ทำบัญชีอย่างไรให้สรรพากรยอมรับได้

ทำบัญชีอย่างไรให้สรรพากรยอมรับได้

  เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับการประกอบธุรกิจที่ผู้ประกอบการทุกรายจะต้องทำบัญชี ไม่เพียงแต่เฉพาะทำรายการรับเงินเข้าหรือจ่ายเงินออกเพื่อให้ทราบผลกำไรขาดทุน งบดุล หรืองบกระแสเงินสดเท่านั้น แต่ผู้ประกอบการต้องลงบัญชีให้ถูกต้อง ถูกวิธี และถูกกฎหมาย เมื่อใดที่เจ้าหน้าที่สรรพากรเข้ามาตรวจสอบจะได้ไม่ต้องวิตกกังวล เพราะมีเอกสารให้ตรวจสอบอย่างครบถ้วน

          มาดูรายละเอียดกันว่าทำบัญชีอย่างไรให้สรรพากรยอมรับได้

  1. ผู้ทำบัญชี จะต้องมีคุณสมบัติโดยเป็นผู้มีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรไทย มีความรู้ภาษาไทย ไม่เคยต้องโทษจำคุก ในความผิดตามกฎหมายบัญชี/สอบบัญชี เว้นแต่พ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี มีคุณวุฒิการศึกษา ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี / สอบบัญชีหรือเทียบเท่า เข้าอบรมพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง อบรม 3 ปี 27 ชั่วโมง (เนื้อหาเกี่ยวกับบัญชีไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง แต่ละปีต้องเข้ารับการอบรมพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่องทางวิชาชีพไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง) และต้องแจ้งรายละเอียดการอบรมตามแบบ ส.บช.7 ต่ออธิบดีภายใน 60 วัน นับแต่วันสิ้นปีปฏิทินของทุกปี
  2. ต้องมีระบบบัญชีที่ดี มีเอกสารการรับเงินจ่ายเงิน สต็อกสินค้า ส่งสินค้าให้ครบถ้วนตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ประมวลรัษฎากร เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมอยู่ตลอดสำหรับการเข้าตรวจสอบของสรรพากร
  3. ประเภทธุรกิจที่แตกต่างกัน ก็จะมีรายละเอียดในการทำบัญชีแตกต่างกัน เช่น ธุรกิจบริการ ต้องไม่ลืมที่จะคำนวณ ภาษีหัก ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่เกิดการให้บริการ หรือธุรกิจผลิตสินค้า ต้องตีความให้ถูกต้องว่าสินค้าใดผลิตเพื่อขาย สินค้าใดรับจ้างผลิต ซึ่งจะมีการลงบัญชีแตกต่างกัน สำหรับธุรกิจนำเข้า-ส่งออก จะต้องตรวจสอบพิกัดสินค้าที่นำเข้า หรือส่งออก เพราะหากมีการลงพิกัดผิด ก็อาจจะถูกปรับเสียค่าใช้จ่ายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ธุรกิจลีสซิ่งและเช่าซื้อ ก็ต้องแยกแยะให้ชัดเจนว่าเป็นธุรกรรมประเภทใด การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการให้เช่า ก็จะมีการลงบัญชีที่แตกต่างกัน
  4. นักบัญชีที่ดี ต้องทำความเข้าใจกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทางบัญชี เช่น พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 มาตรฐานการบัญชี ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการจัดการห้างหุ้นส่วนและบริษัท พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ ประมาลรัษฎากร กฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น พ.ร.บ.โรงงาน พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าและลิขสิทธิ์ พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม ประกาศของกรมทะเบียนการค้า และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เป็นต้น
  5. หน้าที่ของผู้จัดทำบัญชี นอกจากจะต้องจัดทำบัญชีให้ถูกต้องแล้ว กรณีปกติ ผู้จัดทำบัญชีจะต้องเก็บรักษาบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี กรณีเลิกกิจการ ก็ต้องเก็บเอกสารจนกว่าจะส่งมอบให้สารวัตรบัญชีและสารวัตรบัญชีเก็บไว้อย่างน้อยอีก 5 ปี (ส่งมอบภายใน 90 วันขยายได้ถึง 180 วัน) กรณีถูกตรวจสอบ อธิบดีมีอำนาจกำหนดให้เก็บเกิน 5 ปีแต่ไม่เกิน 7 ปี     การทำบัญชีให้ถูกต้องด้วยหลักการความรู้ทางบัญชี ภาษี และกฎหมาย รวมถึงการเก็บรักษาบัญชีให้ครบถ้วน ช่วยลดปัญหาความยุ่งยากกับสรรพากร อีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรอีกด้วย

บทความโดย :https://th.jobsdb.com

 715
Visitor
Get started for free today. Free Trial
Create a website for free Online Stores