บริหารแบบจู้จี้ VS ปล่อยให้ทำเอง ดีเสียต่างกันอย่างไร ?

บริหารแบบจู้จี้ VS ปล่อยให้ทำเอง ดีเสียต่างกันอย่างไร ?

บริหารแบบจู้จี้ VS ปล่อยให้ทำเอง ดีเสียต่างกันอย่างไร ? | THE BRIEFCASE

ถ้าวันนี้เรากำลังเป็นหัวหน้าทีม สิ่งที่ท้าทายไม่แพ้การบริหารงานในภาพที่ใหญ่ขึ้น ก็คือ “การบริหารคนในทีม ที่มีความหลากหลาย”เพราะลูกทีมที่เราดูแลนั้น อาจมีตั้งแต่เด็กจบใหม่ คนมีประสบการณ์หรือแม้
แต่คนที่อายุมากกว่าเราอีกทั้งปัญหาที่หัวหน้าทีมมักจะเจอก็คือ ถ้าหัวหน้าทีมมาดูแลหรือเอาใจทุกคน ก็จะไม่มีเวลาดูภาพรวมของตัวงาน หรือถ้าหัวหน้าทีมอยู่ห่าง ๆ รอดูผลลัพธ์ของงานในภาพรวม ลูกทีมก็มัก
จะรู้สึกว่าหัวหน้าไม่สนใจซึ่งการบริหารทั้งสองแบบข้างต้น มีชื่อเรียกว่า Micro-management และ Macro-managementการบริหารทั้งสองแบบนี้ต่างกันอย่างไร และมีข้อดี-ข้อเสียอะไร ที่เราควรรู้บ้าง ?
THE BRIEFCASE จะสรุปให้ฟังมาเริ่มจาก Micro-management กันก่อนการบริหารงานแบบ Micro-management แปลตามตัวคือ “การบริหารงานแบบจุลภาค”ซึ่งเป็นรูปแบบการบริหารงานอย่างใกล้
ชิดระหว่างหัวหน้างานกับลูกน้องในทีม โดยไล่ตั้งแต่การติดตาม มองดู สังเกตการณ์ และตรวจสอบการทำงานของลูกน้องในทุกขั้นตอน

เรียกได้ว่า หัวหน้าแทบจะติดตามลูกทีมทุกฝีก้าว ทุกการกระทำของลูกน้องจะอยู่ในสายตาของหัวหน้าอยู่ตลอดเวลาตัวอย่างการบริหารงานแบบ Micro-management เช่น การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19
ทำให้ทุกวันนี้หลายบริษัทมีการใช้นโยบาย Work From Home
ซึ่งถ้าหัวหน้าที่มีสไตล์การทำงานแบบMicro-management พวกเขาก็จะให้ลูกทีมคอยรายงานสิ่งที่ต้องทำอย่างละเอียดทุกวัน ทั้งนี้ก็เพื่อต้อง
การทราบและรู้ว่า แต่ละวันลูกทีมนั้นทำอะไรไปบ้าง

ข้อดีของ Micro-management ก็คือ

- ผู้บริหารหรือหัวหน้าสามารถติดตามงานได้อย่างใกล้ชิด รวมทั้งวางแผน ตัดสินใจดำเนินการต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ตามทันทุกสถานการณ์
- ในกรณีที่เกิดปัญหาในการทำงานของทีม ผู้บริหารหรือหัวหน้าสามารถเข้าไปจัดการแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที ก่อนที่จะลุกลามกลายเป็นปัญหาใหญ่โต จนแก้ไขได้ยาก หรืออาจแก้ไขไม่ได้เลย

แต่ Micro-management ก็มีข้อเสียเช่นกัน เช่น

- อาจสร้างความอึดอัดให้กับลูกทีม โดยเฉพาะลูกทีมบางคนที่ชอบความเป็นอิสระในการทำงาน ไม่ต้องการให้ใครมาจู้จี้จุกจิกมากเกินไป
นอกจากนี้ การที่หัวหน้ามาควบคุมทุกขั้นตอน อาจทำให้ลูกทีมบางคนคิดว่า เพราะหัวหน้าไม่ไว้ใจพวกเขาในการทำงาน ซึ่งเมื่อลูกทีมรู้สึกว่าหัวหน้าไม่เชื่อใจ
พวกเขาก็มีแนวโน้มที่จะคิดว่าตัวเองไร้ความสามารถ และรู้สึกไม่ก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ซึ่งนำไปสู่การลาออกในที่สุด

- การลงรายละเอียดที่มากเกินไป อาจทำให้หัวหน้าหรือผู้บริหารไม่มีเวลาไปทำเรื่องอื่น ซึ่งอาจสำคัญไม่แพ้กันพอเรื่องเป็นแบบนี้ จึงมีอีกแนวทางหนึ่งที่เรียกว่า การบริหารงานแบบ Macro-management
การบริหารงานแบบ Macro-management แปลตามตัวคือ “การบริหารแบบมหภาค”หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ หัวหน้ามักจะให้ความสำคัญกับภาพรวม หรือภาพใหญ่ในการทำงานของลูกทีมมากกว่าหัวหน้าที่
บริหารงานสไตล์นี้ มักไม่ค่อยเข้าไปก้าวก่ายการทำงานของลูกทีมมากนักหัวหน้ามักจะเน้นการออกนโยบาย วางเป้าหมาย ออกแนวทางการทำงานให้ หลังจากนั้นลูกทีมก็จะไปทำงานตามที่หัวหน้ากำหนดเป้า
หมายเอาไว้ตัวอย่างการบริหารงานแบบ Macro-management เช่น ถ้าหัวหน้าสั่งให้ลูกทีมไปทำข้อมูลนำเสนองาน หัวหน้าที่บริหารงานสไตล์นี้จะเน้นการรอดูภาพรวมของข้อมูลที่นำเสนอ
รอให้ฟีดแบ็กในตอนท้ายมากกว่าที่จะลงไปสั่งหรือกำหนดเรื่องเล็ก ๆ เช่น ให้ส่งเนื้อหาในสไลด์มาให้ตรวจทีละหน้า หรือให้ปรับตามที่หัวหน้าต้องการทันที

ซึ่ง Macro-management มีข้อดี ก็คือ
- ทำให้ลูกทีมไม่อึดอัด และสามารถสร้างอิสระในการทำงานให้แก่ลูกทีม ซึ่งการให้อิสระนี้จะทำให้ทีมงานสามารถดึงความคิดสร้างสรรค์ออกมาใช้ และจะช่วยทำให้งานออกมาดีมากยิ่งขึ้น
- ช่วยให้ลูกทีมสามารถประหยัดเวลาและพลังงาน ในการทำงานแต่ละอย่างได้ เพราะไม่ต้องคอยรายงานหัวหน้าทุกขั้นทุกตอน ซึ่งก็จะสามารถทำให้ลูกทีมผลิตงานออกมาได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
แต่แนวทาง Macro-management ก็มีข้อเสียเช่นกัน เช่น
- ผู้บริหารหรือหัวหน้าบางคนที่ไม่สามารถติดตามงานได้อย่างใกล้ชิด อาจส่งผลให้งานที่ตนเองต้องการนั้น แตกต่างจากงานที่ลูกทีมทำออกมา
- กรณีที่เกิดปัญหาในการทำงาน แล้วลูกทีมไม่ได้แจ้ง ทำให้หัวหน้าไม่ได้รับทราบปัญหา จนเมื่อปัญหาลุกลามใหญ่โต ก็อาจจะแก้ไขได้ยาก

โดยสรุปก็คือ การบริหารแบบ Micro-management อาจทำให้หัวหน้าติดตามงานได้ง่ายก็จริง แต่ก็อาจทำให้ลูกทีมนั้นอึดอัด ไม่มีความสุข เพราะต้องรายงานสิ่งที่ทำตลอดเวลา
จนอาจส่งผลให้ประสิทธิภาพงานออกมาไม่ดีได้เช่นกัน แม้จะมีหัวหน้าติดตามการทำงานอย่างใกล้ชิดการบริหารแบบ Macro-management อาจทำให้ลูกทีมนั้นมีความเป็นอิสระในการทำงานมากขึ้น
มีความคิดสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบมากขึ้น แต่ก็อาจทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของลูกทีมนั้นหย่อนยานได้ เพราะขาดคนมากำกับดูแลอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ เวลาที่เกิดปัญหาขึ้น บางครั้งหัวหน้าอาจ
เข้ามาจัดการแก้ไขไม่ทันอ่านมาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะสงสัยว่า ในเมื่อการบริหารทั้งสองแบบต่างก็มีข้อดีข้อเสีย สรุปแล้วการบริหารงานแบบไหนดีกว่ากัน ?การที่จะฟันธงว่า การบริหารงานสไตล์ไหนดีกว่า
กันอาจเป็นเรื่องยากเพราะยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมายที่ต้องพิจารณาด้วย เช่น บุคลิก ลักษณะนิสัยของหัวหน้าแต่ละคนที่มีความแตกต่างกัน นโยบายการทำงานของแต่ละบริษัทนั้นก็ไม่เหมือนกัน
และอย่างที่กล่าวไปข้างต้นก็คือ ลักษณะนิสัยของคนทำงานแต่ละคนก็มีความแตกต่างกันดังนั้น สิ่งสำคัญกว่า อาจไม่ใช่การตอบว่า แนวทางใดแนวทางหนึ่งดีกว่ากัน แต่น่าจะเป็นการที่ผู้นำเรียนรู้การบริหารทั้งสองแบบ
และผสมผสานจุดเด่นของทั้งสองแบบเข้าด้วยกัน เพื่อนำมาใช้ในการบริหารงานและบริหารคน ให้เหมาะสมกับการทำงานในองค์กรนั่นเอง.

แหล่งที่มา : Link

 758
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์