เช็กสภาพคล่องธุรกิจ ง่ายนิดเดียว

เช็กสภาพคล่องธุรกิจ ง่ายนิดเดียว

เช็กสภาพคล่องธุรกิจ ง่ายนิดเดียว

​     ขายดีแต่ยังเก็บเงินจากลูกค้าไม่ได้ ไม่มีเงินสดมาใช้จ่าย ธุรกิจก็ไปไม่รอด นี่คือปัญหาคลาสสิคของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี นั่นก็เพราะเอสเอ็มอีสนใจแต่ยอดขาย โดยไม่รู้จำนวนเงินสดที่หมุนเวียนอยู่ในธุรกิจของตัวเอง 

     เงินหมุนเวียนในธุรกิจคือตัวบ่งบอกว่าในแต่ละรอบหรือแต่ละเดือน ธุรกิจของคุณต้องมีเงินทุนสำรองไว้ใช้จ่ายในธุรกิจเท่าไหร่ จนกว่าจะได้รับเงินสดจากการขายสินค้า หรือจนกว่าลูกหนี้การค้าจะชำระเงิน เพื่อให้ธุรกิจดำเนินงานได้ไม่สะดุด โดยคำนวณได้จากปริมาณเงินสดที่ธุรกิจรับจริงจ่ายจริงในแต่ละเดือน ดังนี้

 
     เรามาทำความรู้จักกับแต่ละตัวแปรก่อนเอาไปใส่สูตรเพื่อหาเงินหมุนเวียนในธุรกิจกันดีกว่า

 
     สำหรับตัวเลขที่คำนวณออกมาได้นั้น ก็คือตัวชี้ว่าในแต่ละรอบธุรกิจมีเงินขั้นต่ำในธุรกิจเท่าไหร่ โดยหากคำนวณออกมาได้ติดลบ แสดงว่าธุรกิจมีเงินใช้ชนเดือนแบบเหลือๆ แต่ถ้าค่าที่ได้เป็นบวก นั่นก็แสดงว่าธุรกิจกำลังขาดเงิน

     นอกจากนี้ยังมีคำกล่าวที่ว่า “เท่าไหร่” ไม่สำคัญเท่า “เมื่อไหร่” เอสเอ็มอีจึงควรรู้จักวงจรเงินสดควบคู่ไปด้วย เพราะวงจรเงินสดคือตัวบ่งบอกระยะเวลาว่าธุรกิจจะหาเงินมาจ่ายเจ้าหนี้การค้าทันหรือไม่ ถ้าหากไม่ทัน ธุรกิจต้องสำรองจ่ายไปนานแค่ไหนกว่าจะได้รับเงินสดจากลูกหนี้การค้าเข้ามา 

 
     ตัวอย่างที่ 1 บริษัท A มียอดขาย 100,000 บาท เป็นยอดขายเชื่อ 80% ให้เครดิตเทอมลูกหนี้ 2 เดือน ต้นทุนขาย 80,000 บาท เป็นยอดซื้อเชื่อ 70%  ได้เครดิตเทอมจากเจ้าหนี้ 1 เดือน และใช้เวลาประมาณ 1.5 เดือน จึงจะขายสินค้าในสต็อกออกไปได้ นำมาคำนวณได้ดังนี้

 
     จากข้อมูลที่คำนวณได้สรุปได้ว่าบริษัท A ยังขาดเงินหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจอยู่ 224,000 บาท และต้องรออีก 2.5 เดือน จึงจะได้รับเงินสดเข้ามาในกิจการ ซึ่งระหว่างนี้บริษัทอาจจะต้องต่อรองกับเจ้าหนี้การค้าเพื่อยืดเวลาจ่ายเงิน ขอเจรจาลดเครดิตเทอมของลูกหนี้ หรือต้องหาแหล่งเงินทุนเพิ่มเติม เช่น ขอกู้เงินจากธนาคาร เพื่อนำมาใช้หมุนเวียนในธุรกิจ

     ตัวอย่างที่ 2 บริษัท B มียอดขาย 100,000 บาท เป็นยอดขายเชื่อ 20% ให้เครดิตเทอมลูกหนี้ 1 เดือน ต้นทุนขาย 80,000 บาท เป็นยอดซื้อเชื่อ 70%  ได้เครดิตเทอมจากเจ้าหนี้ 3 เดือน และใช้เวลาประมาณ 1 เดือน จึงจะขายสินค้าในสต็อกออกไปได้ นำมาคำนวณได้ดังนี้

     
     จากข้อมูลนี้สรุปได้ว่าบริษัท B มีเงินเกินอยู่ในธุรกิจ 68,000 บาท และสามารถเอาเงินจำนวนนี้ไปลงทุนต่อยอดธุรกิจได้อีก 1 เดือนจึงค่อยจ่ายเจ้าหนี้การค้า แบบนี้ก็เท่ากับว่าบริษัทมีเงินหมุนเวียนเพียงพอในธุรกิจอยู่แล้ว ไม่มีความจำเป็นต้องหาเงินทุนเพิ่ม

     จะเห็นว่าการหมุนเวียนเงินเข้าออกสะท้อนความต้องการเงินทุนของธุรกิจได้ ซึ่งก็มีหลายปัจจัยส่งผลต่อจำนวนเงินหมุนเวียน เช่น สัดส่วนการขายสดและขายเชื่อ อำนาจต่อรองของเอสเอ็มอีในเรื่องเครดิตเทอมที่มีกับลูกค้าและคู่ค้า รวมถึงระยะเวลาระบายสินค้าในสต็อก เป็นต้น ดังนั้นการที่เอสเอ็มอีรู้ยอดเงินหมุนวียนในธุรกิจจะทำให้สามารถวางแผนบริหารให้ธุรกิจมีสภาพคล่องดี แล้วยังสามารถนำสภาพคล่องที่เหลือไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจได้อีกด้วย

บทความโดย : www.kasikornbank.com

 980
Visitor
Get started for free today. Free Trial
Create a website for free Online Stores