ประเด็นที่หนึ่ง หลังจากที่ผ่านมาตลอดทั้งปี นักบัญชีได้มีรวบรวมเอกสารหลักฐานประกอบกับการบันทึกรายการ
ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับกิจการ อาทิ การบันทึกเกี่ยวกับรายได้ (ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 18) การบันทึกเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย หรือการบันทึกเกี่ยวกับสินค้า (ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 2) หรือการบันทึการได้มาของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ (ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 16) ฯลฯ ซึ่งหากมีการสอบทานความถูกต้องด้วยการออกงบการเงิน หรือมีการจัดทำงบทดลองประจำเดือน หรือประจำไตรมาส ก็จะทำให้นักบัญชีสามารถรวบรวมข้อมูลสรุปผลทั้งปีได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
สำหรับประเด็นนี้ขอยกตัวอย่างเรื่องแรก เป็นเรื่องของบันทึกรับรู้รายได้ สำหรับกิจการที่ประกอบการเกี่ยวกับการจำหน่ายสินค้า เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับการตรวจสอบการบันทึกรายการ ซึ่งเป็นประเด็นที่มีนักบัญชีสอบถามกันมาบ่อยครั้งเกี่ยวกับ ปัญหาของการรับรู้รายได้ของธุรกิจขายสินค้า ว่าจะรับรู้เมื่อใด จึงขอแนะนำหลักการพิจารณาเบื้องต้นเพื่อให้สามารถนำไปปรับใช้ในการตรวจสอบเกี่ยวกับการบันทึกรายได้ดังนี้
***สำหรับจุดการรับรู้รายการจุดนี้มักเกิดข้อผิดพลาดในการพิจารณารายการ ซึ่งบางครั้งนักบัญชีบางท่านพบว่าเวลาที่ปฏิบัติงานจริงไม่ได้สนใจในเรื่องของการโอนความเสี่ยง แต่ให้น้ำหนักและความสำคัญกับการออกใบกำกับภาษีมากกว่า และมักเข้าใจผิดพลาดในการพิจารณารายการโดยนำหลักการทางภาษีมาพิจารณาร่วมด้วย ทำให้การรับรู้รายการไม่ถูกต้องสอดคล้องกับความเป็นจริงของกิจการ จุดนี้นักบัญชีที่ยังขาดความเข้าใจคงต้องให้น้ำหนักและความสำคัญกับการพิจารณารายการลักษณะนี้ด้วยเช่นกัน***
หลักการของการรับรู้รายได้ตามมาตรฐานการบัญชี กรณีที่ขายสินค้า สิ่งที่สำคัญที่ถูกระบุในมาตรฐานถือเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อ ดังนั้น ผู้ทำบัญชี ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบัญชีจะต้องให้น้ำหนักและให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการเพื่อให้ข้อมูลดังกล่าวมีความถูกต้องสอดคล้องกับความเป็นจริง
ส่วนการรับรู้รายได้ของธุรกิจบริการนั้น จะมีหลักการพิจารณาที่แตกต่างจากธุรกิจจำหน่ายสินค้าเนื่องจากสินค้าของธุรกิจบริการนั้นไม่สามารถจับต้องได้ ดังนั้นแล้วหลักการพิจารณาจึงสรุปพอสังเขปได้ดังนี้ครับ
บทความโดย https://www.dha.co.th