ออมเงินด้วยการฝากเงิน.. เสี่ยงต่ำจริงหรือ?

ออมเงินด้วยการฝากเงิน.. เสี่ยงต่ำจริงหรือ?

เงินฝากออมทรัพย์กับธนาคาร ถือเป็นการออมเงินขั้นพื้นฐานที่สุดอย่างหนึ่ง เป็นการลงทุนในความเสี่ยงที่ต่ำ ซึ่งก็แน่นอนว่า ผลตอบแทนที่ได้รับก็น้อยมากเช่นเดียวกัน โดยมีอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสำหรับบุคคลธรรมดาของธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ ประจำวันที่ 2 พฤษภาคม 2561 ต่ำสุด - สูงสุดอยู่ที่ 0.05% - 2.25% ต่อปีตามลำดับ (ข้อมูลจาก: ธนาคารแห่งประเทศไทย) โดยธนาคารที่ให้อัตราดอกเบี้ยสูงสุดเมื่อเทียบกับธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศอื่นๆ ยังมีการกำหนดการให้ดอกเบี้ยอัตรา 2.25% ต่อปีเฉพาะจำนวนเงินฝากออมทรัพย์ที่ไม่เกิน 100,000 บาทแรกเท่านั้น เงินฝากตั้งแต่ 100,001 บาท เป็นต้นไป จะได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 ต่อปี

ในมุมมองของบุคคลทั่วไป การฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์ ถือเป็นการลงทุนหรือการออมอย่างนึงที่มีความเสี่ยงต่ำ อย่างไรก็ตามการเลือกฝากเงินกับสถาบันหรือธนาคารแห่งใดแห่งหนึ่ง ใช่ว่าจะไม่มีความเสี่ยงเลย ผู้ใช้บริการจะต้องมีความระมัดระวังและศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับฐานะและผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินมากยิ่งขึ้นและในกรณีที่สถาบันการเงินหรือธนาคารเกิดถูกเพิกถอนใบอนุญาต การคุ้มครองเงินฝากก็จะได้รับการคุ้มครองโดยเป็นไปตามมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดจำนวนเงินฝากที่ได้รับการคุ้มครองเป็นการทั่วไป ซึ่งผู้ที่มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการคุ้มครองเงินฝากก็คือ “สถาบันคุ้มครองเงินฝาก” หรือ Deposit Protection Agency ที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาภายใต้ พรบ. สถาบันคุ้มครองเงินฝาก พศ. 2551 โดยมีเนื้อหาการคุ้มครองเงินฝากคร่าวๆ ดังนี้

  • วงเงินคุ้มครองเงินฝาก 15 ล้านบาท สำหรับผู้ฝากเงินในธนาคารที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตตั้งแต่วันที่ 11 ส.ค. 2559 - 10 ส.ค. 2561
  • วงเงินคุ้มครองเงินฝาก 10 ล้านบาท สำหรับผู้ฝากเงินในธนาคารที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตตั้งแต่วันที่ 11 ส.ค. 2561 - 10 ส.ค. 2562
  • วงเงินคุ้มครองเงินฝาก 5 ล้านบาท สำหรับผู้ฝากเงินในธนาคารที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตตั้งแต่วันที่ 11 ส.ค. 2562 - 10 ส.ค. 2563
  • และ ผู้ฝากเงินในธนาคารที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตตั้งแต่วันที่ 11 ส.ค. 2563 เป็นต้นไป จะได้รับวงเงินคุ้มครองเพียง 1 ล้านบาทเท่านั้น

(ข้อมูลจาก: สถาบันคุ้มครองเงินฝาก(สคฝ.))

หมายความว่า ในปี 2563 ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคมเป็นต้นไป ผู้ที่ฝากเงินกับธนาคารแล้วมีการถูกเพิกถอนใบอนุญาตจากธนาคารนั้นๆ จะได้รับเงินคืนจำกัดได้ไม่เกิน 1 ล้านบาท โดยส่วนที่เกิน 1 ล้านบาท ผู้ฝากอาจจะสามารถขอคืนได้หลังจาก การชำระบัญชีไปแล้วนั่นเอง

นอกจากนี้การคุ้มครองเงินฝาก โดยสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ยังได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสภาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การคุ้มครอง และบัญชีเงินฝากที่ได้รับการคุ้มครองต่างหากอีกด้วย หมายความว่าผู้ฝากเงินจะไม่ได้รับความคุ้มครอง และความรับผิดชอบใดๆ หากเกิดกรณีที่สถาบันทางการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาต และเป็นสถาบันการเงินที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์คุ้มครองเงินฝาก และ/หรือเป็นการฝากเงินในบัญชีเงินฝากที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่กำหนดจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากนั่นเอง โดย พรบ. สถาบันคุ้มครองเงินฝากจะไม่ครอบคลุมธนาคารรัฐ และไม่ครอบคลุมเงินฝากในบัญชีเช่น เงินฝากสกุลเงินตราต่างประเทศ เงินฝากระหว่างสถาบันทางการเงิน และสลากออมทรัพย์เป็นต้น โดยผู้ที่มีบัญชีเงินฝากควรศึกษาเพิ่มเติมให้ละเอียดรอบคอบหากต้องการฝากเงินนั่นเอง

(ข้อมูลจาก: สถาบันคุ้มครองเงินฝาก(สคฝ.))

เหตุผลหนึ่งในการกระจายความเสี่ยง (Risk Diversification) ของนักลงทุน ก็เพื่อให้การลงทุนมีประสิทธิภาพ (Efficient) มากที่สุด โดยสามารถบริหารจัดการความเสี่ยง (Risk) และผลตอบแทน (Returns) ในการลงทุนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับนักลงทุนแต่ละคน โดยการฝากเงินในบัญชีของสถาบันการเงินเพื่อคาดหวังผลตอบแทนจำนวนมากนั้น อาจไม่ตอบโจทย์โดยเห็นได้จากข้อมูลเบื้องต้น และในอนาคตความเสี่ยงที่สูงขึ้นเนื่องจากอัตราเงินคุ้มครองเงินฝากที่ลดลง อาจทำให้นักลงทุนหลายๆ ราย หรือบุคคลธรรมดาทั่วไปที่มองหาการออมและลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่มากกว่า หันมาสนใจการลงทุนในเครื่องมือทางการเงินอื่นๆ เช่น Alternative Finance อย่าง Peer-to-Business Lendng (P2B) หรือ Peer-to-Peer Lending (P2P) เป้นต้น

โดยการเปลี่ยนวิธีการออมเงินในสถาบันทางการเงิน มาเป็นการลงทุนในแพลทฟอร์มการกู้ยืมเงินออนไลน์ P2B หรือ P2P นั้น ถือเป็นการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนอย่างหนึ่ง ที่จะช่วยให้การลงทุนได้ผลตอบแทนที่มากขึ้น โดยการลงทุนใน P2B และ P2P นั้น บ้างยังกล่าวได้ว่าเป็นการลงทุนที่เหมือนการที่นักลงทุนทำหน้าที่เป็นธนาคารที่บริหารจัดการเงินของตนเองได้เอง โดยไม่มีตัวกลางอย่างสถาบันการเงิน ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านค่าบริการต่างๆ ที่สถาบันการเงินในอดีตเก็บไปได้ ทำให้ได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้นแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วยนั่นเอง

บทความโดย:moneywecan

 2290
Visitor
Get started for free today. Free Trial
Create a website for free Online Stores