วัตถุประสงค์
- มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ให้ข้อกำหนดเกี่ยวกับ
-- วิธีปฏิบัติทางการบัญชี
-- วิธีการวัดมูลค่า และ
-- การเปิดเผยข้อมูล
- เกี่ยวกับ สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่มาตรฐานการบัญชีฉบับอื่นไม่ได้ให้ข้อกำหนดเฉพาะเจาะจงเอาไว้
ขอบเขต
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ตามมาตรฐานฉบับ 38 ให้ถือปฏิบัติกับสินทรัพย์ไม่มีตัวตนทุกประเภท ยกเว้น
1.สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่กำหนดไว้ในมาตรฐานฉบับอื่น
2.สินทรัพย์ทางการเงิน
3.รายจ่ายในการพัฒนา และขุดแร่ น้ำมัน ก๊าซ และทรัพยากรที่ไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้(มีในมาตรฐานฉบับที่ 6)
ตัวอย่างเช่น สินทรัพย์ภาษีเงินไดรอตัดบัญชี สัญญาเช่าตามมาตรฐานฉบับ 17 เงินลงทุน ค่าความนิยมที่เกิดจากการรวมธุรกิจ สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่จัดประเภทเป็นถือไว้เพื่อขาย
สินทรัพย์ไม่มีตัวตนหมายถึง สินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงินที่สามารถระบุได้ และไม่มีลักษณะทางกายภาพ
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ตามมาตรฐานฉบับ 38 ต้องเข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้
1.ต้องสามารถระบุได้
2.ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของกิจการ
3.ต้องก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต
หากรายการใดไม่เข้าเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้น ให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายทันที่ ยกเว้นรายการที่เกิดจากการรวมธุรกิจ ให้ถือรายการดังกล่าวเป็นค่าความนิยมที่ต้องรับรู้ ณ วันที่ซื้อ
สามารถระบุได้ ก็ต่อเมื่อ
1.สามารถแยกเป็นเอกเทศได้ กล่าวคือ สามารถแยกหรือแบ่งจากกิจการ และสามารถขายโอน ให้สิทธิ ให้เช่า หรือแลกเปลี่ยนได้อย่างเอกเทศ หรือโดยรวมกับสัญญา เป็นสินทรัพย์หรือหนี้สินที่สามารถระบุได้ โดยไม่คำนึงว่ากิจการตั้งใจจะแยกเป็นเอกเทศหรือไม่ หรือ
2.ได้มาจากการทำสัญญาหรือสิทธิทางกฏหมายอื่นๆ โดยไม่คำนึงถึงว่าสิทธิเหล่านั้นจะสามารถโอนหรือสามารถแบ่งแยกจากกิจการ หรือจากสิทธิและภาระผูกพันอื่นๆ เช่น การซื้อ Software เพื่อใช้งาน ไม่สามารถโอนหรือขายให้ผู้อื่นได้ เพราะได้สิทธิการใช้งานตามกฏหมาย
การควบคุม สินทรัพย์ไม่มีตัวตนจะถือว่าอยู่ภายใต้การควบคุมของกิจการหาก
- กิจการมีอำนาจที่จะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตที่เกิดจากสินทรัพย์นั้น และ
- สามารถจำกัดไม่ให้ผู้อื่นเข้าถึงประโยชน์ดังกล่าวตามปกติ
ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ อาจรวมถึง
- รายได้จากการขายผลิตภัณฑ์หรือการให้บริการ
- ต้นทุนที่ประหยัดได้ หรือ
- ประโยชน์อื่นจากการใช้สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
บทความโดย : http://www.railway.co.th