การวัดมูลค่าองค์ประกอบของงบการเงิน

การวัดมูลค่าองค์ประกอบของงบการเงิน

การวัดมูลค่าคือการกำหนดจำนวนที่เป็นตัวเงินเพื่อรับรู้องค์ประกอบของงบการเงินในงบดุลและงบกำไรขาดทุนการวัดมูลค่าจะเกี่ยวข้องกับการเลือกใช้เกณฑ์ในการวัดค่าต่างๆในสัดส่วนที่แตกต่างกันในลักษณะที่ไม่เหมือนกันซึ่งเกณฑ์ในการวัดค่าต่างๆมีดังต่อไปนี้

1.ราคาทุนเดิน (HistoticalCost) หมายถึง

1.1การบันทึกสินทรัพย์ด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่จ่ายไปหรือ

1.2บันทึกด้วยมูลค่ายุติธรรมของสิ่งที่นำไปแลกสินทรัพย์มา ณเวลาที่ได้มาซึ่งสินทรัพย์นั้น

1.3การบันทึกหนี้สินด้วยจำนวนเงินที่ได้รับจากการก่อภาระผูกพันหรือ

1.4บันทึกด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่คาดว่าจะต้องจ่ายเพื่อชำระหนี้สินที่เกิดการดำเนินงานตามปกติของกิจการ

2.ราคาทุนปัจจุบันหมายถึง

2.1การแสดงสินทรัพย์ด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่ต้องจ่ายในขณะนั้นเพื่อให้ได้มาซึ่งสินทรัพย์ชนิดเดียวกันหรือสินทรัพย์ที่เท่าเทียมกัน

2.2การแสดงหนี้สินด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่ต้องใช้ชำระผูกพันในขณะนั้น

3.มูลค่าที่จะได้รับหมายถึง

3.1 การแสดงสินทรัพย์ด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่อาจได้มาในขณะนั้นหากกิจการขาย
สินทรัพย์โดยใช่การบังคับขาย

3.2 การแสดงหนี้สินด้วยมูลค่าที่ต้องจ่ายคืนหรือด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่คาดว่าจะต้อง
จ่ายเพื่อชำระหนี้กินที่เกิดจากการดำเนินงานตามปกติ

  1. มูลค่าปัจจุบันหมายถึง

4.1 การแสดงสินทรัพย์ด้วยมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับสุทธิในอนาคตซึ่งคาดว่าจะได้รับในการ
ดำเนินงานตามปกติของกิจการและ
4.2 การแสดงหนี้สินด้วยมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดจ่ายสุทธิซึ่งคาดว่าจะต้องจ่ายในการชำระเงินสินภายใต้
การดำเนินงานตามปกติของกิจการ

แนวคิดเกี่ยวกับทุนและการรักษาระดับทุน

ทฤษฏีแนวคิดเกี่ยวกับทุนและการรักษาระดับทุนเป็นแนวคิกทางเศรษฐศาสตร์ซึ่งแม่บทการบัญชีนำมาใช้เป็นแนวทางในการวัดผลกำไรโดยพิจารณาส่วนของทุนของกิจการ

            1.แนวคิดเกี่ยวกับทุน

                     แนวคิดเกี่ยวกับทุนเป็นแนวคิดทางการเงินที่ใช้อยู่ทั่วไปในปัจจุบันและแนวคิดทางการผลิตซึ่งทั้ง 2แนวคิดถูกใช้เป็นแนวทางในการจัดการงบการเงินโดยนำแนวคิดเกี่ยงกับทุนที่เหมาะสมมาใช้ในการจัดทำงบการเงินโดยคำนึงความต้องการของผู้ใช้งบการเงินเป็นหลักโดย

แนวคิดที่กิจการควรนำมาใช้ เมื่อผู้ใช้งบการเงินให้ความสนใจเกี่ยวกับ
1. แนวคิดทางการเงิน 1. การรักษาระดับของทุนที่ลงไปในรูปของตัวเงินหรือในรูปของอำนาจซื้อ
2. แนวคิดทางการผลิต 2. กำลังการผลิตที่กิจการสามารถใช้ในการผลิต
  1. แนวคิดเกี่ยวกับการรักษาระดับทุนและการวัดผลกำไร

แนวคิดเกี่ยวกับการรักษาระดับทุนให้ความสำคัญคำนิยามที่กิจการกำหนดเกี่ยวกับทุนที่กิจการต้องการรักษาระดับซึ่งเป็นการเชื่อมโยงแนวคิดเกี่ยวกับทุนกับกำไรเพื่อกำหนดจุดอ้างอิงในการวัดผลกำไรซึ่งแนวคิดนี้ใช้เป็นพื้นฐานในการจำแนกความแตกต่างระหว่าง

2.1 ผลตอบแทนจากการลงทุน(ซึ่งเป็นผลตอบแทนเกินทุนที่ลงไป)

2.2 ผลที่ได้รับจากเงินลงทุน (ซึ่งเป็นผลที่ได้รับไม่ว่าจะเกินทุนหรือไม่)

ซึ่งแนวคิดนี้กำหนดว่ากำไรคือการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์เฉพาะส่วนที่เกินกว่าจำนวนเงินที่จำเป็นในการรักษาระดับทุนซึ่งถือว่าเป็นผลตอบแทนจากการลงทุนดังนั้น

กำไรคือจำนวนคงเหลือจากรายได้หักค่าใช้จ่าย (ซึ่งรวมรายการปรับปรุงเพื่อรักษาระดับทุนตามที่ควร)

ขาดทุนคือจำนวนคงเหลือหากค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายได้ (ซึ่งรวมรายการปรับปรุงเพื่อรักษาระดับทุน)

บทความโดย : http://www.accountclub.net

 47913
Visitor
Get started for free today. Free Trial
Create a website for free Online Stores