัดทำขึ้นเมื่อไร และเก็บไว้ที่ใด รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับรหัสตู้เซฟ หรือกุญแจตู้ที่เก็บเอกสารสำคัญต่างๆ เช่น กรมธรรม์ประกันชีวิต สมุดเงินฝาก ใบหุ้น โฉนดที่ดิน ฯลฯ เพื่อให้พวกเขาเหล่านั้นสามารถนำพินัยกรรมและเอกสารต่างๆ ของคุณมาดำเนินการต่อไปได้
กรณีที่คุณจากไปโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมทิ้งไว้ หรือมีพินัยกรรมแต่หาไม่พบ ทรัพย์สินของคุณจะถูกจัดสรรให้แก่ทายาทตามลำดับและตามสัดส่วนที่กฎหมายกำหนด ดังนี้
  • บุตรและคู่สมรส
  • บิดา มารดา
  • พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
  • พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
  • ปู่ ย่า ตา ยาย
  • ลุง ป้า น้า อา
ฉะนั้น ทางออกที่ดีที่สุดในการจัดการกับทรัพย์สมบัติของคุณ ไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตาม คือ รู้จักวางแผนมรดกและใช้พินัยกรรมเป็นเครื่องมือ“คุมเกม” เพราะถึงแม้จะเสียชีวิต แต่คุณยังมีสิทธิคุมเกมการเงินได้ตามกฎหมาย จะยกอะไรให้กับใครก็ได้ี้
ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยมีการจัดเก็บภาษีมรดกตาม พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 โดยผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดก คือ ผู้รับมรดกที่ได้มรดกสุทธิหลังหักภาระติดพันต่างๆ แล้ว เช่น ภาระจำนอง ฯลฯ จากเจ้ามรดกแต่ละรายในคราวเดียวหรือหลายคราว ให้เสียภาษีเฉพาะมูลค่ามรดกสุทธิส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท ในอัตราภาษีร้อยละ 10 แต่ถ้าผู้ได้รับมรดกเป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานก็ให้เสียภาษีในอัตราภาษีร้อยละ 5 ไม่คำนึงถึงจำนวนครั้ง หรือ จำนวนหน่วยของทรัพย์มรดกที่ได้รับ โดยทรัพย์มรดกที่ต้องเสียภาษีต้องเป็นสิ่งของที่มีทะเบียน ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์ หลักทรัพย์ เงินฝาก ยานพาหนะ และทรัพย์สินทางการเงินอื่นๆ ที่กฎหมายกำหนด
 
ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดก ได้แก่
  • บุคคลที่มีสัญชาติไทย (บุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล)
  • บุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทย แต่มีถื่นที่อยู่ในประเทศไทยหรือได้รับทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย
ผู้มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีการรับมรดก ได้แก่่
  • ผู้ที่ได้รับมรดกจากเจ้ามรดกที่ตายก่อนวันที่กฎหมายใช้บังคับ
  • คู่สมรสของเจ้ามรดก
  • บุคคลผู้ได้รับมรดกที่เจ้ามรดกแสดงเจตนาหรือเห็นได้ว่ามีความประสงค์ให้ใช้มรดกนั้นเพื่อประโยชน์ในกิจการศาสนา กิจการศึกษา หรือกิจการสาธารณประโยชน์
  • หน่วยงานของรัฐและนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในกิจการศาสนา กิจการศึกษา หรือกิจการสาธารณประโยชน์
  • บุคคลหรือองค์การระหว่างประเทศตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ต่อองค์การสหประชาชาติหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือตามสัญญาหรือตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกันกับนานาประเทศ

(ที่มา: พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558)
 
 1432
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์