งบของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นั้น เวลาเค้าประกาศงบ จะให้มาทั้งหมด 5 อย่าง และ 1 ของแถม อะไรคือของแถมวะนี่ ? งบการเงินไม่ได้มีแค่งบดุล หรืองบกำไรขาดทุน ยังมีอีก 3 งบประกอบกัน ซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้กัน ในบทความนี้จะอธิบายจุดประสงค์แต่ละงบอย่างง่ายๆ ก่อนนะครับ
(เปลี่ยนชื่อให้ดูดีขึ้น 55) ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าแสดงฐานะของกิจการว่ามั่งคั่งแค่ไหนถ้าเคยท่องสมการบัญชีมา ก็เป็น
ต้องเท่ากัน (ดุลกัน) เค้าเลยเรียกว่างบดุล สิ่งที่จะดูหลักๆ คือ มีสินทรัพย์เท่าไหร่ประกอบมาจากหนี้สินเท่าไหร่ ทุนจากเจ้าของเองเท่าไหร่ โดยเบื้องต้นเท่านี้ก่อนนะครับเพราะเรื่องยาวมาก
บอกให้ทราบถึงผลการดำเนินงานว่ามี รายได้ มากกว่า ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ ก็จะเหลือเป็นกำไร ถ้าน้อยกว่าก็ขาดทุนซึ่งจะบอกด้วยว่า ค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนเท่าไหร่ เป็นค่าใช้จ่ายการบริหารเท่าไหร่ ดอกเบี้ย ภาษี สุดท้ายแล้วเหลือกำไร และ EPS เท่าไหร่
จุดประสงค์บอกถึงแหล่งที่มาและใช้ไปในกิจกรรมต่างๆ ของกิจการ มีทั้งหมด 3 กิจกรรมดังต่อไปนี้
กิจกรรมดำเนินงาน (จะสัมพันธ์กับงบกำไรขาดทุน) แต่เราจะดูเงินสดจริงๆ ที่รับเข้า จ่ายออกเท่านั้น
กิจกรรมลงทุน ดูว่ากิจการนำเม็ดเงินไปลงทุนอะไรบ้าง หรือขายสินทรัพย์ที่เคยลงทุนไว้ได้เงินเท่าไหร่เข้ามา
กิจกรรมการจัดหา การจัดหาเงินของกิจการ ก็มาจาก 2 แหล่งหลัก ๆ คือ จากการกู้ (เป็นหนี้) และ จากส่วนของเจ้าของเอง (ทุน) ทำให้ทราบว่าเงินที่จัดหามานั้นมาจากแหล่งใด สามารถประเมินความเสี่ยงของบริษัทได้ รวมทั้งเงินปันผลที่จ่ายออกไปยังผู้ถือหุ้นด้วย
งบนี้เชื่อว่าหลายๆ ท่านไม่ค่อยได้ดู แต่จริงๆ แล้วดูไม่ยาก งบนี้จะเกี่ยวกับเรื่องของทุน คือในรอบปีที่ผ่านมา ทุนมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง สิ่งที่ทำให้ทุนเพิ่มขึ้น ก็เช่น มีกำไร เพิ่มทุน และสิ่งที่ทำให้ทุนลดลงก็เช่น ขาดทุน จ่ายปันผล ซึ่งจะสรุปไว้ให้ดูในงบนี้ สะดวกต่อการดูมากๆ ใช้ในการเช็คได้ว่าปีที่ผ่านบริษัทมีการเพิ่มทุนอะไรหรือไม่
บอกรายละเอียดเพิ่มเติมจากจากงบการเงินทั้ง 4 งบข้างต้น เกณฑ์ในการจัดทำงบ นโยบายบัญชีต่างๆแต่สิ่งที่อยากจะเน้นให้ดูทุกครั้ง (อย่างน้อยแล้วกันครับ) คือ ลูกหนี้การค้าในงบดุลจะบอกเฉพาะว่า สุทธิแล้วลูกหนี้การค้ามีจำนวนเท่าใดเพียง 1 บรรทัด แต่ในหมายเหตุฯ จะอธิบายเพิ่มเติมถึงอายุของลูกหนี้การค้าที่ค้างชำระ และยังมีรายการอื่นๆ อีกมากมายที่น่าสนใจ และผมขอเน้นว่าอย่างน้อยแล้วกันนะครับ รายนี้ยังไงก็ต้องดู ไฟท์บังคับ
บทความโดย : http://www.mrlikestock.com