ถ้าตอบกันโดยตรงตามประมวลรัษฎากร ก็เปิดช่องเอาไว้เหมือนกัน โดยที่ประมวลนั้นได้กล่าวไว้ว่า อาจกระทำได้ แต่ต้องมีเหตุอันสมควร ทีนี้เราก็ต้องมาดูว่าเหตุใดบ้างที่ถือว่าเป็นเหตุอันสมควร ปรากฎว่าไม่มีบอกไว้เป็นการชัดเจนว่า ที่ว่าเหตุสมควรน่ะคืออะไร ให้อยู่ในดุลพินิจของเจ้าหน้าที่
ดังนั้นโดยทั่วไป จึงไม่มีเหตุใดอันสมควรเลย เมื่อไม่มีเหตุอันควร เราก็ต้องอาศัยผลประโยชน์อันพึงได้ของเงินนั้นๆ หากไม่เอาเงินนั้นไปให้กรรมการ,พนักงานกู้ยืม บริษัทฯจะได้ดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์เป็นจำนวนเงินเท่าใดในระยะเวลาที่เท่าๆกันกับการให้ยืมเงิน และต้องไม่ต่ำกว่าอัตราตลาด !
หมายความว่า 1. ต้องมีการคิดดอกเบี้ยต่อกัน
2.หากบริษัทฯมีเงินเหลือให้กู้ยืม เงินที่ให้กู้นั้นต้องคิดดอกเบี้ยไม่ต่ำกว่าดอกเบี้ยเงินฝากประจำ
3.หากเงินที่ให้กู้ยืมนั้น ได้จากการที่บริษัทฯต้องไปกู้ยืมที่อื่นมาล่ะก็ ต้องคิดดอกเบี้ยในอัตราเงินกู้ยืม หรือในอัตราเบิกเงินเกินบัญชี O.D.
และเมื่อมีการคิดดอกเบี้ย ต่อกัน แล้ว จะเกิดภาษีขึ้น 2 ตัวคือ
1. ภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% ของเงินดอกเบี้ยที่ได้รับ โดยให้นำส่งภาษีดังกล่าวภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป โดยใช้แบบ ภธ.40 ในการนำส่งภาษี
2.ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภงด.50 โดยจะต้องนำเงินรายได้จากดอกเบี้ยดังกล่าวมาคำนวนร่วมกับรายได้ของบริษัทฯ ในรอบบัญชีที่เกิดรายได้นั้นๆ
บทความโดย : MichaelShaw
ที่มา : www.ThaiTaxINFO.com