กระบวนการควบคุมสินทรัพย์ถาวร

กระบวนการควบคุมสินทรัพย์ถาวร

การควบคุมสินทรัพย์ถาวรแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ ดังต่อไปนี้
ระยะแรก เริ่มตั้งแต่การจัดหาสินทรัพย์ ใช้ในการดำเนินงาน ซึ่งจะต้องมีการทำงบประมาณสินทรัพย์ถาวร และมีการจัดซื้อที่มีการควบคุมภายในที่ดี
ระยะที่สอง เริ่มตั้งแต่เมื่อได้สินทรัพย์มาไว้ ในครอบครองแล้ว ซึ่จะต้องมีการจัดหมวดหมู่ ให้รหัส ทำบัญชีคุมสินทรัพย์ทำการประกันภัย กำหนดวิธีการคิดค่าเสื่อมราคาและควบคุมค่าใช้จ่ายต่างๆ เกี่ยวกับสินทรัพย์ถาวรและตรวจนับสินทรัพย์ถาวรเมื่อสิ้นงวด
ระยะที่สาม คือเวลาที่เลิกใช้สินค้าทรัพย์ั้น ซึ่งจะต้องมีการขออนุมัติจำหน่ายและกำหนดวิธีการจำหน่ายการได้มาซื้อสินทรัพย์ถาวรมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับระบบบัญชีสำาหรับการจัดซื้อ แต่เนื่องจากสินค้ามีราคาสูงกว่าสินค้าที่ซื้อมาขายตามปกติ จึงต้องใช้วิธีที่รัดกุมยิ่งขึ้น ดังนั้นการขออนุมัติการจัดซื้อในสินทรัพย์ถาวรที่มีมูลค่าสูง จึงมักจะมีคณะกรรมการที่ประกอบด้วยผู้บรหารระดับต่าง ๆ ในการพิจารณาอนุมัติการจัดซื้สินทรัพย์ถาวรนั้น ๆวัตถุประสงค์ ในการวางระบบบัญชีสำาหรับสินทรัพย์ถาวร
1. การจัดซื้อสินค้าทรัพย์ถาวรได้มีการอนุมัติอย่างถูกต้อง และวิธีการจัดซื้อเป็นไปตามกฎระเบียบที่กำหนดไว้
2. การบันทึกรายการสินทรัพย์ถาวรเป็นไปอย่างถูกต้องครบถ้วน ในราคาต้นทุนและมีการบันทึกการคำนวณค่าเสื่อมราคาอย่างเหมาะสม
3. มีการควบคุมสินทรัพย์ ให้ปลอดภัยจากการทุจรตและความเสีหายทั้งปวง ทั้งในขณะที่ใช้งานและเมื่อเลิกใช้วิธีการปฏิบัติ ในระบบบัญชีสำาหรับสินทรัพย์ถาวรการควบคุมสินทรัพย์ถาวรซึ่งได้แบ่งเป็น 3 ระยะข้างต้น มีวิธีการปฏิบัติ ในแต่ละระยะ ดังนี้การทำงบประมาณสินทรัพย์ถาวรและการอนุมัติการเสนอซื้การทำงบประมาณเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งทางการบริหารที่ใช้ ในการวางแผนการดำเนินงานล่วงหน้า และควบคุมรายงจ่ายของกิจการ ดังนั้นการจัดทำงบประมาณสินทรัพย์ถาวร แผนกต่าง ๆจะเป็นผู้จัดทำเพื่อแสดงความต้องการในการจัดซื้อสินทรัพย์มาใช้งานเพิ่มเติมหรือทดแทนของเดินอกจากนี้ การทำงบประมาณสินทรัพย์ถาวรยังช่วยในการติดตามและเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นว่ารายจ่ายที่เกิดขึ้นจริงในการจัดซื้สินทรัพย์ั้นอยู่ ในวงเงินงบประมาณที่ได้กำหนดไว้สำหรับแต่ละแผนกหรือไม่ซึ่งการจัดซื้อสินทรัพย์ถาวรชนิดใดต้องพิจารณาถึความต้องการใช้และผลตอบแทนที่จะได้บจากการลงทุนในสินทรัพย์ั้น รวมถึงแหล่งเงินทุนที่มีอยู่ ในปีงบประมาณแต่ละปีมีเพียงพอหรือไม่ ในการจัดซื้อสินทรัพย์ถาวร ควรกำหนดอำนาจในการอนุมัติการเสนอซื้อของผู้บริหารในแต่ละระดับให้ชัดเจน เช่หัวหน้าแผนกมีอำนาจอนุมัติ ในจำนวนเงินตั้งแต่ 0 – 5,000 บาทผู้จัดการฝ่ายมีอำนาจอนุมัติ ในจำนวนเงินตั้งแต่ 5,001 – 20,000บาทกรรมการผู้จัดการมีอำนาจอนุมัติ ในจำนวนเงินตั้งแต่ 20,001 -100,000 บาทคณะกรรมการบริษัทมีอำนาจอนุมัติ ในจำนวนเงินมากกว่า100,000 บาทขึ้นไปการกำหนดอำนาจอนุมัติเช่นนี้ นอกจากจะเป็นระบบการควบคุภายในที่ดีแล้ว ยังเป็นการลดภาระงานของผู้บริหารระดับสูงที่ ไม่ต้องพิจารณาอนุมัติรายการเสนอซื้อที่มีรายการไม่สูงมากนัก และทำให้การปฏิบัติงานในการเสนอซื้อเป็นไปด้วยความรวดเร็วยิ่งขึ้
บทความโดย : www.scribd.com
 1359
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์