เตือนภัยทางการเงิน มิติใหม่ทางการบริหาร

เตือนภัยทางการเงิน มิติใหม่ทางการบริหาร

มุ่งมั่นพัฒนาเครื่องมือทางการเงิน

             การเตือนภัยทางการเงินเป็นมิติหนึ่งที่มีความจำเป็นและสำคัญยิ่งต่อการบริหารงาน  และด้วยความมุ่งมั่นของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ต่อการพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็งพึ่งตนเอง จึงได้สร้างและ   
พัฒนาเครื่องมือเฝ้าระวังและเตือนภัยทางการเงินของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร   เพื่อใช้เป็นกลไกหนึ่งทางการ บริหารสู่ความมั่นคง เข้มแข็ง อิสระ และพึ่งตนเองของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้ในที่สุด 

  แนวคิดมุมมองการเตือนภัยทางการเงิน

            เพื่อเป็นการกระตุ้นแนวคิดต่อมุมมองการเตือนภัยทางการเงินให้กับขบวนการสหกรณ์ ผู้สอบบัญชีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ได้รับเกียรติจาก ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์    
เศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้า และ ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ (หัวหน้าฝ่ายวิจัย) บริษัทหลักทรัพย์์ ภัทร จำกัด มาร่วมสร้างแนวคิดมุมมองการเตือนภัยทางการเงินผ่านการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง   “เตือนภัยทาง
การเงิน...มิติใหม่ทางการบริหาร” โดยมี คุณศิริบูรณ์ ณัฐพันธ์ เป็นผู้ดำเนินรายการ เมื่อวันที่ 10   มีนาคม 2551 ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์   ถ.วิภาวดี-รังสิต   กรุงเทพมหานครการเสวนาครั้งนี้เติมเต็มเนื้อหาสาระที่น่าสนใจ ทั้งในมุมมองภาคธุรกิจและภาคสหกรณ์ ดังนี้ 

  บริหารความเสี่ยงทุกมิติที่เกี่ยวเนื่อง 

           ภาคธุรกิจต่างๆ จะมีการตั้งกรรมการบริหารความเสี่ยง Risk Management Committee เพื่อเตือนภัยให้เห็นถึงความเสี่ยงของธุรกิจที่เป็นกังวล  และเพื่อการทำแผนธุรกิจในแต่ละปี   วางเป้าหมายเกี่ยวกับปริมาณเงิน  กำไรรวมถึงการติดตามสถานการณ์ทางธุรกิจ และการเมืองของประเทศไทยและของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งระยะหลังความผันผวนของธุรกิจมีความผันผวนสูงมากเปลี่ยนไปจากที่คาดหมาย   แสดงว่า  สถานการณ์มีความเสี่ยงรุนแรง
เงินเฟ้อรุนแรง ธุรกิจแย่ลง เศรษฐกิจซึม คนมีเงินน้อยลง ซึ่งเกี่ยวพันกับมิติด้านบุคคล  แต่มิติที่ผูกพันกับสหกรณ์คือ  ดอกเบี้ย ซึ่งต้องสูงกว่าเงินเฟ้อ เพราะเงินเฟ้อคืออำนาจในการซื้อ   ซึ่งดอกเบี้ยเงินฝาก   ควรเกินร้อยละ 5  สำหรับประเทศไทยการทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงในระยะสั้นไม่ง่ายนัก  แต่อาจต้องปรับตัว   ถ้าเงินเฟ้อสูงดอกเบี้ยก็ต้องขึ้น

 CAM หัวใจแห่งความมั่นคง
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์  ได้พัฒนาเครื่องมือเตือนภัยทางการเงินที่มีประโยชน์    ตามมาตรฐานสากลของการวิเคราะห์  CAMELS  6  มิติ  ที่ธนาคารพาณิชย์ที่ใช้กันทั่วโลก  C  คือ ตัวที่วัดความเข้มแข็งของเงินทุน   คือ คุณภาพของสินทรัพย      M   คือ อัตราการใช้จ่ายไม่ให้สูงมากเมื่อเทียบกับกำไรเกินกว่าครึ่งCAM  จึงเป็นหัวใจสำหรับความมั่นคงของสถาบันการเงินที่สำคัญมากที่สุด    ถือว่าเป็นปัจจัยพื้นฐาน ถ้าได้มอง  3 มิติหลักนี้ ทำให้มั่นใจได้ว่าสามารถบริหารผ่านวิกฤติได้     สำหรับ   ELS   ขึ้นอยู่กับสภาวการณ์ว่ามีโอกาสทำกำไรมากน้อยเพียงไรถือเป็นส่วนเติมเต็ม

  CFSAWS:ss  เครื่องมือเตือนภัยภาคสหกรณ์
สถานการณ์ทางการเงินมีการปรับเปลี่ยน ความไม่แน่นอนและปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นตามมา    จึงจำเป็นต้องพยามมองหาหัวใจแห่งความมั่นคงทางการเงิน ที่กล่าว คือ  CAM เป็นมาตรฐานสากล ที่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือเตือนภัย CFSAWS เป็นเครื่องมือที่วัดผลในอดีต    เพื่อให้สหกรณ์มองอนาคตให้สามารถมองหาทาง     และปรับตัวเองเพื่ออนาคตได้  ข้อมูลที่ได้นั้นต้องอาศัยการวิเคราะห์เชิงลึกตามสภาพการณ์ของแต่ละสหกรณ์ ซึ่งเครื่องมือเตือนภัย CFSAWS สามารถช่วยได้มาก  หากองค์กรของคุณ มี M, A, C เป็นสีเขียวหรือเข้มแข็งอยู่แล้ว รับรองว่าจะวิกฤติยังไงก็ไม่เจ๊ง แต่มีีตัวเสริมให้องค์กรแข็งแกร่งมากขึ้น   คือ E LS  ซึ่ง  E - ยิ่งดียิ่งได้ผลกำไรมากทำให้เกิดความมั่นคงมาก   L - การบริหารสภาพคล่อง    และ  S - ผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพทางเศรษฐกิจ  ถ้าสหกรณ์ทำได้ทั้ง 6 หลักนี้  จะทำให้องค์กรมีผลกำไรและแข็งแกร่งมาก 

  จุดเริ่มต้นที่ดีในการวิเคราะห์ 

          CFSAWS เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี และได้ผลโดยตรงคือ สะดวก ง่าย และช่วยร่นระยะเวลา ประหยัดเวลาในการทำงาน ซึ่งสามารถนำเอาไปเปรียบเทียบกับมาตรฐานกลาง หรือกลุ่มเพื่อน (Peer Group) ได้ ทั้งนี้ น้ำหนักที่ต้อง
เน้นคือ   E เพื่อเป็นความเจริญเติบโตหรือประโยชน์ของสมาชิกสหกรณ์   S เป็นสิ่งที่ต้องเข้าไปดูรายละเอียดให้มาก เพราะเป็นเรื่องยากต้องอาศัยการประเมิน   การคาดการณ์ที่แม่นยำ   ต้องศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์ทาง  เศรษฐกิจให้ดี 


  สรุป 

          การสหกรณ์เป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงคือ ในส่วนบุคคลถือเป็นการฝึกให้สมาชิกได้รู้จักออม   รู้จักวางแผนการใช้เงิน ในส่วนสหกรณ์ถือเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงขั้นที่ 2   คือ  เชื่อมโยงครัวเรือนมาเป็นกลุ่ม  สหกรณ์เป็นองค์กรที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ     และสหกรณ์เป็นตัวสำคัญของแผนพัฒนาประเทศ  ฉบับที่  10  ที่ต้องส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง และในรัฐธรรมนูญก็ได้ระบุไว้ว่าให้ส่งเสริมสหกรณ์  ดังนั้น สหกรณ์จึงเป็นพื้นฐานสำคัญในการส่งเสริมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สหกรณ์มีภูมิคุ้มกันในตัว เพราะปัจจุบันโลกเปลี่ยนไปเร็ว มีความเสี่ยงสูง ถ้าส่งเสริมสหกรณ์มากๆ จะช่วยให้ประเทศมีภูมิคุ้มกันที่ดี เพียงแต่จะต้องทำอย่างไร ซึ่งเราต่างก็ได้คำตอบจากการเสวนาครั้งนี้
บทความโดย : https://www.cad.go.th
 1423
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์