ทุก 3 เดือน งบจะออก 1 ครั้ง นั่นคือ 1 ปี ประกาศงบ 4 ครั้ง
ส่วนใหญ่จะโฟกัสไปที่บรรทัดสุทดท้าย หรือกำไรสุทธิ ที่อยู่ในงบกำไรขาดทุน
แต่มีอีก 1 งบที่น่าสนใจ คือ “งบกระแสเงินสด”
บริษัทไหนเงิดสดติดลบ นั่นหมายความว่าการดำเนินงานส่อแววไม่ดีแล้ว
งบกระแสเงินสด เป็นงบการเงินที่แสดงการเปลี่ยนแปลงเงินสดของกิจการในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น รอบปีบัญชี โดยจะแสดงการได้มาและใช้ไปของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดของ 3 กิจกรรมหลัก คือ กิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมลงทุน และกิจกรรมจัดหาเงิน
งบกระแสเงินสด ช่วยให้นักลงทุนสามารถประเมินสภาพคล่องของกิจการ โดยเฉพาะความสามารถในการชำระหนี้
1. กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน เป็นกระแสเงินสดที่เกิดจากการดำเนินงานปกติของกิจการ เช่น การขายสินค้าและบริการ ซึ่งเป็นกระแสเงินสดที่จะสะท้อนให้เห็นผลการดำเนินงานที่แท้จริงของกิจกรรมดำเนินงาน
2. กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน เป็นกระแสเงินสดที่เกิดจากการได้มาและจ่ายไปจากสินทรัพย์ระยะยาว ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานปกติ
3. กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหา เป็นกิจกรรมการได้มาและจ่ายไปของเงินสดที่มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของและส่วนของการกู้ยืม
1. บอกการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเงินของกิจการเพื่อประเมินความเสี่ยงของกิจการ
2. บอกว่ากิจการกู้ยืมเงิน ชำระหนี้ จ่ายปันผลอย่างไรบ้าง
3. บอกว่ากิจการมีสภาพคล่องทางการเงินดีหรือไม่
1. เงินสดจากการดำเนินงานต้องเป็นบวกจึงจะดี (มีเงินในมือเยอะจะทำอะไรก็สะดวก เช่น ถ้ามี 2 บริษัท ประกาศซื้อหุ้นคืน บริษัทแรกส่วนนี้เป็นบวก แต่อีกบริษัทเป็นลบ ก็พอจะดูออกว่าบริษัทไหนจะทำได้จริง)
2. เงินสดจากกกิจกรรมลงทุน ยิ่งตัวเลขติดลบมาก หมายความว่าบริษัทเร่งลงทุนหนัก (ต้องดูคู่ไปกับเงินสดจากการดำเนินงาน ว่าสิ่งที่ลงทุนไป กลับมาเป็นรายได้หรือเงิดสดได้เร็วหรือไม่?)
3. เงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน ตัวเลขยิ่งเป็นบวก หมายความว่าบริษัทเร่งระดมทุน (แต่ไม่ได้บอกถึงวิธีการระดมทุน อาจจะกู้ยืม เพิ่มทุน ฯลฯ) แต่หากติดลบมาก หมายความว่าชำระหนี้เก่าที่มีอยู่ หรือปลดภาระหนี้ของบริษัทออกไป
เมื่องบออก ดูกำไรขาดทุนแล้ว ควรจะอ่านงบกระแสเงินสดประกอบด้วย เพื่อเข้าใจสถานะการเงินของบริษัทว่าเป็นอย่างไร มีความสามารถในการชำระหนี้ดีมั้ย และการลงทุนของบริษัทมากน้อยแค่ไหน กลับมาเป็นรายได้ช้าหรือเร็ว