รูปแบบของบัญชีแยกประเภททั่วไป

รูปแบบของบัญชีแยกประเภททั่วไป

รูปแบบบัญชีแยกประเภทที่นิยมใช้ มี 2 รูปแบบ คือ

1.บัญชีแยกประเภททั่วไปแบบมาตรฐาน มีลักษณะเป็นแบบตัวที (T) ในภาษาอังกฤษโดยแบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ ด้านซ้ายมือ เรียกว่า ด้านเดบิต ด้านขวามือ เรียกว่า ด้านเครดิต ประเภทของบัญชีแยกประเภทแบ่งออกได้ดังนี้

            1.1 บัญชีประเภทสินทรัพย์ (Assets) หมายถึง บัญชีแสดงสินทรัพย์ที่กิจการเป็นเจ้าของแยกตามประเภทสินทรัพย์ เช่น บัญชีเงินสด บัญชีเงินฝากธนาคาร บัญชีลูกหนี้ บัญชีสินค้าคงเหลือ บัญชีวัสดุสำนักงาน  บัญชีเครื่องใช้สำนักงาน  บัญชีธนาคาร บัญชีที่ดิน เป็นต้น

            1.2 บัญชีประเภทหนี้สิน (Liabilities ) หมายถึง บัญชีที่แสดงมูลค่าของหนี้สินที่กิจการต้องชำระให้กับบุคคลภายนอก เช่น บัญชีเจ้าหนี้การค้า บัญชีเงินกู้ธนาคาร บัญชีค่าใช้จ่ายค้างจ่าย บัญชีตั๋วเงินจ่าย เป็นต้น

            1.3 บัญชีประเภทส่วนของเจ้าของ (Owner’s  Equity) หมายถึง บัญชีแสดงส่วนของเจ้าของที่เพิ่มหรือลดลง ได้แก่

            - บัญชีทุน กิจการดำเงินสด สินทรัพย์ และหนี้สินมาลงทุน ทำให้ทุนเพิ่ม

            - บัญชีรายได้ เมื่อมีรายได้เกิดขึ้น ทำให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น

            - บัญชีค่าใช้จ่าย เมื่อมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น ทำให้ส่วนของเจ้าของลดลง

            - บัญชีถอนใช้ส่วนตัว เมื่อนำเงินสดหรือสินทรัพย์ไปใช้ส่วนตัว ทำให้ส่วนของเจ้าของลดลง

   บัญชี.............(1)                                                       เลขที่......(2) 

..

รายการ

หน้าบัญชี

เดบิต

..

รายการ

หน้าบัญชี

เครดิต

เดือน

วันที่

เดือน

วันที่

(3)

 

(4)

(5)

(6)

 

(3)

 

(4)

(5)

(6)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ส่วนประกอบต่างๆ ของบัญชีแยกประเภทดังนี้

หมายเลข (1) ชื่อบัญชี โดยนำชื่อบัญชีมาจากสมุดรายวันทั่วไปที่บันทึกไว้ด้านเดบิตละเครดิต

หมายเลข (2) เลขที่บัญชีโดยนำเลขที่บัญชีที่อยู่ในช่องเลขที่บัญชีในสมุดรายวันทั่วไป

หมายเลข (3) ช่อง วันเดือนปี ที่บันทึกรายการทั้งด้านเดบิตและด้านเครดิต

หมายเลข (4) ช่องรายการใช้อ้างอิงชื่อบัญชีที่ใช้บันทึกรายการค้าในด้านเดบิตและเครดิต

หมายเลข(5) ช่องบัญชี บันทึกอ้างอิงข้อมูลที่ผ่านรายการการแยกประประเภทว่าเอาข้อมูลจากทีใดทั้งด้านเดบิตและด้านเครดิต

หมายเลข(6) ช่องจำนวนเงินใช้บันทึกจำนวนเงิน บาท และสตางค์ ทั้ง ด้านเดบิตและด้านเครดิต

 สมุดบัญชีแยกประเภทย่อย (Subsidiary Ledger) มีลักษณะคล้ายรูปแบบของสมุดรายวันทั่วไปเพียงแต่เพิ่มช่องยอดคงเหลือ                                                                                                  บัญชี...........(1)                                                           เลขที่.......(2)

.ศ.....

รายการ

หน้าบัญชี

เดบิต

เครดิต

ยอดคงเหลือ

เดือน

วันที่

บาท

สต.

บาท

สต.

บาท

สต.

(3)

 

(4)

(5)

(6)

 

(7)

 

(8)

 

 

 

         

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ส่วนประกอบต่างๆ ของบัญชีแยกประเภทย่อย  มีดังนี้

หมายเลข(1) ชื่อบัญชี โดยนำชื่อบัญชีนำมาจากสมุดรายวันทั่วไปที่บัญทึกไว้ด้วยเดบิตและเครดิต

หมายเลข(2) เลขที่บัญชีโดยนำเลขที่บัญชีที่อยู่ในช่องเลขทีบัญชีที่สมุดรายวันทั่วไป

หมายเลข(3) ช่อง วันเดือนปี

หมายเลข(4) ช่องรายการใช้อ้างอิงชื่อบัญชีที่ใช้บัญทึกรายการค้าด้านเดบิตและเครดิต

หมายเลข(5) ช่องหน้าบัญชี บัญทึกอ้างอิงข้อมูลที่ผ่านรายการแยกประเภท

หมายเลข(6) ช่องจำนวนเงินเดบิต

หมายเลข(7) ช่องจำนวนเครดิต

หมายเลข(8) ช่องจำนวนเงินคงเหลือ

บทความโดย : https://sites.google.com

 5717
Visitor
Get started for free today. Free Trial
Create a website for free Online Stores