• หน้าแรก

  • BLOG myAccount Cloud

  • เมื่อรัฐทยอยเปิดเมืองในวิกฤตโควิด-19 ไทยจะอยู่กับความเปลี่ยนแปลงนี้อย่างไร?

เมื่อรัฐทยอยเปิดเมืองในวิกฤตโควิด-19 ไทยจะอยู่กับความเปลี่ยนแปลงนี้อย่างไร?

  • หน้าแรก

  • BLOG myAccount Cloud

  • เมื่อรัฐทยอยเปิดเมืองในวิกฤตโควิด-19 ไทยจะอยู่กับความเปลี่ยนแปลงนี้อย่างไร?

เมื่อรัฐทยอยเปิดเมืองในวิกฤตโควิด-19 ไทยจะอยู่กับความเปลี่ยนแปลงนี้อย่างไร?

        การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่อง หลายฝ่ายคาดว่าจะลากยาวไปอย่างน้อย 2-3 ปี ล่าสุดหลายประเทศรวมถึงไทยเริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ เปิดให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาแล้ว แล้วเศรษฐกิจไทยจะเป็นอย่างไร 

เมื่อเศรษฐกิจไทยปี 2563 ติดลบทุกไตรมาสเพราะโควิด-19 จุดสิ้นสุดอยู่ตรงไหน 

        สมประวิณ มันประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานวิจัย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยลากยาวตลอดปี 2563 ทางฝ่ายวิจัยกรุงศรีฯ ประเมินว่า GDP ไทยปีนี้จะติดลบ 5% GDP ทุกไตรมาสจะติดลบ (รวมผลมาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ของรัฐบาลทั้งหมดแล้ว) โดยจะติดลบมากที่สุดในช่วงไตรมาส 2 ปี 2563 เพราะคาดว่าการติดเชื้อจะเข้าสู่จุดสูงสุดในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม ซึ่งแม้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่จะน้อยลง แต่การระบาดและการลดกิจกรรมทางเศรษฐกิจยังคงมีอยู่ 

        ทั้งนี้เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบสูงเพราะโครงสร้างของไทยเชื่อมโยงกับประเทศที่หยุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันยังมีการผลิตและสัดส่วนการท่องเที่ยวสูง ทำให้ได้รับผลกระทบแรง โดยฝ่ายวิจัยกรุงศรีฯ มองว่าสถานการณ์จะปรับตัวดีขึ้นในไตรมาส 3 โดยไตรมาส 4 ปี 2563 คาดว่าจะติดลบน้อยลง

มาตรการรัฐเพียงพอหรือยัง 

        ทั้งนี้มาตรการช่วยเหลือสำคัญๆ ของภาครัฐที่ออกมามีทั้งการให้สภาพคล่องกลุ่มลูกจ้าง ผู้มีอาชีพอิสระ และผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ผ่านเงินให้เปล่า ผ่านการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) รวมถึงการสร้างความเชื่อมั่นในตลาดการเงิน 

        “มองว่ามาตรการที่ออกมาครบแล้ว แต่จำนวนที่ออกมาเพียงพอไหมยังตอบยาก เพราะต้องดูว่าผลกระทบจะบาดลึกแค่ไหน มาตรการรัฐบาลที่ออกมาเป็นมาตรการประคองเศรษฐกิจ แต่ไม่ใช่การกระตุ้นเศรษฐกิจ และวันนี้ต้องยอมรับว่าข้อจำกัดในการทำนโยบายการเงินมีน้อยกว่านโยบายการคลังที่ต้องกู้เงินเพิ่ม”

        ในช่วงที่ตลาดการเงินทำงานไม่ปกติ เมื่อความเสี่ยงเพิ่มขึ้น คนกังวลและไม่ปล่อยกู้ ดังนั้นหากในช่วงวิกฤต บริษัทที่เจอปัญหาชั่วคราวจากวิกฤตอาจต้องการสภาพคล่องมากกว่าปกติ แต่หากไม่มีสภาพคล่องมาสนับสนุนก็อาจสร้างความเสียหายต่อเนื่องได้ 

        ทั้งนี้ธนาคารกลางสามารถช่วยเหลือให้สถานการณ์เป็นปกติมากขึ้น จึงคาดหวังการเห็นนโยบายการเงินเพิ่มเติมทั้งรูปแบบการซื้อสินทรัพย์และตราสารหนี้ ซึ่งปัจจุบันธนาคารกลางหลายประเทศทำอยู่ เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป ซึ่งทำเพื่ออัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบมากขึ้น ในส่วนของประเทศไทยยังมีกระสุนที่จะทำนโยบายเพิ่มเติมได้ แต่ยังต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

        ส่วนมาตรการช่วยเหลือแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ไทยควรมีกลไกช่วยเหลือผู้ประกอบการเพื่อรักษาการจ้างงานและไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำซ้อน ยกตัวอย่าง ประเทศเยอรมนีที่มีระบบสวัสดิการการจ้างงานดีตั้งแต่วิกฤตซัพไพรม์ถึงวันนี้ มีระบบแบ่งความรับผิดชอบในการเลิกจ้างระหว่างเอกชนและรัฐ

        “ถ้าเอกชนมีปัญหาเชิงวัฏจักร ไม่ใช่เชิงโครงสร้าง สามารถเดินเข้ามาขอเงินสมทบจากภาครัฐเพื่อชะลอการเลิกจ้าง ซึ่งตัวบริษัทต้องแข่งขันได้ ยังอยู่ในอุตสาหกรรมที่เติบโต แต่อาจจะเจอปัญหาอื่นเข้ามาแทรก เช่น ปิดประเทศ ฯลฯ ซึ่งไทยยังไม่มีกลไกน้ี มีเพียงประกันสังคมที่จ่ายเงินในวงเงินจำกัด ต่างจากของเยอรมนีที่จะจ่ายให้ตามเงินเดือน” 

        อย่างในไทยเคยเกิดปัญหาแรงงานหลังจากวิกฤตซับไพรม์คือเห็นโรงงานไทยปลดคนงานออกหมด แต่เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวเร็วใน 1 ปี ปัญหาเมื่อกลับมาคือไม่มีแรงงานได้ทันเวลา ดังนั้นนโยบายการรักษาอัตราการจ้างงานหรือการชะลอการเลิกจ้าง อาจจะมีการลดงานหรืออื่นๆ อาจจะช่วยลดการเกิด Second-round Effect 

ทางออกหลังโควิด-19 ไทยต้องสร้างกลไกรับความเสี่ยง

        การรับมือวิกฤตคือต้องเรียนรู้บทเรียนจากวิกฤตครั้งนี้ให้มากที่สุด เพื่อจะเตรียมตัวและสร้างระบบหรือกลไกในการที่จะประสานงานเพื่อลดความเสียหายต่อภาพรวม ซึ่งกลไกที่ออกแบบจะต้องมีการปรับเปลี่ยนตามปัจจัยและยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง เช่น

  • การออกแบบโมเดล Risk Sharing เพราะความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น การให้สภาพคล่องกลับสู่ระบบผ่านผู้ประกอบการในช่วงวิกฤตทำได้ยากขึ้น จึงต้องการรูปแบบการแชร์ความเสี่ยง เช่น ธนาคารจะกล้าให้สินเชื่อผู้ประกอบการในช่วงวิกฤตได้มากขึ้น เพื่อประคับประคองให้องค์กรที่ได้รับผลกระทบชั่วคราวสามารถไปต่อได้

  • นโยบาย Policy Space ต้องทำเชิงคุณภาพมากกว่าเชิงปริมาณ ปัจจุบันการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายหรือหว่านสภาพคล่องในทุกจุดไม่สามารถช่วยเหลือเศรษฐกิจได้เท่าการเจาะความช่วยเหลือให้ตรงจุด ตรงคน ซึ่งอาจจะใช้ระบบเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการคัดกรองและส่งนโยบายได้ตรงจุด

ที่มา : Link

รวมบทความบัญชีมากถึง 1,000 : https://www.myaccount-cloud.com/Article/List/1612



 919
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์