1. FIFO เข้าก่อน-ออกก่อน เหมาะสำหรับการตัดสต็อกที่ใช้สำหรับของที่มีวันที่หมดอายุกำกับไว้ อาจจะเนื่องด้วยพนักงานสต็อกจะต้องคอยเช็ควันที่หมดอายุบนสินค้าเสมอๆอยู่แล้ว
2. LIFO เข้าหลัง-ออกก่อน เหมาะสำหรับการตัดสต็อกสินค้าที่ตกเทรนเร็วแบบคอมพิวเตอร์ หรือสินค้าเทคโนโลยีอื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะทำโปรโมชั่นมาล่อตาล่อใจให้ลูกค้าซื้อรุ่นใหม่ๆ ดังนั้นพนักงานก็ต้องตัดสต็อกตัวที่ใหม่ที่สุดออกก่อน เพราะทิ้งไว้นานไปราคาทุน ณ ปัจจุบันจะไม่ตรงกับราคาที่ขายไป
3. Weighted Average ถัวเฉลี่ยน้ำหนัก เหมาะกับสินค้าที่ไม่มีวันหมดอายุกำกับ และราคาขึ้นลงไม่มากนัก (คอมพิวเตอร์หรือสินค้าเทคโนโลยีจะขึ้นลงทีเป็นหลักร้อยหลักพัน) ซึ่งเหมาะกับการนำมาใช้ทำสต็อกวัสดุคงเหลือของสำนักงาน
ปัญหาของการใช้ Weighted Average หรือการถัวเฉลี่ยราคาทุนต่อหน่วย จะมีอยู่ 2 รูปแบบ
1. แบบ Periodic Inventory เป็นการคิดราคาทุนถัวเฉลี่ยของสินค้าคงเหลือปลายงวด นั่นก็คือ บันทึกการรับเข้าด้วยราคาต่อหน่วยที่ต่างกัน ส่วนตอนบันทึกจ่ายระบุเพียงจำนวนไม่ต้องระบุราคา เมื่อถึงปลายงวดก็หาราคาเฉลี่ยต่อหน่วยและนำไปคำนวณหาราคาทุนคงเหลือ เพื่อหักยอดรวมออก ก็จะได้เป็นต้นทุนจ่าย ณ วันที่ทำรายงาน
https://krurabieb.wordpress.com/2007/12/10/การตีราคาสินค้าคงเหลือ |
ตัวอย่างแบบฟอร์มการขอเบิกจ่าย แบบไม่ระบุราคาต่อหน่วย |
2. แบบ Perpetual Inventory จะเป็นการคิดราคาทุนเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average Method) คือจะระบุราคาการเบิกจ่ายแต่ละครั้งลงไปด้วย ดังนั้นก็จะต้องคำนวณราคาทุนที่มีอยู่ก่อนกับการรับเข้ามาใหม่ทุกครั้งที่มีการเบิกจ่าย
https://krurabieb.wordpress.com/2007/12/10/การตีราคาสินค้าคงเหลือ |
ตัวอย่างแบบฟอร์มขอเบิกจ่าย แบบระบุราคาต่อหน่วย |
สำหรับปัญหาที่เจอในการถัวเฉลี่ยแบบ Moving Average ก็คือเรื่องจุดทศนิยมของราคาต่อหน่วย เมื่อหารไม่ลงตัว จะเกิดผลรวมที่ไม่ตรงกัน