รายการบทความที่ค้นหา

รายการบทความที่ค้นหา

2277 รายการ
ระบบต้นทุนฐานกิจกรรมมักถูกเรียกระบบต้นทุนนี้ว่าระบบ ABC ซึ่งเป็นการคิดต้นทุนเพื่อการบริหารไม่ใช่เป็นระบบบัญชีตามมาตรฐานของบัญชีแต่เป็นระบบที่ Kaplan และCooper ได้นำคำว่าระบบการคิดต้นทุนกิจกรรมมาเขียนเป็นบทความตีพิมพ์เมื่อปี 1988 ใน The journal of cost management and Harvard Business Review ซึ่งภายหลังได้มีบทความที่ให้การสนับสนุนเรื่องการคิดต้นทุน ABC ตีพิมพ์ในหนังสือนิตยสารชั้นนำด้านบัญชีบริหารในประเทศสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ต่อมาในช่วงปี 1991 ก็มีบริษัทหลายแห่งทั่วโลกนำระบบการคิดต้นทุน ABC มาใช้จำนวนมาก สำหรับประเทศไทยมีบริษัทชั้นนำหลายแห่งนำมาใช้รวมทั้งรัฐวิสาหกิจเช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตและการไฟฟ้านครหลวงได้นำมาใช้เช่นกัน
51977 ผู้เข้าชม
คนที่ลงทุนทุกคนน่าจะคิดเหมือนกันหมดคือทำอย่างไรให้เริ่มต้นด้วยงบการลงทุนที่น้อยๆ รวมถึงระหว่างการทำธุรกิจก็ต้องมีสารพัดวิธีที่เรียกว่าการลดต้นทุนให้กับธุรกิจตัวเอง เหตุผลก็ง่ายๆคือเมื่อกำไร = รายได้-รายจ่าย นั้นหมายความว่าต่อให้รายได้มีเท่าเดิมแต่รายจ่ายลดลงก็ทำให้ธุรกิจมีกำไรได้มากขึ้นเช่นกัน
1105 ผู้เข้าชม
ในการจ่ายหุ้นปันผล อาจจะมีผู้ถือหุ้นบางรายที่มีสิทธิรับหุ้นปันผลไม่เต็ม 1 หุ้น เช่น บริษัทประกาศจ่ายหุ้นปันผลในอัตราร้อยละ 20 ของทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว หมายความว่าผู้ถือหุ้นเดิม 5 หุ้น
1260 ผู้เข้าชม
การตั้งศูนย์กำไรและศูนย์ต้นทุนไม่ใช่การตั้งศูนย์หรือสำนักงานใหม่ขึ้นมาจริงๆในกิจการแต่เป็นวิธีการที่มีการจัดทำบัญชี ตัวเลขต้นทุนค่าใช้จ่ายตามความรับผิดชอบของศูนย์นั้นๆเพื่อให้ฝ่ายบริหารติดตาม ควบคุมการบริหารงานของกิจการให้มีผลดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งเป็นการบริหารโดยวัตถุประสงค์นั่นเอง (Management by objectives) ส่วนใหญ่ผู้บริหารระดับสูงหรือเจ้าของกิจการขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นผู้ดูแลบริหารกิจการด้วยตนเองทั้งหมดแบบรวมอำนาจ แต่หากธุรกิจได้เติบโตและได้ขยายหน่วยงานหลายๆ หน่วยงานเป็นหน่วยงานธุรกิจจำนวนมากหรือมีขยายสาขา สำนักงาน ออกไปจำนวนมากขึ้นก็ทำให้เจ้าของกิจการเหล่านั้นไม่สามารถควบคุมดูแลงานของทุกหน่วยงานย่อยได้อย่างทั่วถึง เจ้าของกิจการและผู้บริหารระดับสูงจึงมีความจำเป็นต้องมอบอำนาจความรับผิดชอบการตัดสินใจให้แก่ผู้บริหารระดับรองลงไปจนถึงผู้บริหารระดับล่าง ซึ่งเป็นการบริหารแบบกระจายอำนาจ (decentralization) เพื่อให้สามารถควบคุมการดำเนินงานและตัดสินใจแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ของหน่วยงานย่อยได้อย่างทันท่วงที จึงต้องใช้แนวคิดในการจัดตั้งศูนย์ความรับผิดชอบ (Responsibility center) เพื่อควบคุมการปฏิบัติงานของหน่วยงานธุรกิจและสาขาต่างๆเหล่านั้นด้วยการใช้การจัดทำบัญชีตามความรับผิดชอบมาบริหารงาน การบัญชีตามความรับผิดชอบเป็นระบบบัญชีที่รวบรวมข้อมูลตัวเลขรายได้ ต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานให้สอดคล้องกับความรับผิดชอบของหน่วยงานนั้น ซึ่งผู้บริหารจะตั้งเป้าหมายให้แต่ละศูนย์ดำเนินการเองด้วยการควบคุมตัวเลขตามบัญชีที่ตั้งงบประมาณไว้โดยมีการติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานธุรกิจจากผู้บริหารของหน่วยงานนั้นด้วยวิธีการมอบอำนาจให้ไปดำเนินการ
10895 ผู้เข้าชม
ส่วนใหญ่เจ้าของกิจการธุรกิจ SME จะไม่ทราบราคาต้นทุนที่แท้จริงของสินค้าเพราะขาดระบบบัญชีการเงินที่มีการเก็บตัวเลขที่แม่นยำรวมทั้งเจ้าของกิจการมักเป็นกังวลเรื่องการเสียภาษีทำให้ไม่ได้บันทึกค่าใช้จ่ายและต้นทุนของสินค้าที่ตนผลิตและขายไป ปัจจุบันอัตราการเสียภาษีรายได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลมีอัตราที่ต่ำมากรวมทั้งมีการจูงใจให้ผู้ประกอบการสมัครเข้าโครงการบัญชีเดียวเพื่อได้รับการยกเว้นการเสียภาษีในปีแรกและยังมีเงื่อนไขว่ากรมสรรพากรจะไม่เข้ามาตรวจสอบย้อนหลังอีกด้วย จึงเป็นโอกาสดีที่ธุรกิจ SME ควรหันมาเก็บตัวเลขทางบัญชีให้มีความแม่นยำเพื่อใช้ในการบริหารต่อไป การเก็บตัวเลขในเรื่องต้นทุนของสินค้าของเจ้าของกิจการรุ่นเก่ายังเก็บไม่ครบขาดบางรายการทำให้การคิดต้นทุนบิดเบือนไปได้ ดังนั้นเจ้าของกิจการ SME รุ่นใหม่ๆควรเริ่มเก็บต้นทุนที่เกิดขึ้นทุกรายการเพื่อให้ทราบว่าต้นทุนที่แท้จริงเป็นเท่าใดและนำมาเปรียบเทียบกับต้นทุนมาตรฐานที่ได้ตั้งเอาไว้แต่แรกว่ายังใกล้เคียงกันหรือไม่ หรือว่าต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงสูงกว่าต้นทุนมาตรฐานที่ตั้งไว้อย่างมาก
8367 ผู้เข้าชม
การจ่ายเงินปันผลเป็นการคืนทุนที่เรียกว่า Liquidating Dividends คือ การที่บริษัทประกาศจ่ายปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในจำนวนเงินที่มากกว่ายอดคงเหลือในบัญชีกำไรสะสม
5024 ผู้เข้าชม
มีหลายคนเลยค่ะที่มาดามเห็นว่าไม่วางแผนให้ดี แถมบางทีเกิดเจ็บป่วยขึ้นมาที โอ้โห...สะเทือนกันทั้งบ้าน บางทีถึงขั้นเงินที่เก็บออมมาทั้งชีวิตอาจจะหมดไปได้เลยทีเดียว... การวางแผนเรื่องเงินจึงขาดเรื่องสุขภาพไม่ได้เด็ดขาด เพราะมันคือรายจ่ายก้อนใหญ่มาก
1158 ผู้เข้าชม
การจัดทำงบประมาณเหมาะสำหรับธุรกิจที่กำลังเจริญเติบโตเป็นอย่างมาก การจัดทำงบประมาณจะช่วยให้ผู้บริหารสามารถควบคุมการขายและค่าใช้จ่ายได้ง่ายขึ้นโดยผ่านตัวเลขทางบัญชีและการเงิน ฉะนั้นการจัดทำงบประมาณถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการควบคุมต้นทุน ค่าใช้จ่ายของธุรกิจ และยังเป็นเครื่องมือให้ฝ่ายบริหารสามารถวางแผนการใช้เงินในแต่ละช่วงเวลาอีกด้วย นอกจากนั้นยังเป็นเครื่องมือในการวางแผนกำไรของกิจการด้วย ลักษณะและรูปแบบของงบประมาณจะเป็นตัวเลขทั้งจำนวนหน่วยที่ขายหรือผลิตและจำนวนเงินซึ่งได้จากแผนงานที่พยากรณ์ไว้ในปีถัดไป การจัดทำงบประมาณมักจัดทำไปพร้อมกับการจัดทำแผนดำเนินงานประจำปีซึ่งผู้จัดทำต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ วัตถุประสงค์ของบริษัท, เป้าหมายทั้งระยะสั้นและระยะยาวของบริษัท ผู้จัดการฝ่ายจะเป็นผู้จัดทำแผนของฝ่ายตนเองโดยมักจะเริ่มจัดทำตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคมเพื่อวางแผนการขาย ในปีถัดไปนั่นเอง การจัดทำแผนจะประกอบไปด้วยแผนต่างๆเช่น แผนตลาด แผนผลิต แผนการจัดการ แผนบุคลากร แผนการเงินและบัญชี ธุรกิจที่มีการวางแผนตามกลยุทธ์แล้วเจ้าของกิจการก็จะเฝ้าติดตามว่าธุรกิจได้ดำเนินไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ โดยติดตามจากตัวเลขของงบประมาณที่ตั้งไว้นั่นเองเพราะการวางแผนจะบอกว่าปีหน้าจะขายเพิ่มขึ้นอีกเท่าใด หากการวางแผนไม่มีการระบุเป็นตัวเลข เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารก็ไม่สามารถติดตามควบคุมการขายและค่าใช้จ่ายได้เลย
93953 ผู้เข้าชม
หลายๆ ครั้งที่ได้มีการสำรวจโดยธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านการเงินของบุคคล พบว่า คนไทยจำนวนมากมีนิสัยในการจัดการเงินค่อนข้างต่ำ
914 ผู้เข้าชม
กิจการอาจพบข้อผิดพลาดในการจัดทำงบการเงินของงวดก่อน ๆ ในงวดปัจจุบัน ข้อผิดพลาดดังกล่าวอาจเกิดขึ้นจากการคำนวณตัวเลขผิด การนำนโยบายบัญชีมาปฏิบัติไม่ถูกต้อง การตีความผิดพลาด การทุจริตหรือความเลินเล่อ ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น
4693 ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์