คิดว่าหลายท่านคงคุ้นเคยกับคำว่า Disruption กันบ้างแล้ว เพราะก่อนหน้านี้คำนี้ดูจะถูกพูดถึงกันมาก โดยมักได้ยินการพูดถึง Digital Disruption ซึ่งก็คือผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัล ทำให้เกิดโมเดลธุรกิจรูปแบบใหม่ที่ตอบสนองผู้บริโภคดีกว่าเดิม และทำให้มีการใช้ของเดิมน้อยลงหรือหายไปเลย
เมื่อได้ยินว่าจะมีการเกิด Disruption ในแวดวงใดก็อาจจะรู้สึกหวั่นใจ แต่ความจริงแล้วมันไม่ได้ร้ายแรงอย่างที่คิดกัน แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วแต่ก็ไม่จำเป็นต้องกลัวจนเกินไป วิธีที่ดีที่สุดคือ ไม่ปฏิเสธ เรียนรู้ ยอมรับและปรับตัวให้เข้ากับสิ่งที่เกิดขึ้น รวมถึงการมองหาช่องว่างที่เป็นโอกาสให้เจอ
ก่อนอื่นต้องรู้เสียก่อนว่า Disruption นั้นเกิดจากปัจจัยหลัก ๆ 4 ประการคือ
1) การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็วแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน
2) การมองมุมใหม่ของคนรุ่นใหม่ที่ทำให้เกิดนวัตกรรมที่ส่งผลกระทบมากมายในหลาย ๆ ด้าน
3) การเกิดขึ้นของสตาร์อัพหรือธุรกิจรูปแบบใหม่ที่เน้นการนำเทคโนโลยีมาแก้ปัญหาและเพิ่มขีดความสามารถของการให้บริการ
4) ข้อมูลข่าวสารที่มีมากขึ้นและรวดเร็วขึ้นผ่านอุปกรณ์สำคัญ คือ โทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ต
การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งที่ควรทำก็คือการเผชิญหน้ากับมัน แต่จะเผชิญหน้าอย่างไรเพื่อให้ธุรกิจของเราเติบโตต่อไปได้ในยุคแห่งการ Disruption เช่นวันนี้
ดังนั้น ถ้าอยากอยู่รอดควรยึดในหลักการ 3 ข้อนี้ต่อไปนี้คือ
แม้การเปลี่ยนแปลงคือความเจ็บปวด แต่ควรคิดว่ายิ่งยากขึ้นก็ยิ่งโตขึ้น ยิ่งพลาดก็ยิ่งเรียนรู้ การปรับวิสัยทัศน์ในการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ธุรกิจเติบโตต่อได้ในยุค disruption ผู้บริหารต้องส่งเสริมให้เกิด mindset ในเรื่องของนวัตกรรมให้เกิดขึ้นในวัฒนธรรมขององค์กร และทำให้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร
หากต้องการเติบโตในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงจะต้องพัฒนาความสามารถใหม่ ๆ เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ต้องรู้จักยืดหยุ่น และพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ มนุษย์เราสามารถสร้างศักยภาพใหม่ ๆ หรือเพิ่มขีดความสามารถได้โดยการฝึกฝนอยู่ตลอดเวลา
นวัตกรรมจะประสบความสำเร็จจากการทำและพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งการออกแบบ การทดสอบ การปรับปรุง ขั้นตอนหลักในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่รวดเร็วจะกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการริเริ่มทางธุรกิจใหม่ ๆ ได้รวดเร็วเช่นกัน
ในมุมของธุรกิจ การพาธุรกิจให้รอดได้ในยุค Disruption นี้ผู้บริหารอาจต้องใช้วิธีสร้างกระบวนการทางความคิดหรือ mindsets ให้กับทีมงานเพื่อให้เดินไปในทิศทางเดียวกันคือ
ที่มา:https://businesslinx.globallinker.com/bizforum/article