วันนี้เราจะมาพูดถึง อัตราส่วน สภาพคล่องภายใน ที่เหลืออีก 4 อัตราส่วน ว่ามีอะไรบ้าง หามาจากไหนและนำไปใช้อย่างไร
อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้การค้า (Receivables Turnover)
อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้การค้า (Receivables Turnover) = ยอดขายสุทธิ/ลูกหนี้การค้าถัวเฉลี่ย
เป็นการวิเคราะห์ถึงคุณภาพของลูกหนี้การค้า โดยคำนวณความถี่ของการหมุนเวียนของลูกหนี้การค้า หรือพูดง่ายๆ ก็คือเป็นการหาค่าเฉลี่ยว่า กิจการสามารถเรียกเก็บหนี้ จากลูกหนี้การค้าได้กี่ครั้ง ใน 1 งวดบัญชี และเมื่อเราคำนวนอัตราหมุนเวียนของลูกหนี้การค้าได้แล้ว ก็จะนำไปสู่การคำนวณหา จำนวนวันโดยเฉลี่ย ที่สามารถเรียกเก็บหนี้จากลูกหนี้การค้าได้ โดย
จำนวนวันโดยเฉลี่ยที่สามารถเรียกเก็บหนี้จากลูกหนี้การค้า (Average Receivable Collection Period)
จำนวนวันโดยเฉลี่ยที่สามารถเรียกเก็บหนี้จากลูกหนี้การค้า = 365 วัน/อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้การค้า
หากกิจการสามารถเก็บเงินจากลูกหนี้การค้าได้เร็ว ก็จะสามารถนำเงินไปจ่ายชำระหนี้สินระยะสั้นได้เร็วเช่นกัน
อัตราหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover)
อัตราหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover) = ต้นทุนขาย/สินค้าคงเหลือถัวเฉลี่ย
เป็นการวิเคราะห์สภาพคล่องของสินค้าคงเหลือ โดยการหาค่าเฉลี่ยว่า กิจการสามารถขายสินค้าออกไปได้กี่ครั้ง ใน 1 งวดบัญชี และนำไปสู่การคำนวณหา จำนวนวันโดยเฉลี่ยที่สามารถขายสินค้าออกไปได้ โดย
จำนวนวันโดยเฉลี่ยที่สามารถขายสินค้า (Average Inventory Processing Period)
จำนวนวันโดยเฉลี่ยที่สามารถขายสินค้า = 365 วัน/อัตราหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ
อัตราหมุนเวียนของเจ้าหนี้การค้า (Payable Turnover)
อัตราหมุนเวียนของเจ้าหนี้การค้า (Payable Turnover) = ต้นทุนขาย/เจ้าหนี้การค้าถัวเฉลี่ย
เป็นการวิเคราะห์การชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้การค้า โดยการหาค่าเฉลี่ยว่า กิจการถูกเรียกเก็บหนี้จากเจ้าหนี้การค้ากี่ครั้ง ใน 1 งวดบัญชี และนำไปสู่การคำนวณหา จำนวนวันโดยเฉลี่ยที่กิจการต้องจ่ายชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้การค้า โดย
จำนวนวันโดยเฉลี่ยที่จ่ายชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้การค้า (Average Payable Payment Period )
จำนวนวันโดยเฉลี่ยที่จ่ายชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้การค้า = 365 วัน/อัตราหมุนเวียนขิงเจ้าหนี้การค้า
วงจรการหมุนเวียนของเงินสด (Cash Conversion Cycle)
วงจรหมุนเวียนของเงินสด = จก.+จข.-จจ.
*จก. =จำนวนวันโดยเฉลี่ยที่สามารถเรียกเก็บหนี้จากลูกหนี้การค้า
*จข. = จำนวนวันโดยเฉลี่ยที่สามารถขายสินค้าได้
*จจ. = จำนวนวันโดยเฉลี่ยที่จ่ายชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้การค้า
เป็นการวิเคราะห์สภาพคล่องที่มีประโยชน์ตัวหนึ่ง เนื่องจากกิจการจะต้องนำเงินสดไปซื้อสินค้าคงเหลือมาเก็บไว้ แต่ยังไม่สามารถขายได้ และเมื่อขายได้แล้ว ก็อาจจะยังไม่สามารถเก็บเงินได้ แต่กิจการมีภาระที่จะต้องชำระค่าสินค้าที่ซื้อมาให้แก่เจ้าหนี้การค้า ดังนั้น วงจรหมุนเวียนของเงินสด เป็นการแสดงถึงจำนวนวันในการเกิดกระบวนการทั้งหมดที่กล่าวมานั่นเอง
เชื่อว่าน่าจะงงกันอย่างแน่นอน ไม่เป็นไร ใจเย็นๆ เรามีตัวอย่างให้ดู ดูพร้อมกับทำความเข้าใจไปด้วยเลย
ตอนนี้เราก็มีข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ต่อไปเรามาดูวิธีการนำไปใช้กันดีกว่า (อัตราส่วนที่เราจะคำนวณนั้นจะเป็นอัตราส่วนของปี 2560)
อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้การค้า (Receivables Turnover)
อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้การค้า (Receivables Turnover) = ยอดขายสุทธิ/ลูกหนี้การค้าถัวเฉลี่ย
= 71,933 MB/6,598.5 MB
= 10.9 ครั้ง
ลูกหนี้การค้าถ้วเฉลี่ยมาจากลู้หนี้การค้าต้นงวด+ลูกหนี้การค้าปลายงวดและหารด้วย 2 จะได้ (6,257 MB+6,940 MB)/2 = 6,598.5
10.9 ครั้ง หมายความว่า โดยเฉลี่ยแล้ว กิจการสามารถเรียกเก็บหนี้จากลูกหนี้ได้ 10.9 ครั้งในระยะเวลา 1 งวดบัญชี
จำนวนวันโดยเฉลี่ยที่สามารถขายสินค้า = 365 วัน/อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้การค้า
= 365/10.9
= 33.5 วัน
33.5 วัน หมายความว่า เมื่อกิจการขายสินค้าออกไปแล้ว จะใช้เวลาโดยเฉลี่ยนประมาณ 33.5 วัน ถึงจะได้รับชำระค่าสินค้าจากลูกหนี้การค้า
อัตราหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover)
อัตราหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover) = ต้นทุนขาย/สินค้าคงเหลือถัวเฉลี่ย
= 47,975 MB/1,625.5 MB
= 29.5 ครั้ง
สินค้าคงเหลือถัวเฉลี่ยก็เช่นเดียวกับลูกหนี้การค้าถัวเฉลี่ย
จำนวนวันโดยเฉลี่ยที่สามารถขายสินค้า = 365 วัน/อัตราหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ
= 365/29.5
= 12.4 วัน
29.5 ครั้ง หมายความว่า กิจการสามารถขายสินค้าคงเหลือได้ โดยเฉลี่ย 29.5 ครั้ง ในระยะเวลา 1 งวดบัญชี โดยเฉลี่ยใช้เวลา 12.4 วัน ถึงจะสามารถขายสินค้าคงเหลือได้
อัตราหมุนเวียนของเจ้าหนี้การค้า (Payable Turnover)
อัตราหมุนเวียนของเจ้าหนี้การค้า (Payable Turnover) = ต้นทุนขาย/เจ้าหนี้การค้าถัวเฉลี่ย
= 47,975 MB/4,575 MB
= 10.5 ครั้ง
จำนวนวันโดยเฉลี่ยที่จ่ายชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้การค้า = 365 วัน/อัตราหมุนเวียนขิงเจ้าหนี้การค้า
= 365/10.5
= 34.8 วัน
10.5 ครั้ง หมายความว่า กิจการจะต้องจ่ายชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่เจ้าหนี้การค้า โดยเฉลี่ยแล้ว 10.5 ครั้ง ในระยะเวลา 1 งวดบัญชี โดยเฉลี่ยใช้เวลา 34.8 วัน จึงจะจ่ายชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่เจ้าหนี้
วงจรการหมุนเวียนของเงินสด (Cash Conversion Cycle)
วงจรหมุนเวียนของเงินสด = จก.+จข.-จจ.
= 33.5+10.5-34.8
= 9.2 วัน
เราจะเห็นว่า อัตราส่วนที่พูดถึงในบทความนี้ จะแสดงถึงการหมุนเวียนของเงินสดภายในกิจการ ว่ากิจการสามารถเรียกเก็บหนี้ได้เร็วแค่ไหน ใช้ระยะเวลานานเท่าไหร่ในการขายสินค้า และมีระยะเวลาในการจ่ายชำระหนี้นานหรือไม่ หากกิจการสามารถขายสินค้าและเก็บเงินได้เร็ว และมีระยะเวลาในการชำระหนี้นาน ก็จะเป็นผลดีต่อกิจการ เพราะกิจการอาจจะนำเงินที่ได้รับชำระจากลูกหนี้การค้า ไปซื้อสินค้ามาขายใหม่หรือนำเงินไปใช้ในกิจกรรมอื่น ก่อนถึงเวลาชำระหนี้ได้ แต่หากมีระยะเวลาการชำระหนี้ที่สั้น กิจการก็อาจจะต้องบริหารเรื่องระยะเวลาการขายสินค้าและการเก็บหนี้ให้ดี เพื่อให้ทันต่อระยะเวลาที่กิจการต้องชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้
http://www.selfinvest.co