ฐานภาษี (TAX BASE) 4 ประเภท

ฐานภาษี (TAX BASE) 4 ประเภท

ฐานภาษี คือ สิ่งที่เป็นเงื่อนไขหรือมูลเหตุขั้นต้นที่ทำให้เกิดบุคคลที่จะต้องเสียภาษี หรือ สิ่งที่จะใช้เป็นฐานในการประเมินภาษีอากร

ฐานภาษีที่สำคัญ ได้แก่

       1.เงินได้  (Income)  เป็นฐานภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลที่รายได้ ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ว่าจะต้องเสียภาษี

       2.ทรัพย์สิน  (Property) เป็นฐานภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลที่มีทรัพย์สินอันอยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เสียภาษี ซึ่งได้แก่ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีรถยนต์ ภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์  ภาษีกองมรดก

       3.สินค้าและบริการ  (Goods and Servies) เป็นฐานภาษีที่เรียกเก็บจากบุหรี่ สุรา การสั่งสินค้าเข้า การแสดงมหรสพ หรือที่เรียกว่า ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร  อากรมหรสพ

       4.สิทธิพิเศษในการประกอบการ  (Licences) เป็นฐานภาษีที่เรียกเก็บจากค่าธรรมเนียมในการอนุญาตให้ประกอบกิจการ  ไม่ว่าจะมีลักษณะผูกขาดหรือไม่

ประเภทของฐานภาษี มีอยู่กี่ประเภทอะไรบ้าง ฐานภาษีมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่

       1. ภาษีจัดเก็บจากฐานรายได้ : เช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้ของบุลคลธรรมดา

       2. ภาษีเก็บจากฐานบริโภค : เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร

       3. ภาษีเก็บจากฐานทรัพย์สิน : เช่น ภาษีรถยนต์ ภาษีโรงเรือง และที่ดิน

ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร

       ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม หมายถึง มูลค่าของสินค้าและบริการที่จะถูกนำไปใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ตามลักษณะของสินค้าและบริการ

ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม แบ่งได้ 4 กรณีดังนี้

       1. ฐานภาษีกรณีทั่วไป

       2. ฐานภาษีส่งออก

       3. ฐานภาษีนำเข้า

       4. ฐานภาษีกรณีพิเศษ

1. ฐานภาษีกรณีทั่วไป

       (จากมาตรา 79) ฐานภาษีกรณีทั่วไป คือ มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้า หรือให้บริการ รวมไปถึงภาษีสรรพสามิต แต่ไม่รวมถึง

  1. ส่วนลดหรือค่าลดหย่อน ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ลดให้ในขณะขายสินค้า หรือให้บริการและได้หักส่วนลดหรือค่าลดหย่อนดังกล่าวออกจากราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการ โดยได้แสดงให้เห็นไว้ชัดแจ้งว่าได้มีการหักส่วนลดหรือค่าลดหย่อนไว้ในใบกำกับภาษีในแต่ละครั้งที่ออกแล้ว ทั้งนี้ เว้นแต่ส่วนลดหรือค่าลดหย่อนในการขายสินค้า หรือให้บริการของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86/6 หรือมาตรา 86/7 ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะไม่แสดงส่วนลดหรือค่าลดหย่อนดังกล่าว ให้เห็นชัดแจ้งไว้ในใบกำกับภาษีอย่างย่อก็ได้
  2. ค่าชดเชยหรือเงินอุดหนุนตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
  3. ภาษีขาย
  4. ค่าตอบแทนที่มีลักษณะ และเงื่อนไขตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี

2. ฐานภาษีการส่งออก

       (จากมาตรา 79/1) การส่งออกสินค้า : ฐานภาษีสำหรับการส่งออก ให้ใช้ราคา F.O.B รวมกับ ภาษีสรรพสามิต รวมกับ ภาษีอื่น ๆ และรวม ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ แต่ไม่รวมอากรขาออก เงินมัดจำ ไม่ใช่ฐานภาษีสำหรับการส่งออก ไม่เสีย Vat แต่ฐานภาษีสำหรับการส่งออกคือ ราคา F.O.B

3. ฐานภาษีการนำเข้า

       (จากมาตรา 79/2) การนำเข้าสินค้า : ฐานภาษีสำหรับการนำเข้า ให้ใช้ราคา C.I.F.  รวมกับ ภาษีสรรพสามิต รวมกับ อากรขาเข้า 

  • ราคา F.O.B. คือ ราคา ณ ด่านศุลกากร ไม่รวมกับค่าขนส่ง และค่าประกันภัย
  • ราคา C.I.F. คือ ราคารวมประกันภัย  กับค่าระวางหรือค่าขนส่ง ราคา C.I.F. อาจถือตามราคาที่กรมศุลกากรกำหนด

4. ฐานภาษีกรณีพิเศษ

       1. (จากมาตรา 79/3) การขายสินค้าหรือให้บริการ ที่ไม่มีค่าตอบแทน หรือ มีค่าตอบแทนต่ำกว่าราคาตลาด โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร มูลค่าของฐานภาษีที่จะนำมาคำนวณ ให้ยึดตามราคาตลาดทั่วไป

       2. การนำสินค้าไปใช้เอง โดยไม่ใช่เพื่อการประกอบกิจการ มูลค่าของฐานภาษีคือตามราคาตลาด

       3. สินค้าขาดจาก Stock มูลค่าของฐานภาษี คือ ราคาตลาด ณ วันที่ตรวจพบสินค้า ถือว่าเป็นวันที่ความรับผิดเกิดขึ้น

       4. การขายสินค้าที่ได้เสียภาษีในอัตรา 0 ต่อมาได้กลายเป็นอัตรา 7 ฐานภาษีคือ ราคาตลาดของสินค้านั้นตามสภาพหรือปริมาณ ในวันที่ความรับผิด

       5. สินค้าคงเหลือหรือทรัพย์สินคงเหลือ ณ วันเลิกประกอบกิจการ ให้ถือเป็นการขายโดยคิดตามราคาตลาด ณ วันเลิกประกอบกิจการ เป็นฐานภาษี

แหล่งที่มา : Link

 7446
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์