รายการบทความที่ค้นหา

รายการบทความที่ค้นหา

2277 รายการ
การบัญชี เกี่ยวกับ ธุรกิจการก่อสร้าง จะมีวิธีปฏิบัติทางการบัญชี เกี่ยวกับรายได้ และ ต้นทุนของ สัญญาก่อสร้าง ประเด็นหลักทางการบัญชี เกี่ยวกับสัญญาก่อสร้าง คือ การปันส่วนรายได้และการรับรู้ต้นทุนให้กับงวดบัญชีที่มีการก่อสร้าง เนื่องจาก ลักษณะ ของงานก่อสร้างส่วนใหญ่ มีวันที่เริ่มต้นก่อสร้าง กับ วันที่สิ้นสุดการก่อสร้าง ต่างรอบบัญชีกัน สัญญาก่อสร้าง หมายถึง สัญญาที่ทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อก่อสร้างสินทรัพย์รายการเดียว หรือ ก่อสร้างสินทรัพย์หลายรายการซึ่งมีความสัมพันธ์กัน หรือ ต้องพึ่งพากัน ในด้านการออกแบบ เทคโนโลยี เป็นต้น Reference : มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 11 สัญญาก่อสร้าง
1105 ผู้เข้าชม
อันที่จริง งานของนักบัญชีต้นทุนจะอยู่ในกิจการแทบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรม ผลิตสินค้า กิจการซื้อมาขายไป กิจการขนส่งสินค้า กิจการโทรคมนาคมและเทคโนโลยีการสื่อสาร หรือแม้แต่ร้านอาหาร ภัตตาคาร ร้านกาแฟ ฯลฯ แต่นักบัญชีต้นทุนที่เรามักจะมองเห็นและแยกส่วนงานออกมาชัดเจนจริงๆ มักอยู่ในกิจการที่มีกระบวนการผลิต โดยส่วนประกอบหลักของต้นทุน ได้แก่ 1. วัตถุดิบ 2. ค่าแรง และ 3. โสหุ้ยการผลิต (หรือต้นทุนทางอ้อมต่างๆ) นักบัญชีต้นทุนจะรวบรวมข้อมูลการใช้วัตถุดิบ ต้นทุนจากเครื่องจักร ค่าแรงงานทางตรงและทางอ้อม และปัจจัยการผลิตต่างๆ ฯลฯ
3638 ผู้เข้าชม
เครื่องมือจัดซื้อจัดจ้างแบบอิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วยคุณสมบัติต่างๆ สำหรับการสร้างและจัดการการขอซื้อ โฮสต์แคตาล็อก และ แคตาล็อกที่ดูแลโดยซัพพลายเออร์ การจัดการใบสั่งซื้อ (PO) การรับของและการจัดทำรายการสินค้า แอพพลิเคชั่นเหล่านี้ช่วยให้องค์กรต่างๆ เฝ้าติดตาม และควบคุมการใช้จ่ายแ ละทำให้กระบวนการของผู้ใช้ในการจัดหาสินค้าที่พวกเขาต้องการใช้ในการทำงานของพวกเขาเป็นไปอย่างราบรื่น ผลตอบแทนการลงทุนในซอฟต์แวร์ด้านการจัดซื้อจัดจ้างแบบอิเล็กทรอนิกส์ (อี-โปรเคียวเมนต์) เป็นสิ่งที่ยืนยันได้ดี ในฐานะเครื่องมือที่มีศักยภาพที่จะช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในกระบวนการทำงานได้ปีละหลายล้านเหรียญ ซอฟต์แวร์ด้านการจัดซื้อจัดจ้างแบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นตัวเลือกสำหรับองค์กรที่มองหาทางเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทำงาน และเพิ่มผลกำไรของพวกเขา ในขณะที่ประโยชน์ของเครื่องมือจัดซื้อจัดจ้างแบบอิเล็กทรอนิกส์ค่อนข้างมีความชัดเจน แต่ยังมีอีกสองคำถามที่มักถูกถามอยู่เสมอนั้นก็คือ องค์กรประเภทไหนที่ต้องการของซอฟต์แวร์ด้านการจัดซื้อจัดจ้างแบบอิเล็กทรอนิกส์มากที่สุด และเมื่อไหร่ที่พวกเขาควรจะนำมาติดตั้งใช้งาน
1277 ผู้เข้าชม
ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ต้นทุนต่างๆในการประกอบธุรกิจพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะปัญหาด้านต้นทุนพลังงาน รวมถึงภาวะที่กำลังซื้อของผู้ บริโภคลดน้อยลง หรือมีความระมัดระวังในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ทำให้เกิดผลกระทบอย่างกว้างขวางในการประกอบธุรกิจ โดยเฉพาะถ้าเป็นธุรกิจของผู้ประกอบการรายเล็กหรือธุรกิจ SMEs สิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการ SMEs จะตั้งเป้าหมายในการดำเนินการก่อนเป็นอันดับแรก คือการ “ลดต้นทุน” แต่ส่วนใหญ่ก็จะพบว่าตนเองไม่สามารถลดต้นทุนได้ตามที่ตั้งเป้าหมาย ซึ่งแม้ว่าจะมีกลยุทธ์หรือแนวทางด้านการบริหารจัดการต่างๆที่ใช้ในการลดต้นทุนของธุรกิจก็ตาม แต่ปัจจัยหนึ่งซึ่งอาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการ ไม่สามารถลดต้นทุนได้ ก็คือผู้ประกอบการไม่ทราบถึง “ต้นทุน” ของธุรกิจตนเองอย่างแท้จริง หรือไม่มีความรู้ในปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับต้นทุนของธุรกิจของตนเอง ทำให้เมื่อถึงเวลาจำเป็นที่จะต้องการลดต้นทุนธุรกิจของตน จึงไม่สามารถที่จะกระทำได้ และคำตอบที่มักได้รับฟังอยู่เสมอก็คือ ธุรกิจของตนไม่สามารถลดต้นทุนได้อีกแล้ว ซึ่งอาจเป็นจริงตามที่กล่าวหรือ อาจไม่เป็นจริงก็ได้ ดังนั้นผู้เขียนจึงเห็นสมควรกล่าวถึงปัจจัยเกี่ยวกับการทำให้ผู้ประกอบการรู้ถึงต้นทุนของธุรกิจเป็นเบื้องต้น เพื่อใช้เป็นจุดเริ่มหรือแนวทางในการลดต้นทุนของธุรกิจต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ
1446 ผู้เข้าชม
จรรยาบรรณวิชาชีพ นักบัญชี หลัก ๆ ที่นักบัญชีจะต้องมี ก็คือเรื่องของความซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา มีการกำหนดจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพของนักบัญชี ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 หลายคนอาจจะมองว่า อาชีพนักบัญชีนั้น เปรียบได้กับฟันเฟืองหนึ่งในองค์กรธุรกิจต่าง ๆ ที่ดูเหมือนจะไม่มีความสำคัญเท่าตำแหน่งอื่น ๆ มากเท่าไรนัก เพราะมีหน้าที่แค่ดูแลตัวเลขรายรับรายจ่ายขององค์กรเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ทั้งที่จริงแล้ว นักบัญชี เป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญจนถึงขั้นว่าขาดไม่ได้ ไม่ว่าองค์กรจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่เท่าไรก็ตาม นักบัญชีไม่ได้มีหน้าที่แค่คำนวณ หรือบันทึกรายรับรายจ่ายอย่างที่เข้าใจกันเพียงอย่างเดียว เพราะต้องมีการบันทึกทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการเงิน โดยเฉพาะเรื่องของเอกสารต่าง ๆ ซึ่งถ้าหากไม่มีการดำเนินงานในส่วนนี้ก็จะทำให้ผู้บริหารไม่สามารถวางแผนต่อไปได้ และมีโอกาสที่ธุรกิจจะประสบความล้มเหลวสูง
83079 ผู้เข้าชม
การทำธุรกิจหรือประกอบกิจการใดๆระบบบัญชีหรือการจัดทำบัญชีถือเป็นหัวใจหลักของการดำเนินงาน ความหมายของคำว่า ระบบบัญชีก็คือแบบแผนของการปฏิบัติงานทางการบัญชีเริ่มตั้งแต่การจัดเก็บข้อมูลทางการเงิน การจดบันทึกบัญชี การจำแนกประเภทบัญชี การกำหนดแบบพิมพ์เอกสารและสมุดบัญชี ดังนั้นเพื่อให้การจัดทำระบบบัญชีเหล่านี้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงต้องมีมาตรฐานการบัญชีเกิดขึ้น
37816 ผู้เข้าชม
ปรับปรุงรายได้รับล่วงหน้า ปรับปรุงรายได้รับล่วงหน้า รายได้รับล่วงหน้า หมายถึง รายได้ที่ได้รับจากลูกค้าล่วงหน้า โดยที่ยังไม่ได้ส่งมอบสินค้าหรือให้บริการแก่ลูกค้า ซึ่งกิจการมีภาระต้องให้บริการในอนาคต ดังนั้น จำนวนเงินที่ได้รับจึงเป็นหนี้สินหมุนเวียน เมื่อกิจการได้ให้บริการเสร็จเรียบร้อยเป็นบางส่วนหรือทั้งหมดแล้ว จึงจะบันทึกบัญชีเปลี่ยนจากหนี้สินเป็นรายได้ตามส่วนที่ได้ให้บริการแก่ลูกค้า บริการที่ได้ให้แก่ลูกค้าในงวดนั้นจะถือว่ารายได้เกิดขึ้นในงวดนั้นด้วย ส่วนจำนวนเงินที่กิจการได้รับไว้แล้วแต่ยังไม่ให้บริการจึงเป็นเสมือนหนี้สินยกไปงวดถัดไป เช่น ค่าบริการรับล่วงหน้า ค่าเช่ารับล่วงหน้า สามารถบันทึกได้ 2 วิธี
55264 ผู้เข้าชม
ปรับปรุงค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า ปรับปรุงค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่กิจการจ่ายเงินล่วงหน้าไปแล้ว แต่ยังไม่ได้รับบริการหรือรับบริการยังไม่ครบตามจำนวนเงินที่จ่ายไป ดังนั้น ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจึงเป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีนี้ส่วนหนึ่ง และเหลืออีกส่วนหนึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีถัดไป จึงถือเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน การบันทึกจำนวนเงินที่จ่ายไปสามารถบันทึกได้ 2 วิธี คือ การบันทึกบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า ทั้งจำนวนเป็นสินทรัพย์ในวันที่จ่ายเงิน เดบิต ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า XXX (รายการสินทรัพย์ในงบดุล) เครดิต เงินสด XXX ณ วันสิ้นงวดซึ่งได้ใช้บริการไปแล้วบางส่วนก็จะลงบันทึกล้างค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้าในส่วนที่ได้ใช้บริการแล้วออก โดยจะบันทึกรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายแทน เดบิต ค่าใช้จ่าย XXX (รายการค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน) เครดิต ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า XXX
107966 ผู้เข้าชม
ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คือต้นทุนที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนการผลิต เช่น วัตถุดิบ ค่าแรงรายชั่วโมง ตัวอย่างที่ 1 บริษัทวรุณ จำกัด ผลิตเครื่องเล่นเสตอริโอ ภายใต้ยี่ห้อ V-sound บริษัทซื้อชิ้นส่วนต่าง ๆ จากผู้ผลิตรายย่อย (Supplier) ภายนอก ราคาชิ้นละ 10 บาท ดังนั้น ยิ่งต้องการจำนวนมาก ๆ ก็จะทำให้ต้นทุน ในการซื้อเพิ่มขึ้น ถือเป็นต้นทุนผันแปร โดยที่ ต้นทุนต่อหน่วยจะคงที่ คือ 10 บาท/หน่วย แต่ต้นทุนรวมจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนหน่วยผลิต
30854 ผู้เข้าชม
การบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต 1. เป็นวิธีการรวบรวมและสะสมต้นทุนการผลิตของกิจการที่มีการผลิตต่อเนื่องกันไป มักใช้ในกิจการที่ผลิตสินค้าจำนวนมาก 2. การคำนวณต้นทุนต่อหน่วยของสินค้าในงวดบัญชี จะใช้วิธีการถัวเฉลี่ยความสำเร็จของงานให้อยู่ในรูปของหน่วยเทียบสำเร็จรูป (Equivalent Units) เสียก่อน เนื่องจากลักษณะของการผลิตมีความต่อเนื่องกันไปตลอด 3. มีการจัดทำรายงานต้นทุนการผลิต แยกตามแผนกผลิต (โดยปกตินิยมรวบรวมต้นทุนตามงวดเวลา 1 เดือน)
43465 ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์