วงจรบัญชี (Accounting Cycle)

วงจรบัญชี (Accounting Cycle)

วงจรซื้อ

เมื่อมีการซื้อสินค้า เอกสารที่กิจการจะได้รับใบกำกับภาษีซื้อเป็นชุด (ต้นฉบับ และ สำเนา)

1.ให้นำต้นฉบับใบกำกับภาษีซื้อที่ได้รับ  มาจัดเรียงตามวันที่และใส่ลำดับเลขที่ใหม่ ดังนี้  เดือน…../ลำดับที่…….

2.ให้นำต้นฉบับใบกำกับภาษีซื้อ มาจัดทำรายงานภาษีซื้อ  (เตรียมยื่นนำส่งภาษี ภ.พ.30)

3.ในกรณีที่เป็นใบกำกับภาษีซื้อต้องห้าม เช่น ใบกำกับภาษีซื้อค่าอาหาร  ซื้อขนม  เป็นต้น  ให้นำมาหักออกจากรายภาษีซื้อ

4.ในกรณีใบกำกับภาษีซื้อล่าช้า  สามารถล่าช้าได้  6  เดือน   ถ้าได้รับในเดือนใด  ให้นำมาจัดทำรายงานภาษีซื้อในเดือนนั้น  โดยให้หมายเหตุไว้ที่ใบกำกับภาษีด้วยว่า  ถือเป็นใบกำกับภาษีซื้อเดือน…….

5.เมื่อลงรายการภาษีซื้อแล้ว  ให้นำต้นฉบับใบกำกับภาษีเก็บเข้าแฟ้มเป็นหลักฐาน  โดยเรียงตามลำดับที่ในรายงานภาษีซื้อ

6.นำสำเนาใบกำกับภาษีซื้อ  มาจัดทำใบตรวจรับพัสดุ

7.นำใบตรวจรับพัสดุ  มาบันทึกรายการในสมุดรายวันซื้อ  พอสิ้นเดือนจึงสรุปยอด

 

วงจรขาย

เมื่อมีการขายสินค้า   ต้องจัดทำใบกำกับภาษีขายขึ้น ต้องมีต้นฉบับ และสำเนา (ต้นฉบับ = 1+ สำเนา 5 )

1.นำรายการขายสินค้ามาจัดทำใบกำกับภาษีขาย  แล้วนำต้นฉบับใบกำกับภาษีขาย + สำเนา 1 ใบ  ให้ลูกค้า

2.นำสำเนาใบกำกับภาษีขายมาจัดทำรายงานภาษีขาย

3.นำใบกำกับภาษีขายมาบันทึกรายการในสมุดรายวันขาย  สิ้นเดือนสรุปยอด

4.นำใบกำกับภาษีขาย  มาจัดทำบัญชีคุมสินค้าทางด้านรายจ่าย

5.สิ้นเดือนรวมยอดต้นทุนสินค้าที่ขายในบัญชีคุมสินค้า  บันทึกต้นทุนขายในสมุดรายวันทั่วไป

 

วงจรรับ

เมื่อเราขายสินค้า ออกใบแจ้งหนี้ วางบิล  เมื่อถึงกำหนดมีการรับชำระหนี้จากลูกค้า  เราจะต้องออกใบเสร็จรับเงินให้ลูกค้า

1.นำต้นฉบับใบเสร็จรับเงินให้ลูกค้า

2.นำสำเนาใบเสร็จรับเงินมาจัดทำใบสำคัญรับเงิน

3.นำใบสำคัญรับมาบันทึกรายการในสมุดรายวันรับ  สิ้นเดือนสรุปยอด

 

วงจรจ่าย

เมื่อเราสั่งซื้อสินค้ามาเพื่อขาย  เจ้าหนี้มาวางบิล   เมื่อถึงกำหนดจ่ายชำระหนี้  เราจะต้องนำใบรับสินค้า สำเนาใบกำกับภาษีซื้อมาจัดทำใบสำคัญจ่าย

1.เมื่อมีการจ่ายค่าจ้าง  ค่าบริการ  ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย  อัตราร้อยละ 3  และต้องออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย (จัดทำ 4 ฉบับ) ต้นฉบับ+สำเนา 1 ใบให้ลูกค้า และ สำเนา 1 ใบให้นำมาแนบไว้กับใบสำคัญจ่าย  ส่วนสำเนา 1 ใบเก็บเข้าแฟ้ม

2.ตั้งวงเงินสดย่อย (ผู้ที่ถือเงินสดย่อย เรียกว่า ผู้รักษาเงินสดย่อย) ให้จัดทำใบสำคัญจ่ายเพื่อตั้งวงเงินสดย่อย (ตามแต่จะกำหนด)

3.เมื่อผู้รักษาเงินสดย่อยนำรายการค่าใช้จ่ายมาเบิกชดเขยค่าใช้จ่าย (จะต้องมีหลักฐานการจ่ายเงินมาแสดงด้วย)  ให้จัดทำใบสำคัญจ่ายตามยอดค่าใช้จ่ายที่เกิด

4.เมื่อถึงกำหนดนำส่งภาษี เช่น ภ.ง.ด.1,ภ.ง.ด.3,ภ.ง.ด.53  (ภาษีหัก ณ ที่จ่าย) และ ภ.พ.30 (ภาษีซื้อภาษีขาย)  ทำใบสำคัญจ่ายตามยอดเงินที่ต้องจ่าย โดยแนบใบแสดงรายการยื่นแบบ  เมื่อมีการนำส่งเงินประกันสังคม ก็ทำเช่นเดียวกัน

5.การจ่ายเงินเดือน ต้องตั้งเงินเดือนค้างจ่าย  และบันทึกค่าประกันสังคมในส่วนที่เป็นของนายจ้าง ซึ่งถือเป็นรายจ่ายของกิจการในสมุดรายวันทั่วไป  คำนวณเงินเดือนที่ต้องจ่ายจริงหลังหักภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย และเงินประกันสังคมส่วนของลูกจ้าง แล้วจัดทำใบสำคัญจ่ายเงินเดือน

6. นำใบสำคัญจ่ายมาจัดเรียงตามวันที่   ใส่เลขที่เอกสาร

7. นำใบสำคัญจ่ายไปบันทึกรายการในสมุดรายวันจ่าย  สิ้นเดือนสรุปยอด

บทความโดย : www.isstep.com

 8467
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์