13 ประเภท "ป้ายโฆษณา"

13 ประเภท "ป้ายโฆษณา"




ภาษีป้าย
 คือ ภาษีที่จัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายการค้าของผู้ประกอบการเพื่อ หารายได้ ไม่ว่าจะแสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษรภาพหรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทําให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น ๆ

    ดังนั้น ป้ายชื่อ ของผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นรูปภาพโลโก้ตัวอักษร ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นป้ายทั่วไป ป้ายผ้าใบ ป้ายบิลบอร์ด หรือป้ายไฟโฆษณา ล้วนต้องเสียภาษีป้ายทั้งสิ้น

ป้ายแบบไหนเสียภาษี ?

ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ เครื่องหมายที่ใช้ประกอบการค้าหรือเพื่อโฆษณา

ป้ายแบบไหนไม่เสียภาษี ?
1. ป้ายที่แสดงไว้ ณ โรงละคร สถานที่แสดงดนตรีหรือสถานที่ สำหรับฉายภาพยนตร์
2. ป้ายที่แสดงไว้ที่สินค้า หรือสิ่งบรรจุสินค้า
3. ป้ายที่แสดงไว้ในบริเวณงานที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราว
4. ป้ายที่แสดงไว้ที่คนหรือสัตว์
5. ป้ายที่แสดงไว้ภายในอาคารที่ใช้ประกอบการค้าประกอบกิจการอื่น หรือภายในอาคารซึ่งเป็นรโหฐาน เพื่อหารายได้ แต่ละป้ายต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 3 ตารางเมตร (กฎกระทรวง ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2542)
6. ป้ายของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค หรือราชการส่วนท้องถิ่น (ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน)
7. ป้ายขององค์การที่จัดตั้งขึ้น ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล และหน่วยงานที่นำรายได้ส่งรัฐ
8. ป้ายของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการสหกรณ์ และบริษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
9. ป้ายของโรงเรียนเอกชน ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน หรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่แสดงไว้ ณ อาคารหรือบริเวณของโรงเรียน หรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้น
10. ป้ายของผู้ประกอบการเกษตรซึ่งค้าผลผลิตอันเกิดจากการเกษตรของตน
11. ป้ายของวัด หรือผู้ดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์แก่ศาสนาหรือการกุศลสาธารณะ
12. ป้ายของสมาคม หรือมูลนิธิ
13. ป้ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2535) ให้เจ้าของป้ายไม่ต้องเสียภาษีป้าย ดังนี้
– ป้ายที่ติดตั้ง หรือแสดงไว้ที่รถยนต์ส่วนบุคคลรถจักรยานยนต์ รถบดถนน หรือรถแทรกเตอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
– ป้ายที่ติดตั้ง หรือแสดงไว้ที่ล้อเลื่อน ตามกฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน


Cr: https://www.dharmniti.co.th/
 306
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์