การบัญชีสำหรับมูลค่ายุติธรรม

การบัญชีสำหรับมูลค่ายุติธรรม

การวัดมูลค่าองค์ประกอบ งบการเงินในงบแสดงฐานะการเงินและงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จมีหลายวิธีในการกำหนดมูลค่า ได้แก่ ราคาทุนเดิม ราคาในปัจจุบัน มูลค่าที่จะ ได้รับ และมูลค่ายุติธรรม ซึ่งการเลือกใช้วิธีการใดในการวัดมูลค่าขึ้นอยู่กับความต้องการของกิจการและจะต้องเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปและมาตรฐานการบัญชี

การวัดมูลค่าหรือการเปิดเผยข้อมูลในปัจจุบัน มีการนำแนวความคิดในเรื่องมูลค่ายุติธรรม (Fair Value) มาใช้กันมากขึ้น จะเห็นได้จากการที่มาตรฐานการบัญชีหลายๆ ฉบับ ได้กำหนดให้การวัดมูลค่าโดยใช้มูลค่ายุติธรรมเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการวัดมูลค่าสินทรัพย์หรือหนี้สิน (เช่น ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน สามารถเลือกแสดงด้วยราคาที่ตี ใหม่ได้) รวมทั้งมีมาตรฐานการบัญชีบางฉบับกำหนดให้ใช้การวัดมูลค่าด้วยวิธีมูลค่ายุติธรรมเท่านั้น (เช่น เงินลงทุนในหลักทรัพย์ เพื่อค้า หลักทรัพย์เผื่อขายต้องแสดงด้วยมูลค่ายุติธรรม ณ วันสิ้นงวด) รวมทั้งแม่บทการบัญชีของคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ (International Accounting Standard Board: IASB ได้ปรับลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงินให้ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ (Relevance) และการเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม (Representa- tion Faithfulness) เป็นลักษณะหลัก เนื่องจากลักษณะดังกล่าวสอดคล้องกับมูลค่ายุติธรรมนั่นเอง การบัญชีสำหรับมูลค่ายุติธรรมนี้เป็นการเปลี่ยนแนวคิดจากราคาทุน (Cost Base) เป็นมูลค่ายุติธรรม (Fair Value Base) เพื่อเป็นการสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาของรายการในงบการเงิน

าคาทุนเดิม

แม่บทการบัญชีของคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชี สภาวิชาชีพบัญชีฯ ได้ให้ คำจำกัดความของราคาทุนเดิม (Historical Cost) ว่าหมายถึง การบันทึกสินทรัพย์ด้วยจำนวนเงินหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่จ่ายไป หรือบันทึกด้วยมูลค่ายุติธรรมของสิ่งที่นำไปแลกสินทรัพย์มา ณ เวลาที่ได้มาซึ่งสินทรัพย์นั้น และการบันทึกหนี้สินด้วยจำนวนเงินที่ได้รับจากการก่อภาระผูกพัน หรือบันทึกด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่คาดว่าจะต้องจ่ายเพื่อชำระหนี้สินที่เกิดจากการดำเนินงานตามปกติของกิจการ

ข้อดีของราคาทุนเดิม

ราคาทุนเดิมเป็นราคาที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เพราะเป็นราคาที่มีหลักฐาน ซึ่งสามารถตรวจสอบได้แน่นอน เนื่องจากเป็นราคาที่ตกลงกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ราคาทุนยังช่วยแก้ปัญหาความยุ่งยากอันเนื่องมาจากมูลค่าของสินทรัพย์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา อย่างไรก็ตาม การวัดมูลค่าสินทรัพย์ตามราคาทุนมี ข้อเสียอยู่หลายประการ เช่น สินทรัพย์ยังคงแสดงในราคาทุนเดิม ทั้งที่มูลค่าในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงจนราคาทุนเดิมไม่มีความหมาย และไม่ได้คำนึงถึงกำไรขาดทุนอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงราคาของสินทรัพย์

ราคาทุนเดิมได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจากนักบัญชี และถือว่าเป็นวิธีการพื้นฐานสำหรับมาตรฐานการบัญชีหลายๆ ฉบับ เพราะว่าเป็นราคาที่มีหลักฐานอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงและสามารถตรวจสอบได้แน่นอน โดยราคาทุนเดิมถือว่าเป็นราคาที่ตกลงกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย (Arm’s-length Transaction) ซึ่งลักษณะของรายการเกิดขึ้นกับบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องกัน จึงช่วยหลีกเลี่ยงการขัดแย้งทาง ผลประโยชน์ นอกจากนี้ รายการที่เกิดขึ้นต่างๆ จะต้องมีเอกสารประกอบการเกิดรายการ ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานที่ช่วยให้สามารถตรวจสอบจากคู่ค้าหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ ดังนั้น ข้อดีที่สำคัญของราคาทุนเดิม คือมีหลักฐานที่สามารถตรวจสอบได้แน่นอน ราคาทุนเดิมยังเพิ่มความสะดวกให้แก่นักบัญชี เนื่องจากช่วยแก้ปัญหาและลดความยุ่งยากจากมูลค่าของสินทรัพย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เหตุผลหลักที่ราคาทุนเดิมได้รับการยอมรับจากนักบัญชีในการนำมาเป็นแนวทางในการวัดมูลค่าคือ นักบัญชีเชื่อว่าราคาทุนเดิมเป็นการสะท้อนราคาที่แท้จริงของสินทรัพย์ในขณะที่เกิดรายการ ดังนั้น การที่ นักบัญชีให้ความเชื่อถือต่อการแสดงมูลค่าของสินทรัพย์หรือหนี้สินด้วยราคาทุนเดิม ทำให้ราคาทุนเดิมยิ่งมีความน่าเชื่อถือมาก

ข้อเสียของราคาทุนเดิม

การวัดมูลค่าสินทรัพย์ตามราคาทุนเดิม ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่ สินทรัพย์และหนี้สินยังคงแสดงในราคาทุนเดิม ทั้งที่มูลค่าในปัจจุบันมี การเปลี่ยนแปลงจนราคาทุนเดิมไม่ได้สะท้อนราคาที่แท้จริงของรายการดังกล่าว ทำให้ข้อมูล การเงินที่ปรากฏในงบแสดงฐานะการเงิน ไม่สอดคล้องและใกล้เคียงกับความเป็นจริงกับการที่จะนำไปใช้ในกระบวนการวางแผน และพิจารณาตัดสินใจ ซึ่งนักวิจารณ์หลายท่าน กล่าวว่า ความเหมาะสมและทันต่อสถานการณ์ถือว่ามีความสำคัญมากกว่าการมีหลักฐาน อันเที่ยงธรรม (Objectivity) และความสามารถตรวจสอบได้ (Verifiability) เนื่องจากการ นำเสนอฐานะการเงินและผลการดำเนินของกิจการจะต้องสอดคล้องใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด โดยงบการเงินที่นำเสนอจะต้องสะท้อนความรับผิดชอบของฝ่ายบริหารที่มี ต่อการบริหารทรัพยากรขององค์การให้เกิดประโยชน์ ความสามารถในการบริหารการเงิน ความสามารถในการชำระหนี้

บทความโดย : http://www.sanpakornsarn.com

 10102
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์