ตั้งคำถาม... ทำไมสุขภาพทางการเงินพัง?

ตั้งคำถาม... ทำไมสุขภาพทางการเงินพัง?

สุขภาพทางการเงินพัง เพราะลืมตั้งคำถาม 3 ข้อนี้

เรื่อง ราตรีแต่ง

ความเจ็บปวดของคนวัยทำงาน ทั้งที่รับรายได้ประจำทุกๆ เดือน แต่แทบไม่มีเงินเก็บ นั่นคือสุขภาพทางการเงินพังแล้ว และบางคนเรียกว่าเข้าขั้นพินาศเลยทีเดียว ถ้าใครมีอาการเข้าลักษณะเป็นแบบนี้ ทำงานไปนานเท่าไรก็ไม่ (มีวัน) รวย เคยตั้งคำถามกันหรือไม่? เราพลาดเรื่องอะไร?!! ที่ทำให้ไม่มีเงินเก็บ(สักที) คนที่มีอาการแบบนี้ ก็ต้องชำแหละนิสัยการใช้จ่าย ลงรายละเอียดแจงเป็นข้อๆ ก็พอจะทำให้มองเห็นปัญหาได้ชัดเจนขึ้น

ใช้จ่ายเกินตัวหรือเปล่า?

คำถามโดนกันไปถ้วนหน้า มีรายจ่ายเกินรายรับที่หามาได้ ชีวิตการเงินก็ต้องย่ำแย่แน่นอนอยู่แล้ว หลายคนอาจแย้งใช้ชีวิต “มันจำเป็น ของมันก็ต้องกินต้องใช้” แต่การบริหารเงินโดยมีพื้นฐาน จะใช้อะไรจ่ายอะไร “ความจำเป็น” ต้องมาควบคู่กับ “ความพร้อม” ถึงจะเรียกว่าบริหารเงินได้ดี ข้าวของบางอย่างจำเป็น เป็นปัจจัย 4 ในการใช้ชีวิตก็จริง แต่อาจไม่ต้องรีบซื้อก็ได้ ต้องประมาณตัวเองว่าผ่อนไหวหรือไม่? เช่น บ้าน รถยนต์ซื้อเมื่อพร้อมแล้วดีที่สุด

เงินก้อนที่นำมาจ่ายต้องกินต้องใช้ ก็คือเงินในอนาคตหรือเรียกชัดๆ อีกทีก็คือหนี้สิน คำว่าหนี้นี่ลากยาวเลยนะมีหนี้ ก็ต้องจ่ายขั้นต่ำ จ่ายดอกเบี้ย เป็นภาระทุกๆ เดือนแทนที่จะเอาดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายให้เขา มาออมมาลงทุนเพื่ออนาคต จะดีกว่าหรือไม่?

รับเงินเดือนแล้ว สิ่งแรกที่ทำคืออะไร?

คำถามนี้จะทำนายอนาคตทางการเงิน ได้ชัดๆ แม่นๆ โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย) ตั้งคำถามได้น่าสนใจผ่าน www.tokiomarine.com สำหรับคำตอบของคนสุขภาพดีทางการเงิน คือ ทุกครั้งที่ได้รับเงินเดือน จะเลือกเติบโตในส่วนของเงินก่อน จัดสรรจำนวนเงินที่มีความสะดวกสบายในการใช้จ่ายในเดือนนั้น

แม้จะเป็นแค่เพียงเงินจำนวนน้อย ก็สามารถสะสมไปตามระยะเวลา และสภาพการณ์ที่ถูกต้อง มันอาจจะไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย ถ้ามีแนวโน้มที่จะใช้จ่ายเงินอย่างสนุกสนาน และส่งผลให้จะต้องรอคอยวันเงินเดือนออก ของเดือนถัดไปอย่างเหนื่อยล้า การจัดสรรเงินไว้ลงทุนก่อน แล้วจึงใช้จ่ายในส่วนที่เหลือนั้น ก็จะได้พบว่าคุณมี “สภาพคล่องเงินสด” น้อยลงในการใช้จ่ายในแต่ละเดือน จงอย่าบ่นเลย เพราะความมีระเบียบวินัยสร้างนิสัยด้วยวัยอายุน้อย จะช่วยให้ความสะดวกสบายในยามเกษียณอายุ หรือกองทุนสำรองขนาดใหญ่ ในกรณีที่บางอย่างที่เกิดขึ้นกับแหล่งที่มาหลักของรายได้

หากมีเรื่องใช้จ่ายมากขึ้นในแต่ละเดือน วิธีแก้ปัญหาที่ดี คือการหาแหล่งที่มาของเงินในแต่ละเดือนเพิ่มเติมจากรายได้ประจำ ฝึกดูแลค่าใช้จ่าย และภาระรายเดือนแล้วจึงออมในส่วนที่เหลือ หากนี่เป็นอีกคำตอบ ก็มีแนวโน้มที่จะคงอยู่ในสถานะที่เป็นอยู่เดิมๆ คือไลฟ์สไตล์ที่อาจทำให้ต้องอยู่แบบเดือนชนเดือน เคร่งเครียดกับบัญชีออมทรัพย์ที่ไม่ค่อยเติบโต หากกระบวนการวางแผนของใครเป็นในลักษณะนี้การบริหารทางจิตที่ดี คือการศึกษาพฤติกรรมการใช้จ่ายของเราในปัจจุบัน และโครงการที่มีในอนาคต ควรจำไว้ว่าปัจจัยในรายได้ที่หนักหน่วง เช่น การซื้อที่อยู่อาศัย รถยนต์ หรือค่าใช้จ่ายต่างๆ เกี่ยวกับการศึกษาของบุตร คุณยินดีที่จะยอมรับภาระเหล่านี้ตั้งแต่วันนี้หรือไม่?

หากคำตอบคือไม่ นั่นคือถึงเวลาที่จะจัดเรียงลำดับความสำคัญ และการตัดสินใจทางการเงิน เริ่มต้นด้วยการตัดสินใจครั้งแรกที่คุณจะใช้ในแต่ละเดือนเป็นเงินเดือน

ไม่เคยมีแผนออมเงิน (เลย?)

ชีวิตมนุษย์เงินเดือน ใครๆ ก็บ่นว่าเงินเก็บไม่ค่อยจะมี แต่เชื่อเถอะว่า หากตั้งใจจะเก็บออมเงินให้ได้จริงๆต่อให้เป็นมนุษย์เงินเดือนฐาน 1.5 หมื่นบาท ก็สามารถเก็บเงินให้ถึงหลักแสนบาท ยาวไปถึงหลักล้านบาทได้ขอแค่มีวินัยในการใช้จ่าย และมีความขยันอดทน

สูตร 30-45-25 คือกันเงินก้อนไว้ก่อน 30% สำหรับเงินออม สำหรับใช้จ่ายยามฉุกเฉินย่อมเป็นทางเลือกที่ควรทำเพื่ออนาคตที่มั่นคง นอกจากนั้น 30% นี้ หมายรวมถึงการลงทุนด้วย อาจจะแบ่งย่อยง่ายๆ ด้วยการออมเงิน 20% และนำไปลงทุนอีก 10% ซึ่งการลงทุน ก็ไม่ใช่เพียงการลงทุนในสินทรัพย์ อย่างเช่น หุ้น และกองทุนรวมเท่านั้น การลงทุนในความรู้เองก็สำคัญ ลองเอาเงินส่วนนี้ไปหาคอร์สเรียนเพิ่มทักษะในการทำงานเพิ่มก็ดี ส่วนอีก 45% คือรายจ่ายที่ต้องจ่ายทุกเดือน และอีกก้อน 25% ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน

เมื่อแยกส่วน “เงินออม” และ “รายจ่ายที่ต้องจ่ายทุกเดือน” ออกไป ก็จะเหลือเงินอีกส่วนสำหรับการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เช่น ค่าอาหาร ถ้าไม่อยากให้รายจ่ายส่วนนี้เกินกว่างบที่ตั้งไว้ แนะนำให้เอาจำนวนเงินหารจำนวนวัน ทีนี้ก็จะรู้แล้วชัดๆ แม่นๆ ว่าในแต่ละวัน เราสามารถใช้จ่ายได้ไม่เกินวันละเท่าไร

ลองถามตัวเองดูว่าเคยจัดระบบการเงินแบบนี้หรือไม่? ถ้าไม่เคย ถามซ้ำอีกครั้งเพื่อสุขภาพทางการเงินทำไมไม่ทำ?!!

บทความโดย : 40plus.posttoday.com

 929
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์