TH
TH
EN
062-310-5613
Menu
Home
Product
Sales Order
Purchase Order
Inventory Control
Accounts Receivable
Accounts Payable
General Ledger
Petty Cash
Cheque Receivable
Cheque Payment
Bank Adjustment
VAT & Withholding Tax
Sales Force Automation
Approve Center
Financial Management
Sale Analysis
Purchase Analysis
Audit and Internal Control
Security Administrator
Mobile Apps
API Lazada & Shopee
Work Flow
Pricing
ราคาแพ็กเกจ
เงื่อนไขการให้บริการ
วิธีการชำระเงิน
Service
จองอบรมโปรแกรม
วีดีโอสอนการใช้งาน
คู่มือการใช้งาน
คำถามที่พบบ่อย FAQs
ข้อเสนอแนะโปรแกรม
การวางระบบบัญชี และการเริ่มต้นใช้งาน
รายละเอียดการ Update Version
นโยบายการรักษาข้อมูล
Customers
Site Reference
Partners สถาบันการศึกษา
More
โครงการเพื่อสังคม
ฟังก์ชันสำหรับสำนักงานบัญชี
เหตุผลที่เลือกใช้ myAccount Cloud
บัญชีโคตรง่าย myAccount Cloud
จองอบรมโปรแกรมก่อนซื้อ
News
Blog
Partners
Partners สำนักงานบัญชี
สถาบันการศึกษา
About Us
Our Story
Social Enterprise
Office Location
Our Business
Prosoft Group
Contact Us
ทดลองใช้งานฟรี
หน้าแรก
BLOG myAccount Cloud
บัญชีโคตรง่าย
เงินมีที่มาอย่างไร เริ่ม ใช้เงิน กันตั้งแต่เมื่อไหร่
เงินมีที่มาอย่างไร เริ่ม ใช้เงิน กันตั้งแต่เมื่อไหร่
ย้อนกลับ
หน้าแรก
BLOG myAccount Cloud
บัญชีโคตรง่าย
เงินมีที่มาอย่างไร เริ่ม ใช้เงิน กันตั้งแต่เมื่อไหร่
เงินมีที่มาอย่างไร เริ่ม ใช้เงิน กันตั้งแต่เมื่อไหร่
ย้อนกลับ
เงินมีที่มาอย่างไร เริ่ม ใช้เงิน กันตั้งแต่เมื่อไหร่?
เงิน หรือ เงินตรา นั้น แท้จริงแล้วคือ วัตถุที่ใช้ในการแลกขายซื้อเปลี่ยน เป็นตัวแทนการวัดมูลค่าของสินค้าที่แลกเปลี่ยนกัน เงินหรือเงินตรานั้นในอดีตเริ่มจากการใช้เปลือกหอย อัญมณี และพัฒนามาเป็นโลหะ ส่วนในปัจจุบันนั้นใช้เป็น เหรียญกษาปณ์ และ ธนบัตร แต่เดิมที่ตั้งของประเทศไทยในปัจจุบันนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่ก่อน พุทธศตวรรษที่ 6 ซึ่งกลุ่มชนเหล่านี้ได้มีการติดต่อกับชุมชนอื่น ในบริเวณใกล้เคียง โดยใช้สื่อกลางในการแลกเปลี่ยนในหลายรูปแบบ เช่น ลูกปัด เปลือกหอย เมล็ดพืช เป็นต้น สำหรับเราชาวไทยนั้นสันนิษฐานว่าได้มีการนำโลหะมาใช้เป็นเงินตรามาตั้งแต่ในสมัยสุโขทัย ซึ่งเรียกโลหะชนิดนี้ว่า เงินพดด้วง
เงินพดด้วง คืออะไร?
เงินพดด้วง นี้ เป็นเงินตราของไทยในสมัยโบราณ เริ่มใช้ตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา กรุงธนบุรี จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น รวมเป็นเวลากว่า 600 ปี โดยทำจากแท่งเงินบริสุทธิ์ ตามน้ำหนักพิกัดของราคา ทุบปลายทั้งสองข้างให้งอเข้าหากันแล้วตอกประทับตราประจำแผ่นดินและตราประจำรัชกาลลงไป ด้วยเหตุที่มีสัณฐานกลมคล้ายตัวด้วง คนไทยจึงเรียกกันว่า เงินพดด้วง
และในสมัยสุโขทัยนั้นยังไม่มีการผูกขาดการผลิต เงินพดด้วงจึงมีความหลากหลายในเนื้อเงินที่ใช้ทำ รวมถึงน้ำหนักและขนาดอีกด้วย ซึ่งต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา ทางการก็ได้ห้ามไม่ให้ราษฎรผลิตเงินตราขึ้นเอง เงินพดด้วงจึงได้มาตรฐานมากขึ้น โดยมีตราประทับ 2 ดวง คือ ตราประจำแผ่นดินและตราประจำรัชกาล
โดยเงินพดด้วงได้มีการใช้มาเป็นระยะเวลานานจนถึงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ในสมัยนั้นการค้าเฟื่องฟู การผลิตเงินพดด้วงด้วยแรงงานคนไม่สามารถผลิตได้ทันต่อความต้องการใช้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้คณะทูตไทยไปเจริญสัมพันธไมตรีกับสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียที่ประเทศอังกฤษ สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียได้ส่งเครื่องทำเหรียญเงินขนาดเล็กเข้ามาถวาย เป็นราชบรรณาการ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าให้จัดทำเหรียญกษาปณ์จากเครื่องจักรขึ้นเป็นครั้งแรก เรียกกันว่า “เหรียญเงินบรรณาการ”
ในขณะเดียวกันคณะทูตก็ได้สั่งซื้อเครื่องจักรทำเงินจากบริษัทเทเลอร์ เข้ามาในช่วงปลายปี 2401 พระองค์จึงโปรดเกล้าให้สร้างโรงงานผลิตเหรียญกษาปณ์ขึ้นที่หน้าพระคลังมหาสมบัติ ในพระบรมมหาราชวัง พระราชทานนามว่า “โรงกระสาปณ์สิทธิการ” ในสมัยนี้จึงถือว่ามีการใช้เหรียญกษาปณ์แบบสากลนิยมขึ้นเป็นครั้งแรก ต่อมาแม้ได้ประกาศให้ใช้เงินตราแบบเหรียญแล้วก็ยังโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เงินพดด้วงอยู่เพียงแต่ไม่มีการผลิตเพิ่มเติม จนกระทั่งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากที่มีการนำธนบัตรออกใช้แล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ออกประกาศให้เลิกใช้เงินพดด้วงทุกชนิด ตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม 2447 เป็นต้นมา
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
ละครยอดฮิตอย่าง “บุพเพสันนิวาส” ในเรื่องนั้นก็ได้มีการใช้เงินพดด้วงด้วย และในเมื่อวันนี้เราคุยกันถึงเรื่องที่มาของเงินกันแล้ว เราก็เลยมีเกร็ดความรู้เล็กๆ เกี่ยวกับค่าเงินของในยุคนั้นมาแนะนำกันครับ
มาตราเงินไทยในสมัยโบราณ
ตามมาตราเงินไทยในสมัยโบราณนั้น เมื่อเรียงตามมูลค่าจะเป็น ชั่ง ตำลึง บาท สลึง เฟื้อง โดยมีพิกัดอัตรา ดังนี้
800 เบี้ย เป็น 1 เฟื้อง
50 เบี้ย เป็น 1 โสฬส(สิบหก) 16 โสฬส เป็น 1 เฟื้อง
2 อัฐ เป็น 1 เสี้ยวหรือไพ 4 อัฐ เป็น 1 เฟื้อง
2 เสี้ยวหรือไพ เป็น 1 ซีก 2 เสี้ยวหรือไพ เป็น 1 เฟื้อง
2 ซีก เป็น 1 เฟื้อง 8 เฟื้อง เป็น 1 บาท
2 เฟื้อง เป็น 1 สลึง 4 สลึง เป็น 1 บาท
1 มายนหรือมะยง เป็น กึ่งบาท หรือ 2 สลึง
4 บาท เป็น 1 ตำลึง
20 ตำลึง เป็น 1 ชั่ง
80 ชั่ง เป็น 1 หาบ
บทความโดย:
https://www.moneyguru.co.th
2844
ผู้เข้าชม
หมวดหมู่
1146
ทั้งหมด
บัญชีโคตรง่าย
1111
การตลาด
11
บริหารธุรกิจ
12
ซอฟท์แวร์
12
ซอฟท์แวร์บัญชี
11
ซอฟท์แวร์ CRM
1
Get started for free today.
ทดลองใช้งานฟรี
×
โทร
062-310-5613
×
Line
×
ฟอร์มการติดต่อ
ชื่อผู้ติดต่อ :
บริษัท :
เบอร์โทรศัพท์ :
อีเมล :
ประเภทการติดต่อ :
สอบถาม
สนใจสินค้าและบริการ
ข้อเสนอแนะโปรแกรม
ร้องเรียนบริการ
ดาวน์โหลดโปรแกรม
ทดลองใช้งานออนไลน์ (Online Demo)
อื่นๆ
จองดูสาธิตการใช้โปรแกรม เชียงใหม่
จองดูสาธิตการใช้โปรแกรม กรุงเทพฯ
จองอบรมโปรแกรมก่อนซื้อ
จองอบรมออนไลน์
ร่วมเป็น Partners กับ myAccount
ร่วมเป็น Education กับ myAccount
จองอบรม Online
ลงทะเบียนทดลองใช้งานฟรี
เรื่อง :
รายละเอียด :
รอบอบรมออนไลน์ :
- เลือกรอบอบรมออนไลน์ -
22-23 มกราคม 2568 (เวลา 09:00 - 16:00)
19-20 กุมภาพันธ์ 2568 (เวลา 09:00 - 16:00)
19-20 มีนาคม 2568 (เวลา 09:00 - 16:00)
23-24 เมษายน 2568 (เวลา 09:00 - 16:00)
21-22 พฤษภาคม 2568 (เวลา 09:00 - 16:00)
18-19 มิถุนายน 2568 (เวลา 09:00 - 16:00)
23-24 กรกฎาคม 2568 (เวลา 09:00 - 16:00)
20-21 สิงหาคม 2568 (เวลา 09:00 - 16:00)
17-18 กันยายน 2568 (เวลา 09:00 - 16:00)
21-22 ตุลาคม 2568 (เวลา 09:00 - 16:00)
19-20 พฤศจิกายน 2568 (เวลา 09:00 - 16:00)
17-18 ธันวาคม 2568 (เวลา 09:00 - 16:00)
ส่งข้อความ
ยกเลิก
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด
×
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
คุกกี้ในส่วนการตลาด
คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com