ต้นทุนฐานกิจกรรม

ต้นทุนฐานกิจกรรม

 

ในองค์กรธุรกิจ ต้นทุนฐานกิจกรรม (อังกฤษ: activity-based costing: ABC) คือวิธีการหนึ่งของการจัดสรรต้นทุนทรัพยากรขององค์กร โดยอาศัยกิจกรรมการผลิตสินค้าหรือบริการที่สร้างขึ้นสำหรับลูกค้า วิธีการ ABC เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้สามารถเข้าใจถึงต้นทุนของสินค้าและลูกค้า และผลประโยชน์ที่ได้รับ ทำให้ ABC ถูกใช้เพื่อรองรับการตัดสินใจทางกลยุทธ์ดังเช่น การกำหนดราคา การจัดจ้างคนภายนอก และการระบุและการวัดกระบวนการดำเนินการ เป็นต้น

เนื้อหา

ประวัติการพัฒนา

แต่เดิมนั้น การประเมินราคาผลิตภัณฑ์นั้น จะใช้มูลค่าของแรงงานทางตรง (direct labor) และ วัสดุทางตรง (direct material) เป็นฐาน และคิดค่าใช้จ่ายในการผลิต (overhead costs) ในลักษณะอัตราส่วนเทียบกับค่าใช้จ่ายทางตรง (มูลค่าแรงงานและวัสดุโดยตรง) ซึ่งการประเมินราคาด้วยวิธีนี้ ใช้งานได้ดีในเฉพาะโรงงานที่ผลิตผลิตภัณฑ์ไม่หลากหลาย แต่สำหรับโรงงานที่ผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายนั้น ค่าใช้จ่ายในการผลิตมีบทบาทและส่งผลกระทบมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในการตั้งเครื่อง (setup), วัสดุทางอ้อม (indirect material) หรือค่าใช้จ่ายในการออกแบบ เป็นต้น จนทำให้การประเมินราคาด้วยวิธีดั้งเดิมนั้นไม่มีความแม่นยำ

ABC จึงเป็นวิธีการใหม่เพื่อชดเชยจุดอ่อนของวิธีดั้งเดิม โดยการประเมินราคาจากกิจกรรมต่างๆ ทั้ง การระบบผลิต และระบบการเงิน ที่ข้องเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ชิ้นนั้นๆ

หลักการของ ABC

ABC นั้น มีสมมติฐานที่ทรงความสำคัญอยู่ 2 ประการ 

  1. ทรัพยากรจะถูกใช้เมื่อมีกิจกรรมเกิดขึ้น
  2. กิจกรรมนั้นเป็นกิจกรรมที่มีเป้าประสงค์เพื่อผลิตสินค้าให้สมบูรณ์

เมื่อใดที่ควรนำระบบ ABC ไปใช้

มีหลักอยู่ 2 ข้อที่จะชี้ได้ว่า เมื่อใดคือโอกาสที่ดีที่สุดที่ควรจะนำระบบนี้เข้าไปใช้ในองค์กร

  1. กฎของ วิลลี สุทตัน (The Willie Sutton's Rule) หลักข้อนี้ได้มาจากคำตอบของ วิลลี สุทตัน โจรปล้นธนาคารชาวอเมริกัน-ไอริช ที่ประสบความสำเร็จในวิชาชีพอาชญากรรมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 (ระหว่าง พ.ศ. 2493–2503) ในอเมริกา โดยเขาตอบคำถามถึงสาเหตุที่เขาปล้นธนาคารว่า "เพราะที่นั่นมีเงินนะสิ" ซึ่งแนวคิดนี้จะถูกนำมาใช้เพื่อมองหากิจกรรมที่ใช้ค่าโสหุ้ยสูงที่สุด แล้วนำมาเปรียบเทียบกับ ค่าใช้จ่ายโดยตรงว่า มีอัตราส่วนมากน้อยแค่ไหน ส่งผลกระทบต่อความถูกต้องของราคาสูงหรือไม่ ถ้าใช่ ก็ควรจะเปลี่ยนจากระบบเดิมมาสู่ ABC
  2. กฎความหลากหลายสูง (The High Diversity Rule) กฎข้อนี้มุ่งไปที่สภาวการณ์ขององค์กรว่า มีผลิตภัณฑ์หลากชนิดหรือไม่ มีขนาดของล๊อตสินค้าที่ต้องผลิตที่เปลี่ยนแปลงบ่อยหรือไม่ มีรูปแบบการผลิตที่หลากหลายหรือไม่ ถ้าใช่ องค์กรนั้นก็ควรจะใช้ระบบ ABC

บทความโดย : https://th.wikipedia.org

 2078
Visitor
Get started for free today. Free Trial
Create a website for free Online Stores