เริ่มต้นดีกับ 6 วิธี การวางแผนทางการเงิน

เริ่มต้นดีกับ 6 วิธี การวางแผนทางการเงิน

เริ่มต้นดีกับ 6 วิธี การวางแผนทางการเงิน

1. การวางแผนใช้จ่าย

ขั้นแรกของการวางแผนการเงิน คือ การบริหารรายรับรายจ่าย โดยปกติทั่วไปเรามักจะใช้จ่ายก่อนเหลือเท่าไหร่ค่อยออม ซึ่งถ้าใช้สูตรนี้สำหรับการออมมักไม่ค่อยเหลือ การบริหารจัดการรายได้ ค่าใช้จ่าย จะเป็นรากฐานของการวางแผนที่ดี สูตรเงินออมที่ใช้ควรเริ่มจาก การออมก่อนใช้จ่าย และควรกันเงินสำรองไว้ฉุกเฉินอย่างน้อย 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน โดยอาจอยู่ในรูปของเงินสด เงินฝากธนาคาร เผื่อที่ว่าเวลามีเหตุฉุกเฉินเราก็สามารถนำมาใช้ได้อย่างทันท่วงที ไม่ต้องไปกู้หนี้ใคร

 

2. การวางแผนลงทุน

เมื่อสามารถเก็บสะสมเงินออมได้ในระดับหนึ่ง การนำเงินออมออกมาลุงทุนก็เป็นวิธีที่ช่วยเพิ่มผลตอบแทนให้งอกเงย เพราะการออมเงินในบัญชีเงินฝากอย่างเดียวไม่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ชนะอัตราเงินเฟ้อได้ ปัจจุบันทางเลือกการลงทุนมีหลากหลายไม่ว่าจะเป็น พันธบัตร หุ้นกู้ หุ้นสามัญ ทองคำ หรือกองทุนรวม สิ่งสำคัญก็คือ การเลือกลงทุนที่เหมาะกับเรา ผู้ลงทุนควรลงทุนตามระดับความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้ และควรติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างสม่ำเสมอ

 

3. การวางแผนประกัน และการจัดการความเสี่ยง

เหตุการณ์ไม่คาดฝันต่างๆ เช่น อุบัติเหตุเจ็บป่วย และภัยทางธรรมชาติ สามรถเกิดขึ้นได้เสมอ และทำให้ความมั่งคั่งทางการเงินของเราลดลง การจัดการความเสี่ยงที่ดีจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น เพราะสามารถบรรเทาคุ้มครองให้ชีวิตและทรัพย์สินของเราถูกกระทบจากความไม่แน่นอนเหล่านี้น้อยที่สุด การวางแผนประกันเป็นวิธีการจัดการความเสี่ยงที่ดีแบบหนึ่ง โดยโอนความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับชีวิตและทรัพย์สินของเราไปยังบริษัทประกันชีวิตและวินาศภัย

 

4.การวางแผนภาษี

เมื่อรายได้เพิ่มสูงขึ้นภาระภาษีก็เพิ่มขึ้นตามอัตราขึ้นบันได กลายเป็นว่ายิ่งรายได้สูงก็จะมีรายจ่ายภาษีที่สูงตามติดเป็นเงาตามตัวไปด้วย การวางแผนภาษีจึงเป็นวิธีที่ช่วยลดภาระภาษีลงได้อย่างถูกกฏหมาย กลยุทธ์การวางแผนภาษีมีหลายรูปแบบ เช่น การกระจายหน่วยรายได้ การเลื่อนเวลารับรายได้ การแยกยื่นภาษี และการใช้สิทธิ์ลดหย่อนต่างๆ เป็นต้น

 

5. การวางแผนเกษียณ

หลายคนละเลยที่จะวางแผนเกษียณ เนื่องจากคิดว่าควรวางแผนเกษียณตอนอายุมาก จริงๆแล้วเราควรเริ่มวางแผนเกษียณตั้งแต่ช่วงที่อายุยยังไม่มาก หรือว่าในช่วงที่การงานเริ่มมีความมั่นคง เพราะหากเริ่มออมเงินแต่เนิ่นๆ จำนวนที่ต้องเก็บออมในแต่ละปี ก็จะเป็นจำนวนเงินไม่มากนัก

 

6. การวางแผนมรดก

ซึ่งมีไว้เผื่อจัดการแบ่งทรัพย์สินให้ทายาทตามเจตนาของเจ้าของทรัพย์สิน หากไม่ได้มีการวางแผนมรดกไว้เมื่อเจ้าของทรัพย์สินเสียชีวิตมรดกจะตกทอดไปยังบุคคลที่กฎหมายกำหนด ซึ่งอาจไม่ตรงเจตนารมณ์ของเจ้าของทรัพย์สินก็เป็นไปได้ การวางแผนมรดกจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพื่อให้เราสามารถเตรียมส่งมอบทรัพย์สินให้กับทายาทได้ตรงตามความต้องการของเรา 

                                                                                  .....................................................................................................

หากใครอยากเริ่มต้นการวางแผนเริ่มต้นการเงินสามารถเริ่มต้นด้วยตัวเองง่ายๆ ด้วยการวางแผนใช้จ่ายก่อน หลังจากนั้นค่อยตามมาด้วยแผนอื่นๆ ที่จะช่วยสะสมและปกป้องความมั่งคั่งของคุณ ให้ความฝันของการใช้ชิวตเป็นจริงได้ด้วยการวางแผนที่ดี

บทความโดย : www.smartsme.co.th

 2372
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์