ความหมายและความเป็นมาของธนาคารกลาง
ธนาคารเป็นสถาบันการเงินระดับสูงของประเทศที่มีอำนาจและหน้าที่ควบคุมและดูแลการเงินและเครดิต ให้มีความเหมาะสมต่อความจำเริญทางเศรษฐกิจ และความมีเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ
ธนาคารกลางในประเทศส่วนใหญ่มีกำเนิดมาจากธนาคารพาณิชย์ ที่ได้ตั้งขึ้นและได้ช่วยเหลือรัฐบาลของตนทางด้านการเงินและอื่น ๆ
หน้าที่สำคัญของธนาคารกลาง ได้แก่
1. การออกพันธบัตร
2. การเป็นนายธนาคารของรัฐ
3. การเป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์
4. การเป็นผู้ให้กู้ยืมเงินแหล่งสุดท้าย
5. การจัดระบบการหักบัญชีระหว่างธนาคาร
6. การดำเนินนโยบายทางการเงินและการควบคุมปริมาณเงิน
7. การเป็นผู้จัดการทุนสำรองระหว่างประเทศ
ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นธนาคารกลางของประเทศ โดยมีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญของธนาคารแห่งประเทศไทยดังนี้
1. เป็นผู้ออกธนบัตร เพื่อควบคุมปริมาณธนบัตรที่ใช้หมุนเวียนให้พอดีกับความต้องการของภาคธุรกิจและ ประชาชนทั่วไป โดยมีกฎหมายควบคุมการออกธนบัตรและจัดการเกี่ยวกับธนบัตร เพื่อความมีเสถียรภาพของเงินตราของประเทศ
2. เป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์ ในฐานะนายธนาคารของธนาคารพานิชย์ ธนาคารกลางจำทำหน้าที่ดังนี้คือ
- รับฝากเงินจากธนาคารพานิชย์ ตามปกติธนาคารพาณิชย์จะต้องฝากเงินสดสำรอง ตามที่กำหนดไว้กับธนาคารกลาง
และใช้เป็นเงินสดสำรองสำหรับชำระหนี้ หรือ โอนเงินระหว่างธนาคารพานิชย์ด้วยกัน
- รับหักบัญชีระหว่างธนาคาร โดยที่ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งฝากเงินไว้ที่ธนาคารกลาง เมื่อมีหนี้สินระหว่างธนาคารพาณิชย์ด้วยกัน
- เป็นผู้ให้กู้ยืมแหล่งสุดท้าย ธนาคารกลางเป็นแหล่งสุดท้ายที่ธนาคารพาณิชย์จะกู้ยืมได้โดยมีหลักทรัพย์รัฐบาลค้ำประกัน
3. เป็นนายธนาคารและตัวแทนทางการเงินของรัฐบาล ธนาคารกลางจะทำหน้าที่ทางการเงินให้แก่รัฐบาลดังนี้ คือ - ถือบัญชีเงินฝาก ธนาคารกลางจะรักษาบัญชีเงินฝากของหน่วยราชการรัฐวิสาหกิจ และองค์กรอื่นๆ ของรัฐบาล และทำหน้าที่เป็นผู้จ่ายเงิน ตามเช็คที่หน่วยราชการต่างๆ และรัฐวิสาหกิจสั่งจ่าย - ให้รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจกู้ยืม รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจอาจกู้ยืมเงินจากธนาคารกลาง โดยการขายตั๋วเงินคลังหรือพันธบัตร - เป็นตัวแทนทางการเงินของรัฐบาล ธนาคารกลางจะเป็นตัวแทนจัดการทางการเงินของรัฐบาลทั้งในประเทศ และนอกประเทศ เช่น ติดต่อหาแหล่งเงินกู้ให้รัฐบาล
4. ดำเนินนโยบายการเงิน ธนาคารกลางมีบทบาทสำคัญในการควบคุมปริมาณเงินของประเทศให้มีปริมาณที่เหมาะสม ใช้มาตรการต่างๆ ในการดำเนินนโยบายแก้ไขเงินเฟ้อให้มีปริมาณเงินในระดับที่เหมาะสม
ธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ มีหน้าที่ส่วนใหญ่คล้ายกัน เช่น การเป็นผู้พิมพ์ธนบัตร การเป็นนายธนาคารของรัฐบาล และของธนาคารพาณิชย์ และหน้าที่อื่น ๆ แม้ว่าบางแห่งอาจทำหน้าที่แตกต่างกับอีกแห่งหนึ่งก็ตาม แต่เป็นเพียงส่วนเล็กน้อยเท่านั้น
บทความโดย : https://sites.google.com