การทำลายสินค้า ปัญหา และผลกระทบทางบัญชีในทางปฏิบัติ

การทำลายสินค้า ปัญหา และผลกระทบทางบัญชีในทางปฏิบัติ

การทำลายสินค้า ปัญหา และผลกระทบทางบัญชีในทางปฏิบัติ 

ทำลาย คือการทำให้สินค้าไม่มีอยู่ หรือไม่อยู่ในสภาพที่เป็นสินค้า อาจทำโดยการเผา การทุบ การบด การตัดเป็นชิ้น ๆ เทหรือฝัง กลบ เป็นต้น แต่ถ้าสินค้ายังมีตัวตนเป็นสินค้าให้เห็นไม่ถือเป็นการทำลาย เช่น การนำสินค้าชำรุดไปบริจาคหรือมอบให้หน่วยงาน จึงไม่ถือว่าเป็นการทำลาย ดังนั้น ทำลายจึงต้องทำให้หมดไปจริงๆ 

ในการปฏิบัติทางบัญชีเมื่อมีการทำลายสินค้าเกิดขึ้นเอกสารที่จะมาเกี่ยวข้องกับการบันทึกบัญชีจึงเป็นเอกสารที่เกิดขึ้นภายในหน่วยงานหรือองค์กรที่มีการขออนุมัติจากผู้มีอำนาจในการพิจารณาการทำลายสินค้า โดยระบุถึงสาเหตุของการทำลาย ราคาทุนของสินค้าที่มีการทำลาย รวมไปถึงวิธีการทำลาย วันเวลาสถานที่ เพื่อใช้ประกอบการบันทึกรายการทางบัญชี 

เนื่องจากการทำลายสินค้าไม่ได้ก่อให้เกิดรายได้จะต้องนำมาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร และไม่ถือเป็นการขายสินค้าหรือให้บริการที่จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 โดยผลของการทำลายสินค้าจะทำให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนฯ มีสิทธินำมูลค่าต้นทุนของสินค้าที่ถูกทำลายมาลงเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ทำลายได้ และนอกจากนี้ สำหรับภาษีซื้อที่เกี่ยวกับสินค้าดังกล่าวก็ไม่มีผลตามกฎหมายที่จะทำให้ภาษีซื้อต้องห้าม หมายความว่าภาษีซื้ออันเกี่ยวกับสินค้าดังกล่าวซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนได้นำไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ก็ไม่มีกฎหมายกำหนดว่าให้เป็นภาษีซื้อต้องห้าม เมื่อได้มีการทำลายสินค้าในภายหลังสรุปก็คือ ขอเครดิตภาษีซื้อแล้วก็แล้วไป (ต้องดูว่าเป็นสินค้าที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย)

กรณีการทำลาย 

วิธีปฏิบัติ 

สินค้าเสื่อมคุณภาพ สินค้าที่มีตำหนิ หมดสมัยนิยม หมดอายุ โดยสภาพไม่สามารถเก็บรักษาได้ เช่น ผลิตภัณฑ์อาหาร เวชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ ฯลฯ 1. ต้องมีการตรวจสอบสินค้าดังกล่าวว่าเสียหายตามเงื่อนไขที่แต่ละกิจการได้กำหนดไว้หรือไม่ และต้องได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจในการพิจารณาให้เป็นสินค้าเสียหายตามเงื่อนไขที่กำหนด กรณีสินค้าที่ได้รับคืน กิจการจะต้องมีเอกสารหลักฐานการรับคืนสินค้าซึ่งระบุรายละเอียดของสินค้าที่รับคืน เช่น วันเดือนปีที่รับคืน ปริมาณ,ชนิด,รหัสสินค้า สาเหตุที่รับคืนสินค้า และได้มีการลงลายมือชื่อพนักงานที่รับคืนด้วย เมื่อได้รับมาเก็บไว้พร้อมรอทำลาย ให้พนักงานคลังสินค้าเก็บรักษาสินค้าเสียหายตรวจนับ และลงลายมือชื่อกำกับไว้พร้อมทั้งแจ้งให้ฝ่ายบัญชีรับทราบด้วย
การทำลายสินค้าที่เสื่อมคุณภาพที่มีตำหนิ สินค้าหมดสมัยนิยม หมดอายุ เก็บรักษาไว้รอทำลายพร้อมกันเมื่อได้ปริมาณที่เหมาะสม 1. กรณีที่มีการรอเพื่อจะทำลาย มีระยะเวลาเพียงพอ ควรแจ้งการทำลายให้สรรพากรพื้นที่ในท้องที่ที่รับผิดชอบทราบล่วงหน้าเป็นเวลา 30 วันก่อนทำลาย ซึ่งสรรพากรพื้นที่จะส่งเจ้าหน้าที่มาดูการทำลายหรือไม่ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมแต่ละกรณี **การรายงานให้เจ้าพนักงานมาสังเกตการณ์นั้น ไม่ใช่กฎหมายที่จะมีผลบังคับ แต่เป็นวิธีการที่ทำให้ไม่มีข้อสงสัยว่าได้ทำลายสินค้าจริง 
2. กิจการที่อยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออก หรือบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ที่นำเข้าวัตถุดิบ การทำลายสินค้าของบริษัท ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของหน่วยงานที่ควบคุมหรือกำกับดูแล โดยผู้สอบบัญชีเป็นพยานในการทำลาย รับทราบ และผู้สอบบัญชีรับรองเป็นลายลักษณ์อักษรแนบไว้ในงบดุลด้วย (ตามข้อ 3 (1) (2) ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.79/2541)

บทความโดย  https://www.dha.co.th

 4216
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์